Page 23 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 23
21
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
รายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบาย หรือ
ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย ที่ ๓๒/๒๕๕๘ วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๘
ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม กสม. ในคราวประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๕๘
วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๘
๑. ความเป็นมา
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยการชุมนุมสาธารณะ (หรือการ
ประท้วง) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย
ถือเป็นวิธีการสำาคัญอย่างหนึ่งในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาล
เป็นเสรีภาพที่พัฒนาต่อยอดมาจากเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยบุคคล
แต่ละคน (Individual) มาเป็นการแสดงความคิดเห็นแบบกลุ่ม (Collective)
การชุมนุมโดยสงบและสันติเป็นเสรีภาพที่ได้รับการรับรองไว้ในปฏิญญา
สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่จะ
ต้องปฏิบัติตาม ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ยอมรับหลักการในการคุ้มครองเสรีภาพ
ในการชุมนุมโดยสงบมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๔๘๙ เป็นต้นมา
เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราช-
บัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... ฉบับที่เสนอโดยสำานักงานตำารวจแห่งชาติ