Page 70 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 70

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                                                                                               National Human Rights Commission of Thailand

                         3. บริบททางสังคมที่เกี่ยวกับปญหาการละเมิดสิทธิที่ดิน





               3.1 เหตุปจจัยการละเมิดสิทธิในที่ดิน

                        จากงานวิจัยและรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนขององคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญพบวา

               ปญหาขัดแยงที่ดินจนเปนคดีฟองรองราษฎรที่ยากจนมีความเชื่อมโยงเกี่ยวของอยางใกลชิดกับระบบทุนนิยม

               โลกาภิวัฒนซึ่งมีอิทธิพลในการกําหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาของประเทศที่มุงใชที่ดินและทรัพยากร
               เปนปจจัยการผลิตสนับสนุนการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยละเลยหรือปฏิเสธระบบการถือครองใชประโยชน

               ที่ดินและทรัพยากรตามวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชุมชนในทองถิ่น คนที่มีทุนมีอํานาจเงินสามารถเขาถึงอํานาจ

               รัฐและใชอํานาจรัฐหรือรวมมือกับเจาหนาที่รัฐใชอํานาจตามกฎหมายไปแกงแยงครอบครองที่ดินและทรัพยากร

               ของราษฎรและชุมชนดวยกลไกและวิธีการตาง ๆ นอกจากนั้น ยังเกี่ยวของกับการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ

               ที่รวมศูนยอํานาจตัดสินใจไวที่รัฐสวนกลางที่ไรประสิทธิภาพ เพราะไมสามารถบังคับใชกฎหมายกับเจาหนาที่รัฐ
               และผูมีอํานาจที่ปฏิบัติไมชอบดวยกฎหมาย ทําใหราษฎรในชนบทที่ขาดความรูความเขาใจในระเบียบวิธีปฏิบัติ

               ของทางราชการตลอดจนตัวบทกฎหมาย ตองถูกขมเหงรังแกโดยไมมีหนทางและโอกาสตอสูอยางเทาเทียมกัน

                        ระบบทุนนิยมผูกขาดใชอํานาจเปนใหญมีอิทธิพลอยางสําคัญตอการกําหนดนโยบายและทิศทาง
               การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ เพราะทําใหรัฐตองปรับตัวมารวมมือ รวมทั้งรวมทุนกับตางประเทศ

               ในแทบทุกดาน ซึ่งในดานหนึ่งก็มีสวนชวยกระตุนการพัฒนาและความรวมมือทางเศรษฐกิจและการคา

               กับนานาประเทศ แตอีกดานหนึ่งไดแกงแยงทรัพยากรไปจากคนในชนบทที่รูไมเทาทันและไมมีภูมิคุมกัน

               ที่ดินในแนวคิดทุนนิยมเปนสินทรัพยสรางมูลคาทางเศรษฐกิจ เรื่องที่ดินจึงเปนประเด็นแรก ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง

               ทางนโยบายจากการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อใหคนไทยมีที่อาศัยทํากินกันทั่วถึง การจํากัดขนาดที่ดิน
               ถือครอง และสรางเงื่อนไขเขมงวดในการถือครองที่ดินของตางชาติ มาเปนนโยบายการถือครองที่ดินโดยเสรี

               ตามกลไกตลาดที่นายทุนมีอํานาจเหนือ และกําหนดระบบสิทธิของรัฐและสิทธิของเอกชน โดยปฏิเสธการยอมรับ

               สิทธิหรือระบบการถือครองใชประโยชนที่ดินของบุคคลและสิทธิของชุมชนตามวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม
               ที่ปฏิบัติสืบตอกันมา ดังเชน กลุมชาวไทยภูเขาชาติพันธุกะเหรี่ยง ชาวมลายูถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต

               ตลอดจนชาวเลและกลุมวัฒนธรรมในพื้นที่ชายของตาง ๆ ซึ่งมีระบบการถือครองใชประโยชนที่ดินตามจารีต

               ประเพณีที่ไมเนนการมีสิทธิเด็ดขาดเปนเจาของแตเปนระบบแบงปนและจัดการรวมโดยการรับรูรวมกันของ

               คนทั้งชุมชนจนเปนวัฒนธรรมปฏิบัติสืบทอดกันแตครั้งบรรพบุรุษ











                                                                       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข  49
                                                                นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75