Page 108 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 108

106   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


               สหภาพแรงงานจากการถูกแทรกแซงโดยนายจ้าง องค์การนายจ้าง ควรเพิ่มเติมบทบัญญัติ เช่น เงื่อนไขที่ห้าม

               ไม่ให้นายจ้างหรือองค์การนายจ้างกำากับองค์การลูกจ้าง ข้อห้ามนายจ้าง องค์การนายจ้างสนับสนุนทางการเงิน
               หรืออื่นๆ แก่องค์การลูกจ้าง โดยมีเจตนาเพื่อให้ครอบงำาองค์การลูกจ้าง  การให้ผู้ใช้แรงงานทุกประเภทมีสิทธิ

               ร่วมเจรจาต่อรอง โดยอาจยกเว้นเฉพาะทหาร หรือตำารวจ หรือข้าราชการซึ่งปฏิบัติงานในนามของรัฐ เพิ่มประเด็น
               การเจรจาต่อรองที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์การนายจ้าง ลูกจ้าง กำาหนดเงื่อนไขเพื่อให้การร่วมเจรจา
               ต่อรองด้วยความสุจริตใจ (In Good Faith) ส่งเสริมให้เกิดการร่วมเจรจาต่อรองโดยสมัครใจ

                                     ๓.๓)  สำาหรับบทบัญญัติของร่างพระราชบัญญัติ ๒ ฉบับ ในเรื่องการคัดเลือก
               คณะกรรมการ (ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๙ และมาตรา ๘๙)  การออกข้อบังคับของ

               องค์การ (ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๖๗ และมาตรา ๙๙) เห็นว่า ไม่ขัดกับอนุสัญญา
               ฉบับที่ ๘๗  ส่วนการตัดขั้นตอนการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีออกโดยให้มีสิทธินำาคดีไปสู่ศาลแทน (ร่างพระราช-
               บัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๗๒ และมาตรา ๑๐๔)  เห็นว่า ควรคงให้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้

               หากไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์ต่อศาล  และกรณีให้อธิบดียื่นคำาร้องต่อศาลแรงงานเพื่อสั่งเลิกสมาคมนายจ้าง
               (ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๘๐ และมาตรา ๘๑ และร่างพระราชบัญญัติแรงงาน

               รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๖๘ และมาตรา ๖๙)  เห็นว่า สามารถกระทำาได้ เพราะลูกจ้างสามารถ
               อุทธรณ์ได้  นอกจากนี้ การไม่มีบทบัญญัติให้สหภาพ สหพันธ์แรงงานจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างและไม่มี
               บทบัญญัติให้สหภาพแรงงานเอกชนและสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสามารถรวมตัวกัน  หากทางปฏิบัติสามารถ

               ทำาได้ ก็ไม่ขัดกับอนุสัญญาฯ

                           ๔.๓.๔  ศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

               และกรรมการในคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติตามอนุสัญญาและข้อแนะ (Members of
               Committee of Experts on the Application of Conventions and Recommendations) ขององค์การ

               แรงงานระหว่างประเทศ

                                 เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๘  สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัด
               สัมมนาและแลกเปลี่ยนความเห็น เรื่อง อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยเฉพาะอนุสัญญา ILO
               ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว  และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการ

               รวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง ซึ่ง ศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ ได้ให้ความเห็นต่อความสอดคล้องระหว่าง
               อนุสัญญา ILO ทั้งสองฉบับกับกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ของไทย ดังนี้

                                 ๑)  เมื่อพิจารณาความสอดคล้องระหว่างอนุสัญญา ILO ทั้งสองฉบับ  และกฎหมาย
               ด้านแรงงานของประเทศไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘  และพระราชบัญญัติแรงงาน

               รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓  มีประเด็นดังนี้  บทบัญญัติของพระราชบัญญัติแรงงานแรงงานสัมพันธ์
               พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่ยังไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา เช่น มาตรา ๘๘ ที่กำาหนดให้ผู้มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานต้อง
               มีสัญชาติไทย  มาตรา ๑๐๑ กำาหนดให้กรรมการสหภาพแรงงานต้องเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้น
                                              ่
               มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ตำากว่ายี่สิบปี มาตรา ๑๓๑ และมาตรา ๑๓๓ ซึ่งเป็นบทกำาหนดโทษ
               ทางอาญา ส่วนบทบัญญัติของพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา
               เช่น มาตรา ๓๓ ที่กำาหนดห้ามนายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงาน  มาตรา ๔๑ ที่กำาหนดบุคคลที่มีสิทธิรวมตัว
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113