Page 68 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 68
สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
National Human Rights Commission of Thailand
6. การมีสิทธิฟองคดีตอศาล การควบคุมการใชอํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหารนอกจาก
การวางกลไกการใชอํานาจโดยวิธีทางการเมืองแลว เมื่อยอมรับวาการใชอํานาจทุกประเภทจะตองอยูในขอบเขต
ของกฎหมาย จึงจะตองมีการตรวจสอบทางกฎหมายโดยองคการอิสระเพื่อใหมั่นใจไดวามีการปฏิบัติตาม
กฎหมายจริง การฟองคดีตอศาลในกรณีที่เห็นวามีการใชอํานาจผิดกฎหมาย จึงเปนสิ่งจําเปนเพื่อเปนหลักประกัน
สําหรับสังคมที่ยึดหลักนิติธรรม
7. การคุมครองสิทธิเสรีภาพของเอกชน การพิทักษสิทธิเสรีภาพ พื้นฐานของเอกชนเปนเปาหมาย
ในการจัดการปกครองเปนประชารัฐ การใชอํานาจนิติบัญญัติ การใชอํานาจบริหารและการใชอํานาจตุลาการ
ลวนแตมีความมุงหมายเพื่อพิทักษสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งนั้น การที่กลาวกันวาศาลนั้นเปนที่พึ่งสุดทาย
(Last Resort) ของประชาชน ทําใหมีหลักกฎหมายสําคัญตามมาอีกหลายประการ เชน หลักการเสมอกันในกฎหมาย
(Equality Before The Law) หลักสัดสวนของการใชอํานาจ (Proportionality) หลักการไมใชกฎหมายยอนหลัง
ใหเปนโทษแกบุคคล (Retoractivity) ซึ่งหลักการคุมครองสิทธิเสรีภาพของเอกชนนี้ยอมจะพัฒนาขยายไปตาม
ขอบเขตที่เหมาะสมของสังคมในแตละกาลสมัย
สวนความกังวลพื้นฐานของพลเมืองคือ เจาหนาที่รัฐอาจใชอํานาจอยางเกินไปไมเหมาะในการกระทํา
ทางปกครองของพวกเขาโดยใชการพิจารณาที่ไมเหมาะสม เชน โดยอคติ ตามอําเภอใจ ตามอารมณ
ตามกิเลสโทสะ ตามเจตจํานงที่ผิดปกติ ตามความคิดชั่วราย หรืออื่น ๆ มีหลายปจจัย ซึ่งบิดเบือนการกระทํา
และการทําการตัดสินของมนุษย หลักนิติธรรมกําจัดปจจัยตาง ๆ เหลานี้ โดยยืนกรานเรียกรองวา เจาหนาที่รัฐ
ปฏิบัติการตามและสอดคลองกับระเบียบขอบังคับทางกฎหมายที่เหมาะสมปฏิบัติได กฎหมายบังคับใชใน 2 ประการ
เพื่อไดมาซึ่งประโยชนนี้ ประการแรก เจาหนาที่รัฐถูกกําหนดใหปรึกษาหารือและปฏิบัติตามกฎหมายทั้งกอน
และในขณะปฏิบัติหนาที่ตาง ๆ ประการที่สอง ระเบียบขอบังคับทางกฎหมายไดใหขอกําหนดและมาตรฐาน
โดยสาธารณะไวซึ่งสามารถนํามาใชเพื่อดําเนินการตรวจสอบเจาหนาที่ปกครองในขณะและหลังการปฏิบัติหนาที่
ของพวกเขา
หลักนิติธรรมตองประกอบดวยหลักการพื้นฐานอะไรบาง เปนที่ถกเถียงของนักวิชาการมายาวนาน
ในที่นี้จึงขอสรุปถึงองคประกอบของหลักนิติธรรม (Rule of Law) ดังนี้คือ หลักหนาที่ของรัฐและการคุมครองสิทธิ
และเสรีภาพหลักแหงการแบงแยกการใชอํานาจ (Separation of Power) หลักแหงการมีกฎหมายที่ดี
(Good Law) หลักแหงความชอบดวยกฎหมายของฝายปกครองและฝายตุลาการ (Administrative Legality
and Judiciary Iegality) และหลักแหงความรับผิดชอบ (State Responsibility)
รัฐเปนสถาบันที่เกิดจากการรวมตัวของกลุมคนที่มีความตองการที่จะอยูรวมกัน โดยมีความผูกพัน
ทั้งทางวัตถุและจิตใจ การดํารงอยูและการดําเนินกิจกรรมของรัฐ จึงมีเปาหมายเพื่อใหสมาชิกรัฐสามารถ
อยูรวมกันไดอยางสงบสุข รัฐจึงดํารงอยูเพื่อมนุษย ไมใชมนุษยอยูเพื่อรัฐ ดังนั้น ศักดิ์ศรีความเปนมนุษย
จึงเปนสิ่งที่รัฐตองใหความสําคัญ โดยยึดถือระบบนิติธรรม หลักนิติธรรม จึงมีความเกี่ยวพันกับสิทธิเสรีภาพ
ของบุคคลและสิทธิในความเสมอภาค เพราะสิทธิทั้งสองถือวาเปนพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเปนมนุษย รัฐตองให
ความเอกภาพในสิทธิและเสรีภาพในการดํารงชีวิต คิด และกระทําการตาง ๆ ที่ตองการอยางเต็มที่
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข 47
นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”