Page 106 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 106
104 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
๒.๖) กฎหมายแรงงานของประเทศไทยแยกออกเป็น ๒ ฉบับ เพื่อใช้กับแรงงาน
ภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ และกำาลังจะมีเพิ่มอีก ๑ ฉบับ สำาหรับบังคับใช้กับข้าราชการซึ่งเห็นว่า สามารถใช้
กฎหมายฉบับเดียวแล้วค่อยแบ่งเป็นหมวดหมู่สำาหรับคนทำางานแต่ละกลุ่ม ขณะนี้องค์การพัฒนาเอกชนด้าน
แรงงานได้ไปยื่นหนังสือต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อขอให้ระงับการแก้ไขปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ฯ และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ เพราะยังไม่ได้มีการทำาประชาพิจารณ์
และได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับบูรณาการแรงงาน) แล้ว
๒.๗) สิทธิในการรวมตัวและก่อตั้งสหภาพแรงงานครอบคลุมแรงงานข้ามชาติที่เข้ามา
ทำางานในประเทศไทย แม้ว่ายังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ แรงงานตามแนวตะเข็บชายแดนและแรงงาน
ตามฤดูกาล ข้าราชการทุกประเภท ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ให้สิทธิข้าราชการ
ในการจัดตั้งสหภาพแรงงานแต่ยังไม่มีกฎหมายลำาดับรอง ข้อดีของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงาน
ระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ ได้แก่ ส่งเสริมเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรอง
ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย ทำาให้มีการแก้ไขกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับ
ทำาให้การปิดงานของนายจ้างและการนัดหยุดงานของลูกจ้างลดลง ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองจากการถูกเลิกจ้าง
คุ้มครองไม่ให้มีการแทรกแซงจากภาครัฐ ในระยะยาวจะมีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ลดช่องว่างทาง
รายได้และแรงงานนอกระบบจะมีองค์กรที่เข้ามาดูแล ถ้าหากมีการจัดตั้งสหภาพได้จะทำาให้ลูกจ้างสามารถเข้าไป
ตรวจสอบนายจ้างได้เป็นการถ่วงดุลระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๒ ฉบับ คือ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ เห็นว่า ควรรวมเป็นกฎหมาย
ฉบับเดียวกัน การแก้กฎหมายภายในก่อนจะใช้เวลานาน ควรเข้าเป็นภาคีไปก่อน
๓) น�ยโกวิทย์ บุรพธ�นินทร์ ให้ความเห็น ดังนี้
๓.๑) หลักการสำาคัญของอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ คือ การเคารพ
เสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการรวมตัว การไม่แทรกแซง การเคารพผลประโยชน์องค์กรนายจ้างหรือลูกจ้าง
ถ้าประเทศไทยมีกฎหมายภายในที่เทียบได้กับอนุสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าว ก็ไม่จำาเป็นต้องเข้าเป็นภาคี เช่น
สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีกฎหมายภายในที่ให้สิทธิมากกว่าอนุสัญญาทั้งสองฉบับอยู่แล้ว สิ่งที่ประเทศไทยกังวล คือ
การใช้สิทธินัดหยุดงานและการจัดกิจกรรมขององค์กรลูกจ้างและนายจ้างนั้น เห็นว่า การใช้สิทธินัดหยุดงาน
ไม่ใช่สิทธิเด็ดขาด ในบางอาชีพ เช่น ตำารวจ สามารถห้ามไม่ให้นัดหยุดงานได้แต่ต้องมีกลไกในการแก้ไข
ข้อขัดแย้งในทันที และไม่น้อยกว่ากลไกที่ใช้กับแรงงานภาคเอกชน คณะกรรมการว่าด้วยเสรีภาพของการสมาคม
(Committee on Freedom of Association : CFA) เห็นว่า กรณีที่มีการประกาศกฎอัยการศึก หรือสถานการณ์
ฉุกเฉินสามารถห้ามนัดหยุดงานได้ แต่ต้องกำาหนดเวลาและพื้นที่แน่นอน ส่วนการจัดกิจกรรมขององค์กรลูกจ้าง
และนายจ้าง องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีหลักการการจัดกิจกรรมขององค์กรดังกล่าวเพื่อประโยชน์นายจ้าง
และลูกจ้าง การห้ามจัดกิจกรรมถือว่าละเมิดต่ออนุสัญญาฯ ฉบับที่ ๘๗ และเห็นว่า ประเทศไทยอาจเข้าเป็น
ภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๙๘ ซึ่งเน้นเรื่องการเจรจาต่อรองก่อน เนื่องจากมีกฎหมาย
ภายในรองรับ