Page 107 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 107
105
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
๓.๒) ควรชะลอการเสนอร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และ
ร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... เนื่องจากยังมีหลายประเด็นที่ยังไม่สอดคล้องกับ
อนุสัญญาฯ ทั้งสองฉบับ ดังนี้
๓.๒.๑) ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับใช้คำาว่า “ลูกจ้าง” และได้ให้นิยามว่า
หมายถึง ผู้ซึ่งตกลงทำางานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง ซึ่งขัดกับอนุสัญญาฯ ฉบับที่ ๘๗ ซึ่งให้สิทธิคนทำางาน รวมถึง
คนทำางานอาชีพอิสระ โดยปราศจากข้อแตกต่างใดๆ
๓.๒.๒) ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๑๐๒ และ
ร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๗ ที่กำาหนดให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
มีอำานาจต่างๆ หากเป็นการตรวจสอบทะเบียนสมาชิกเห็นว่าไม่ควรกระทำา หากเป็นการขอให้ส่งรายงาน
การเงินซึ่งมีการรับรองแล้ว หรือกรณีที่มีการร้องเรียนเรื่องการทุจริตขององค์การ ก็อยู่ในวิสัยที่ตรวจสอบได้
ซึ่งควรมีบทบัญญัติจำากัดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ และให้มีหมายค้นหรือคำาสั่งศาลด้วย
๓.๒.๓) ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๗๑ และ
มาตรา ๑๐๓ และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๘ ที่ให้การสั่งให้กรรมการ
หรือคณะกรรมการของสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานออกจากตำาแหน่งได้ เมื่อปรากฏว่า (๑) กระทำาการ
อันมิชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของพนักงานประนอมข้อพิพาท ผู้ชี้ขาด
ข้อพิพาทแรงงาน หรือคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (๒) ดำาเนินกิจการไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
นายจ้างอันเป็นการขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจจะเป็นภัย
ต่อความมั่นคงของประเทศ (๓) ให้หรือยินยอมให้ผู้ใดซึ่งมิใช่กรรมการเป็นผู้ดำาเนินกิจการของสมาคมนายจ้าง/
สหภาพแรงงาน อาจขัดต่ออนุสัญญา ฉบับที่ ๘๗ การให้ออกจากตำาแหน่งควรเป็นคำาตัดสินของศาล
๓.๒.๔) ร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๗๓
กำาหนดให้เฉพาะสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจไม่รวมสหภาพแรงงานเข้าเป็นสมาชิกของสภาองค์การลูกจ้าง
ตามกฎหมาย ว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ได้เป็นการห้ามการเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การที่มีระดับสูงกว่า จึงน่าจะ
ขัดกับอนุสัญญาฯ
๓.๒.๕) ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับได้ให้อำานาจรัฐมนตรีสั่งให้
คณะกรรมการดำาเนินการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานวินิจฉัยกรณีการปิดงาน หรือการนัดหยุดงาน ที่อาจทำาให้เกิด
ความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศ หรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน หรืออาจเป็นภัยต่อ
ความมั่นคงของประเทศ หรืออาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำาชี้ขาดของคณะกรรมการฯ ให้
เป็นที่สุด เป็นบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ เนื่องจากการวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานควรอยู่บนหลักการ
เห็นพ้องกันของคู่กรณี
๓.๒.๖) ร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๑๙
ที่กำาหนดให้การนัดหยุดงานที่เป็นบริการสาธารณะตามที่คณะกรรมการประกาศกำาหนดในราชกิจจานุเบกษา
่
่
ฝ่ายที่นัดหยุดงานต้องจัดให้มีบริการขั้นตำา (Minimum Service) เท่าที่จำาเป็น เห็นว่า ต้องเป็นบริการขั้นตำาจริงๆ
และเป็นกรณีที่คู่กรณีตกลงกัน
๓.๒.๗) ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ มีบทบัญญัติคุ้มครองผู้จัดตั้ง