Page 24 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 24
22 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
และผ่านการตรวจพิจารณาจากสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งสำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติได้จัดทำารายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
(เลขที่ ๒๑๐/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔) เรื่อง การตราพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ....
เสนอต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ และคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๔ อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นผลให้ร่างพระราชบัญญัติ
การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... ค้างการพิจารณาในชั้นวุฒิสภา เมื่อมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ซึ่งมี
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มิได้ร้องขอต่อรัฐสภาให้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... เป็นผลให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตกไป จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๕๗ สำานักงาน
ตำารวจแห่งชาติได้นำาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... ร่างเดิมมาปรับปรุงแก้ไข และเปิดรับฟัง
ความคิดเห็นจากผู้แทนของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งต่อมาได้นำาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
และคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ และขณะที่จัดทำารายงานฉบับนี้อยู่ใน
ระหว่างการพิจารณาของสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงมีความเห็นว่า ควรดำาเนินการศึกษาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
เพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามอำานาจหน้าที่ต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อสำานักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากมีบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงไปจากร่างของสำานักงาน
ตำารวจแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะดำาเนินการจัดทำารายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะ
นโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายต่อร่างดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง
๒. อำานาจหน้าที่
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำานาจหน้าที่เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
และกฎต่อรัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๓)
๓. การดำาเนินการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีคำาสั่ง ที่ ๓๕/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน มีอำานาจหน้าที่เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ได้ศึกษาและจัดทำารายงาน
ผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุม
สาธารณะ พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ตามที่สำานักงานตำารวจ
แห่งชาติเสนอ และขณะที่จัดทำารายงานฉบับนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
ดังที่กล่าวข้างต้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เคยศึกษาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุม
สาธารณะฯ ฉบับที่สำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา (เรื่องเสร็จที่ ๑๘๓/๒๕๕๓) และได้จัดทำา
รายงานผลการพิจารณา (เลขที่ ๒๑๐/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔) เสนอรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม
๒๕๕๔ และคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๔ ในครั้งนั้นได้มีข้อเสนอรวม ๘ ประเด็น ซึ่งร่างฉบับที่