Page 73 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 73

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                National Human Rights Commission of Thailand

                โฉนดที่ดิน โดยไดมีการปรับปรุง พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดินถึง 7 ฉบับ เพื่อใหการเก็บภาษีอากรสะดวกและการวิวาท

                บุกรุกแยงชิงที่ดินเบาบางลง แตก็ยังมีที่ดินที่ราษฎรครอบครองทําประโยชนอยูจํานวนไมนอย จนถึงยุค

                ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 จึงใหมีการแจงการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ระหวางวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497

                ถึง 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 และใชหลักฐาน ส.ค.1 ขอออกโฉนดที่ดินไดตามมาตรา 58 พ.ร.บ. ประมวลกฎหมาย
                ที่ดิน 2497 ไมวาที่ดินนั้นภายหลังจะอยูภายในบังคับหรือเงื่อนไขตามกฎหมายอื่น สวนผูที่ไมไดแจงครอบครอง

                (ส.ค.1) แตมีเอกสารรับรองการทําประโยชนรูปแบบตาง ๆ อยูเดิม หรือไดครอบครองและทําประโยชนในที่ดินนั้น

                ติดตอกันมาจนถึงวันเดินสํารวจเพื่อออกโฉนดที่ดินในป 2515 ก็ใหไปแจงการครอบครองไดที่อําเภอ หรือเปน

                ผูมีสิทธิตามกฎหมายวาดวยการจัดที่เพื่อการครองชีพ ก็อาจขอออกโฉนดที่ดินไดตามมาตรา 58 ทวิ และ 59 ทวิ
                แหงประมวลกฎหมายที่ดิน

                         การออกเอกสารโฉนดที่ดินในระยะหลัง มีทั้งวิธีการเดินสํารวจออกโฉนดที่ดินตามมาตรา 58, 59

                แหงประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งการสํารวจภาคพื้นดินและเดินสํารวจโดยใชระวางแผนที่รูปถายทางอากาศ

                วิธีเปลี่ยน น.ส. 3 ก เปนโฉนดที่ดิน (ตามมาตรา 58 ตรี) วิธีการออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย (ตามมาตรา 59)
                และวิธีการออกโฉนดที่ดินโดยมิไดแจงการครอบครอง (ส.ค.1) ตามมาตรา 59 ทวิ แหงประมวลกฎหมายที่ดิน

                (กรมที่ดิน 2554 : วิวัฒนาการการออกโฉนดที่ดินและทะเบียนที่ดิน)




                3.3 สถานการณที่ดิน
                         ในสังคมไทย  ความสามารถในการเขาถึงทรัพยากรที่ดินไมไดกระจายไปยังคนกลุมตาง  ๆ

                อยางเทาเทียมกัน ความเหลื่อมลํ้าเกิดจากการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินตาง ๆ อยางไมเปนธรรม

                จนทําใหการเขาถึงทรัพยากรกระจุกตัวอยูในมือคนสวนนอย จากเอกสารรายงานเรื่อง สรุปสถานการณ

                และเหตุผลที่คนไทยควรสนับสนุนการปฏิรูปที่ดิน สํานักงานปฏิรูป (สปร.) พบวา ประเทศไทยมีที่ดิน
                320.7 ลานไร โดยแบงเปนพื้นที่ปาประมาณ 100 ลานไร และเปนพื้นที่เกษตรกรรม 130 ลานไร  โดยสถานการณ

                การถือครองที่ดินในประเทศไทยถือวามีการกระจุกตัวสูง ที่ดินสวนใหญอยูในมือผูมั่งมีสวนนอย โดยที่ดิน

                ประมาณ 108 ลานไร ซึ่งคิดเปนประมาณรอยละ 90 ของที่ดินที่มีประชาชนถือครองอยูทั้งหมดประมาณ

                120 ลานไร อยูในมือประชากรเพียง 6 ลานคน ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะในกรุงเทพฯ โครงการวิจัยนโยบาย
                และมาตรการการคลังเพื่อความเปนธรรมในการกระจายรายไดพบวา ผูถือครองที่ดิน 50 รายแรก จากทั้งหมด

                5.7 ลานราย ถือครองที่ดินถึงรอยละ 10 โดยผูถือครองที่ดินมากที่สุด 50 อันดับแรก ถือครองที่ดินรวมกัน

                ถึง 41,509.67 ไร สูงกวา 50 อันดับสุดทายซึ่งถือครองรวมกันเพียง 0.32 ไร ถึง 129,717.72 เทา










           52    รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข
                 นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78