Page 88 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 88

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                                                                                               National Human Rights Commission of Thailand


                            ความมุงหมายสําคัญของรัฐธรรมนูญในการคุมครองสิทธิมนุษยชน นอกจากจะเปนไปเพื่อคุมครอง
               สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลทั้งที่เปนปจเจกบุคคลและบุคคลที่รวมกันเปนชุมชนแลว ยังมุงคุมครอง

               และสงเสริมการฟนฟูคุณคาในการธํารงรักษารากฐานแหงการดํารงชีพแบบพื้นบานตามปรกติของประชาชน
               ซึ่งอาศัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมใหมีความสมดุลและยั่งยืน มีความปลอดภัยและมีคุณภาพโดยอาศัย

               หลักการมีสวนรวมของบุคคลที่รวมกันเปนชุมชนซึ่งเปนผูมีประโยชนไดเสียสําคัญในการใหสิทธิขั้นพื้นฐาน

               ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 ผูตีความรัฐธรรมนูญจึงควรระลึกไวเสมอวา เมื่อรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิเสรีภาพ
               ขั้นพื้นฐานอยางใดไว ยอมเปนการกําหนดเนื้อหาสาระสําคัญอันเปนมาตรฐานขั้นตํ่าในเรื่องนั้น ๆ ไวเสมอ

               และยอมมีผลผูกพันองคกรของรัฐทั้งปวง (กิตติศักดิ์ ปรกติ, 2550)

                        2.  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ
                        แนวนโยบายและมาตรการบริหารจัดการที่ดินไดเสนอไวคอนขางชัดเจนตั้งแตแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

               และสังคมแหงชาติฉบับที่ 6 (ระหวางป พ.ศ. 2530 - 2534) โดยระบุปญหาไวชัดเจนวา การพัฒนาทรัพยากรปาไม

               ที่ผานมาในอดีต เนนเฉพาะดานการอนุรักษโดยใชมาตรการปองกันและควบคุม ละเลยบทบาททางเศรษฐกิจ
               ของปา และละเลยตอบทบาทของประชาชนและองคกรในระดับทองถิ่น การพัฒนาปาไมในลักษณะดังกลาว

               จึงไมประสบผลดีเทาที่ควร กลาวคือพื้นที่ปาไมมีแนวโนมลดลงอยางรวดเร็วตลอดระยะเวลาที่ผานมา ดังนั้น
               ในระยะตอไปจะขยายขอบเขตการพัฒนาทรัพยากรปาไมใหมีความสําคัญทั้งในดานเศรษฐกิจและการอนุรักษ

               ควบคูกันไป โดยกําหนดเปาหมายระยะยาวใหมีพื้นที่ปาไม ซึ่งรวมสวนปาของเอกชนไมนอยกวารอยละ 40

               ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ โดยมีแนวการพัฒนาทรัพยากรปาไมไว ดังนี้
                            1)  สนับสนุนใหประชาชน และองคกรประชาชนในระดับทองถิ่นมีบทบาทและสวนรวม

               ในการพัฒนาทรัพยากรปาไมใหมากที่สุด
                            2)  ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบขอบังคับที่เปนอุปสรรคตอการพัฒนาทรัพยากรปาไม เพื่อลด

               ปญหาความขัดแยง

                            3)  ปรับปรุงการบริหารและการจัดการทรัพยากรปาไมโดยการจัดทําเครื่องมือพื้นฐานใหสมบูรณ
               และมีการปรับปรุงขอเสนอเรื่องที่ดินในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติตลอดมาจนถึงปจจุบัน

               ซึ่งอยูในชวงแผนฯ ฉบับที่ 11

                        สวนแนวทางพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่ 11 ก็ยังใหความสําคัญกับ
               เรื่องที่ดินหลายประการ ไดแก

                        1)  รักษาและคุมครองพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรและสนับสนุนใหเกษตรกรรายยอยมีที่ดินเปน

               ของตนเองหรือมีสิทธิทํากินในที่ดิน โดยการปรับปรุงกฎ ระเบียบ ที่มีอยูใหเอื้อตอการนําที่ดินมาใชเพื่อการเกษตร
                        2)  เรงรัดใหมีการนําที่ดินที่ซื้อจากเอกชนมาดําเนินการปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม และใชมาตรการ

               ทางภาษีเพื่อบังคับหรือจูงใจใหบุคคลผูถือครองที่ดินไวเปนจํานวนมาก โดยไมไดจัดทําประโยชนในทางเศรษฐกิจ
               และสังคมใหหันมาทําประโยชนในพื้นที่ดังกลาวมากขึ้น



                                                                       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข  67
                                                                นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93