Page 92 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 92
สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
National Human Rights Commission of Thailand
2. การจัดการพื้นที่ปาไม
2.1 การจัดการที่ดินในปาเศรษฐกิจ
ปาเศรษฐกิจ หมายถึง ปาที่สามารถใชประโยชนทางเศรษฐกิจได ซึ่งตามนโยบายปาไมแหงชาติ
ไดกําหนดใหมีพื้นที่ปาประเภทนี้ รอยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ การจัดการที่ดินในปาเศรษฐกิจ นอกจาก
จะเปนการอนุญาตใหทําไมและเก็บหาของปาแลว ยังเปนการใหปลูกสรางสวนปาตามเงื่อนไขสัมปทานปาไม
และปลูกสรางสวนปาในพื้นที่ปาเสื่อมโทรม แตการทําไมออกสัมปทานไดถูกยกเลิกไปตามพระราชกําหนด
แกไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ปาไม 2484 พ.ศ. 2530 เพิ่มเติมหมวด 6 ทวิ การสั่งแกไขเปลี่ยนแปลงสัมปทาน
และการสิ้นสุดของสัมปทาน ดังนั้นในปจจุบัน การจัดการที่ดินในปาเศรษฐกิจจึงคงมีแตการเก็บหาของปา
และการปลูกสรางสวนปาในพื้นที่เสื่อมโทรมตามระเบียบกรมปาไมวาดวยการอนุญาตเก็บหาของปาภายใน
เขตปาสงวนแหงชาติ พ.ศ. 2529 ระเบียบกรมปาไมวาดวยการอนุญาตใหทําการปลูกสรางสวนปา หรือปลูก
ไมยืนตนภายในเขตปาสงวนแหงชาติ พ.ศ. 2530 และระเบียบกระทรวงกระเกษตรและสหกรณวาดวย
การจางทําการปลูกปาและบํารุงรักษา พ.ศ. 2530
2.2 การจัดการที่ดินในเขตอนุรักษ
ปาอนุรักษ ไดแก อุทยานแหงชาติ วนอุทยาน เขตรักษาพันธุสัตวปาและเขตอนุรักษอื่น ๆ
ทางการปองกันสิ่งแวดลอม และการจัดการที่ดินในเขตอนุรักษตาง ๆ เหลานี้ก็เปนไปตามกฎหมาย และระเบียบ
ปฏิบัติวาดวยการนั้นเชนการจัดการเกี่ยวกับอุทยานแหงชาติก็ดําเนินตามมา พ.ร.บ.อุทยานแหงชาติ พ.ศ.2504
หรือเขตอนุรักษพันธุสัตวปาก็ตองดําเนินตาม พ.ร.บ.สงวนและคุมครองสัตวปา เปนตน
2.3 สภาพการและแนวทางในการจัดการพื้นที่ปาเสื่อมโทรม
บทบัญญัติวาดวยปาเสื่อมโทรมปรากฏตามมาตรา 16 ทวิ แหงพระราชบัญญัติปาสงวนแหงชาติ
พ.ศ. 2507 ที่บัญญัติวาในกรณีที่ปาสงวนแหงชาติทั้งหมดหรือบางสวนมีสภาพเปนปารางเกา หรือทุงหญา
หรือเปนปาที่ไมมีไมมีคาขึ้นเลย หรือมีไมมีคาที่สมบูรณเหลืออยูเปนสวนนอยและปานั้นยากที่จะกลับคืนดี
ตามธรรมชาติ ทั้งนี้ โดยมีสภาพตามหลักเกณฑและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกําหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ใหถือวา
ปาสงวนแหงชาติในบริเวณดังกลาวเปนปาเสื่อมโทรม
ปาเสื่อมโทรมดังกลาวนี้ถาทางราชการมีความจําเปนตองปรับปรุงฟนฟูก็ใหประกาศกําหนด
เขตทั้งหมดหรือบางสวนเปนเขตปรับปรุงสวนปาแหงชาติ เมื่อมีการประกาศขางตนบุคคลที่เขามาทําประโยชน
หรืออาศัยอยูในเขตอยูแลว อาจขออนุญาตทําประโยชนหรืออาศัยอยูได แตไมเกิน 20 ไรตอครอบครัว
และมีกําหนดเวลาไมนอยกวา 5 ป แตไมเกิน 20 ป ซึ่งบุคคลที่ไดอนุญาตอาจขอปลูกปาหรือไมยืนตนในที่ดิน
ที่เคยทําประโยชนหรืออยูอาศัยเพิ่มเติมจากที่ไดรับอนุญาตแลว ถาพิสูจนไดวามีความสามารถ และมีเครื่องมือ
หรืออุปกรณ ซึ่งอธิบดีมีอํานาจอนุญาตได แตตองไมเกิน 35 ไรตอครอบครัว และระยะเวลาไมนอยกวา 5 ป
แตไมเกิน 30 ป
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข 71
นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”