Page 72 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 72

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                                                                                               National Human Rights Commission of Thailand

               ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นตามแรงขับทางเศรษฐกิจ ราษฎรชนบทไมอาจตานพลังทุนกวานซื้อที่ดินได จําเปนตองขาย

               หรือถูกบังคับใหขายที่ดิน ผูที่ไมขายก็จะถูกจัดการดวยอิทธิพลและวิธีการที่ไมสุจริต เชน ออกเอกสารสิทธิทับที่ดิน

               ของราษฎรจนราษฎรรายเล็กรายนอยตองสูญเสียที่ดินในที่สุด ปญหาซอนเรนจากการออกเอกสารสิทธิที่ดิน

               ทับที่ดินราษฎรในชนบทปรากฏชัดมากในชวงนี้และมีการฟองรองดําเนินคดีขับไลราษฎรออกจากที่ดินกันมาก
                        ผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการพัฒนาที่เอื้อระบบทุนนิยม ยังทําใหหนวยงานของรัฐ

               อางนโยบายการพัฒนาเขาครอบครองที่ดินของราษฎรที่ไมมีเอกสารสิทธิรับรองเพื่อนําไปปฏิบัติภารกิจ

               ตามวัตถุประสงคของหนวยงาน โดยเฉพาะอยางยิ่งหนวยงานดานปาไม การเกษตร และหนวยงานดานความมั่นคง

               ที่ครอบครองที่ดินไวเปนจํานวนมากโดยมิไดมีการจัดการใชประโยชนใหเปนไปตามวัตถุประสงคที่กลาวอาง
               เทาใดนัก จึงมักเกิดขอพิพาทในสิทธิที่ดินกับราษฎรทั้งที่อยูเดิมและที่เขาไปอยูใหมอยูเสมอ ประเด็นปญหา

               ที่เปนหัวขอในการศึกษาครั้งนี้จึงตองการศึกษาปญหาการละเมิดสิทธิที่ดินของราษฎรที่เกิดจากการใชอํานาจ

               เหนือในการกําหนดนโยบายและกฎหมาย ตลอดจนการกระทําที่ไมสุจริต เอารัดเอาเปรียบ ฉอโกงราษฎร

               จนเกิดขอพิพาทเปนคดีความและราษฎรรูสึกวากระบวนการยุติธรรมไมใหความเปนธรรมกับเขา



               3.2 การออกเอกสารสิทธิครอบครองและใชประโยชนที่ดิน

                        ในอดีตยอนยุคไปถึงสมัยกรุงสุโขทัย ที่ดินเปนกรรมสิทธิ์ของผูที่ออกแรงออกทุนบุกเบิกหักรางถางพง

               ในที่ดินจนเพาะปลูกไดผลประโยชนแลวและเมื่อเจาของที่ดินตายลง ก็ยอมรับรองใหทายาทบุตรหลานสืบมรดก
               ตกทอดตอกันไปโดยไมมีการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่ดินแตอยางใด ตอมา ในสมัยอยุธยาไดออกกฎหมาย

               ลักษณะเบ็ดเสร็จเกี่ยวกับที่ไรที่นาเรือกสวนใหที่ดินในแวนแควนกรุงศรีอยุธยาเปนของพระเจาอยูหัว ราษฎร

               เปนผูถือครองในฐานะผูอาศัยเสียภาษีเสมือนคาเชา หามไมใหซื้อขายซึ่งกันและกัน จึงเริ่มมีการออกใบอนุญาต

               ที่ดินเพื่อประโยชนในการเก็บภาษี โดยมีกรมนาเปนผูดูแลจัดที่ดินซึ่งยังรกรางเปนทําเลเปลาใหราษฎร
               เขากนสรางใหมีประโยชนและออกโฉนดใหเพื่อเก็บภาษี และในสมัยรัชกาลตอ ๆ มาจนถึงตนยุคกรุงรัตนโกสินทร

               ก็มีระบบพระราชทานนาใหผูมีบําเหน็จความชอบหรือศักดินา มีการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่บานเพื่อแสดง

               ขอบเขตที่ดินที่ปลูกบานอยูอาศัยและนําไปออกโฉนดได จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พบวา การเขาทําประโยชนที่ดิน

               ราษฎรมักไมขออนุญาต จึงเก็บภาษีขาดไปจึงใหมีการรังวัดที่นาเพื่อเก็บภาษีและออกโฉนดตราแดงเพื่อประโยชน
               ในการเก็บคานาแตก็ใชสืบทอดมรดกกันไดจนมี พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดินจึงเปลี่ยนตราแดงเปนโฉนดที่ดินทั้งหมด

               รวมถึงการมีพระราชโองการหามไมใหขายที่ดินภายในพระนครและหางกําแพงนครไมเกิน 200 เนนใหแก

               คนตางประเทศที่เขามาอยูในประเทศไทยไมถึง 10 ป เวนไดรับอนุญาตจากเสนาบดี แตก็มีประกาศขาย

               ที่ดินฝากหรือการจํานําที่สวนที่นาแกกันได และตั้งแตรัชกาลที่ 5 เปนตนมา ยังไดมีการออกเอกสารเกี่ยวกับ
               สิทธิการถือครองที่ดินอีกหลายรูปแบบ  เชน โฉนดสวน โฉนดปา ใบเหยียบยํ่า ตราจอง โฉนดตราจอง โฉนดแผนที่





                                                                       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข  51
                                                                นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77