Page 109 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 109

107
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                  จัดตั้งสหภาพแรงงานคือเป็นลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจเดียวกันที่ไม่ใช่ฝ่ายบริหาร เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ มีสัญชาติไทย

                  มาตรา ๗๗ ที่กำาหนดว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษจำาคุก...  ซึ่งตามอนุสัญญาก็มีหลักว่าต้องไม่ใช้
                  โทษทางอาญาเพื่อลงโทษเกี่ยวกับแรงงาน

                                    ๒)  ประเด็นที่กฎหมายไทยยังไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘
                  คือ การจำากัดเสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการรวมตัวของกลุ่มของคนที่ไม่มีสัญชาติไทย การกำาหนดอายุ
                      ่
                  ขั้นตำาของผู้ที่สามารถเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน (๑๕ ปี)  ซึ่งยังมีข้อจำากัดในทางปฏิบัติ  สิทธิในการรวมตัว
                  ของข้าราชการซึ่งยังไม่มีกฎหมายมารองรับ  และทางปฏิบัติข้าราชการยังคงเข้าไม่ถึงสิทธิดังกล่าว  สิทธิในการ
                  รวมตัวและนัดหยุดงานพนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องมีสิทธิได้อย่างเต็มที่  ยกเว้นในกรณีที่ทำางานบริการสาธารณะ

                  ที่จำาเป็นยิ่ง  แต่มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้ห้ามนายจ้างปิดงานหรือ
                  ลูกจ้างนัดหยุดงานอย่างเด็ดขาด  การกำาหนดประเภทบริการสาธารณะที่จำาเป็นยิ่ง (Essential Service)
                  ในประเทศไทยยังคงมีแนวคิดในเรื่องนี้ไม่ชัดเจน  และยังมีการตีความที่แตกต่างจากองค์การแรงงานระหว่าง

                  ประเทศ กล่าวคือ บริการการท่าเรือ การรถไฟ  องค์การแรงงานระหว่างประเทศเห็นว่า ไม่ใช่บริการสาธารณะ
                  ที่จำาเป็นยิ่ง (Essential Service)  ถ้าต่อรองกันเพื่อเรียกร้องเงื่อนไขในการทำางานแล้วไม่สามารถตกลงกันได้

                  ไม่ควรบังคับให้เจรจาต่อรองกับฝ่ายที่สาม  ข้อยกเว้นความมั่นคง มีกฎหมายเฉพาะอยู่แล้ว เช่น พระราชบัญญัติ
                  กฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗  พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
                  พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑  กฎหมายอาญา จึงไม่จำาเป็นต้อง

                  บัญญัติไว้ในกฎหมายแรงงาน


                        ๔.๔  เปรียบเทียบข้อกังวลและเหตุผลสนับสนุนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO

                             ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘

                             เมื่อพิจารณาความเห็นจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน  องค์การพัฒนาเอกชน  นักวิชาการ
                  และผู้ทรงคุณวุฒิด้านแรงงาน ข้างต้น  อาจสรุปเป็นข้อกังวลต่อการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และ

                  ฉบับที่ ๙๘ และเหตุผลสนับสนุนในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO โดยอาจแสดงเป็นตารางดังนี้


                        ต�ร�งที่ ๒ :  เปรียบเทียบข้อกังวลต่อการเข้าเป็นภาคีและเหตุผลสนับสนุนการเข้าเป็นภาคี
                                  อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘




                             ข้อกังวลต่อการเข้าเป็นภาคี                  เหตุผลสนับสนุนการเข้าเป็นภาคี


                   การเข้าเป็นภาคีจะเปิดโอกาสให้มีการนัดหยุดงาน การปิด  การรวมตัวและเจรจาร่วมต่อรองเป็นกลไกที่จะช่วยลดทอน
                   งาน อันกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และกระทบต่อ  ปัญหาการเผชิญหน้าอันรุนแรงลงได้ โดยการส่งเสริม
                   บรรยากาศการลงทุน                             การพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริม
                                                                ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง อันเป็น
                                                                การส่งเสริมบรรยากาศการลงทุน
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114