Page 58 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 58

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                                                                                               National Human Rights Commission of Thailand

               ใหการเดินสํารวจในมาตรานี้ รวมถึงการเดินสํารวจออกหนังสือรับรองการทําประโยชนดวย จึงไดมีกําหนด

               ความเกี่ยวกับเขตปาไมถาวรขึ้นและใชบังคับมาจนถึงปจจุบัน
                        นอกจากนี้ ยังมีปญหาความสับสนในการตีความกฎหมายของหนวยงานของรัฐเกี่ยวกับสถานะ

               ทางกฎหมายของที่ดินซึ่งอยูในเขต  ส.ป.ก.  ที่รับมอบมาจากกรมปาไม  รวมทั้งการตีความกฎหมาย
               ในเรื่องคําจํากัดความของ คําวา “ทองที่ที่ทางราชการใหจําแนกใหเปนเขตปาไมถาวร” ตามมาตรา 58

               แหงประมวลกฎหมายที่ดิน วามีความหมายแคไหน เพียงใด เนื่องจาก ความเห็นของสวนราชการที่เกี่ยวของ
               อาทิ กรมปาไม กรมพัฒนาที่ดิน และกรมที่ดิน มีความเห็นขัดแยงกัน

                        3.  ปญหาการเดินสํารวจออกโฉนดที่ดินในบริเวณพื้นที่คาบเกี่ยวกับเขตปาชายเลน ผลการศึกษา
               พบวา มาตรการของรัฐที่ไดออกมา โดยมุงหวังใหการบุกรุกที่ปาชายเลนลดนอยลงหรือใหคงสภาพปาชายเลน

               ไวใหไดมากที่สุดนั้น จําเปนจะตองมีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับมาตรการดังกลาวดวย จึงจะมีสภาพบังคับใช
               ตามกฎหมายได เพราะการใชอํานาจของฝายบริหารหรือฝายปกครองยอมไมสามารถใชบังคับกับประชาชน

               ที่มีสิทธิในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยชอบดวยกฎหมายได
                        4.  ปญหาการเดินสํารวจออกโฉนดที่ดินในเขตที่มีพระราชกฤษฎีกาหวงหามไวเพื่อใชในราชการทหาร

               ผลการศึกษา พบวา มติคณะกรรมการจัดที่ดินแหงชาติป พ.ศ. 2517 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม
               พ.ศ. 2536 และมติของคณะกรรมการประสานการแกไขปญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐสวนกลาง (กปร. สวนกลาง)

               ถือเปนมาตรการของฝายบริหารในการควบคุมดูแลรักษาและคุมครองปองกันที่ดินของรัฐมิใหตกเปนประโยชน
               แกฝายหนึ่งฝายใดโดยเฉพาะ และสงผลใหการแกปญหาเกี่ยวกับที่ดินในเขตพระราชกฤษฎีกาหวงหาม

               ไวเพื่อประโยชนในราชการทหารไมเปนที่ยุติ
                        อยางไรก็ตาม การเปนที่ดินของรัฐใชวาจะดํารงอยูตลอดไปหรือเปลี่ยนแปลงไมได รัฐอาจถอนสภาพ

               จากการเปนที่ดินอันเปนสาธารณประโยชนสมบัติของแผนดินใหเปนที่ดินที่มีเอกชนหรือประชาชนเปนเจาของได
               ถาหากที่ดินเหลานี้ในภายหลังราษฎรไมไดใชประโยชนตอไปแลว หรือรัฐหาที่ดินอื่นใหราษฎรใชประโยชนแทน

               เมื่อที่ดินหมดสภาพการเปนสาธารณะ ตามมาตรา 8 วรรค 2 ประมวลกฎหมายที่ดิน ใหถอนสภาพได โดยออก
               เปนพระราชกฤษฎีกา การถอนสภาพเชนนี้ ประมวลกฎหมายที่ดินไมไดบัญญัติวาเมื่อถอนสภาพแลว

               จะเปนที่ดินประเภทอะไร ดังนั้น รัฐอาจใหเปนที่รกรางวางเปลาตอไปก็ไดถามีสภาพเชนนั้น หรือใหมีเจาของ
               หรือผูครอบครองไป โดยนําไปขึ้นทะเบียนเพื่อใหทบวงการเมืองใชประโยชนในราชการตามมาตรา 8 ทวิ

               แหงประมวลกฎหมายที่ดิน หรือใหบุคคลใดเขาจับจองใชประโยชนตอไปก็ได เพราะในการปฏิบัติราชการ
               ของฝายปกครองนั้นตองอาศัยฐานทางกฎหมายโดยเฉพาะเมื่อจะกระทําการกระทบเสรีภาพของประชาชน

                        ขณะเดียวกันก็มีการศึกษาวิจัยจํานวนมากที่ศึกษาคนหาแนวทาง วิธีการ และขอเสนอเพื่อใหเกิด
               การจัดการที่ดินและปาใหเกิดความเทาเทียมและเปนธรรมบนฐานแนวคิดการจัดการอยางมีสวนรวมของทองถิ่น

               แนวคิดเรื่องธรรมาภิบาล รวมทั้งแนวคิดดานสิทธิมนุษยชน เชน บทความเรื่องสิทธิในที่ดินของชุมชน : โฉนดชุมชน
               และขอกฎหมายที่เกี่ยวของโดย อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ ที่ระบุวา การใหสิทธิชุมชนจัดการที่ดินเปนทางออก

               อยางหนึ่งในการแกไขปญหาสิทธิในที่ดินซึ่งจะตองกําหนดขอบเขตพื้นที่องคประกอบหรือผูแทนชุมชนเงื่อนไข




                                                                       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข  37
                                                                นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63