Page 55 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 55

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                National Human Rights Commission of Thailand

                ปวงชนชาวไทยไมวาจะมีชนชั้นใดจะรํ่ารวยหรือยากจนก็ตาม ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกถิ่นฐานที่อยู

                ที่ทํากินอยางเทาเทียมกัน
                         และจากการศึกษาวิเคราะหปญหาการออกโฉนดที่ดินบนเกาะ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537)

                สามารถสรุปและมีขอเสนอแนะดังนี้
                         1.  มาตรการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ขอ 14 เปนการจํากัดสิทธิในที่ดินของประชาชน

                ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ขอ 14 กําหนดหลักเกณฑหามออกโฉนดที่ดินในเขตที่ดินของรัฐ
                ประเภทตาง ๆ เชน เขตปาสงวน เขตปฏิรูปที่ดินและเขตสงวนหวงหามอื่น ๆ เวนแตจะเปนผูครอบครองที่ดิน

                โดยมีหลักฐานการแจงการครอบครองตามมาตรา 5 แหงพระราชบัญญัติใหใชประมวลกฎหมายที่ดินหรือหลักฐาน
                อื่น ๆ ตามกฎหมาย สวนผูไมแจงการครอบครอง แมจะครอบครองที่ดินมากอนประมวลกฎหมายที่ดินก็ไมสามารถ

                ขอออกโฉนดที่ดินได ถึงแมการสงวนหวงหามการเปนที่ดินของรัฐจะมาทีหลังก็ตาม ซึ่งตามเจตนารมณของกฎหมาย
                ที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ตองการใหสิทธิแกผูครอบครองที่ดินมากอนประมวลกฎหมายที่ดินใหสามารถออกโฉนดที่ดิน

                ได อีกทั้งยังขัดตอหลักความเปนธรรม เนื่องจาก ไดครอบครองที่ดินมากอนการเปนที่ดินของรัฐ กฎกระทรวง
                ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) จึงเปนมาตรการของรัฐที่มุงคุมครองประโยชนสาธารณะมากเกินไป โดยไมคํานึงถึง

                ประชาชนที่ตองเสียสิทธิในที่ดินไป อีกทั้งยังขัดกับหลักความไดสัดสวนตามหลักนิติรัฐ ซึ่งการบัญญัติกฎหมาย
                จํากัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะตองกระทําเทาที่จําเปนและกระทบสิทธิของประชาชนนอยที่สุด ตามมาตรา 29

                แหงรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบกับไดมีคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
                ที่ อ. 240/2550 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 พิพากษาวา ผูครอบครองที่ดินมากอนประมวลกฎหมายที่ดิน

                โดยไมมีหลักฐานแจงการครอบครองที่ดินและครอบครองมากอนการเปนเขตที่ดินของรัฐ มีสิทธิขอออกโฉนด
                ที่ดินได ซึ่งเห็นไดวาศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยโดยหลักความเปนธรรม เนื่องจาก ขอเท็จจริงผูฟองคดีไดมีการ

                ครอบครองที่ดินมากอนการเปนที่ดินของรัฐเปนการตรวจสอบความชอบดวยกฎหมาย และการกระทําทางปกครอง
                ของรัฐโดยศาล

                         2.  มาตรการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ขอ 14 (3) เปนการขัดตอสิทธิเสรีภาพ
                ของประชาชน เปนการจํากัดสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชน อีกทั้งยังขัดตอรัฐธรรมนูญ

                แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เนื่องจาก เนื้อหาตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ขอ 14 (3)
                เปนการหามโดยเด็ดขาดมิใหออกโฉนดที่ดินบนเกาะ เวนแตจะเปนผูซึ่งมีหลักฐานแจงการครอบครองที่ดิน

                มีใบจอง ใบเหยียบยํ่า หนังสือรับรองการทําประโยชน โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราวา “ไดทําประโยชนแลว”
                หรือเปนผูมีสิทธิตามกฎหมายวาดวยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพหรือที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแหงชาติ

                ไดอนุมัติใหจัดแกประชาชนหรือที่ดินซึ่งไดมีการจัดหาผลประโยชน  ตามมาตรา 10  และมาตรา 11
                แหงประมวลกฎหมายที่ดิน โดยคณะกรรมการจัดที่ดินแหงชาติไดอนุมัติแลว ซึ่งขอหามตามหลักเกณฑดังกลาว

                ใชเฉพาะที่ดินบนเกาะเทานั้น สวนที่ดินทั่วไปมิไดอยูในขอหามตามขอ 14 (3) ทั้งที่คํานิยามตามมาตรา 1
                แหงประมวลกฎหมายที่ดิน คําวา ที่ดิน ใหหมายความรวมถึงที่เกาะดวย จึงเปนการจํากัดสิทธิเสรีภาพ

                และความเสมอภาคของประชาชนซึ่งอยูในประเทศเดียวกันและใชรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน แตแตกตางกัน




           34    รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข
                 นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60