Page 56 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 56

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                                                                                               National Human Rights Commission of Thailand

               ตรงสภาพของที่ดินที่เปนเกาะและที่ดินซึ่งมิใชที่เกาะเทานั้น ซึ่งคงมิใชความผิดของผูครอบครองที่ดินบนเกาะ

               ที่เกิดและอยูอาศัยบนเกาะของประเทศไทย แตจําตองมีกฎหมายบังคับแตกตางกับผูครอบครองที่ดินที่มิใช
               ที่เกาะอันทําใหตองเสียสิทธิในที่ดินไป ซึ่งเมื่อพิจารณาแลว กฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) เปนเพียง

               กฎหมายลําดับรองที่ออกมาโดยอํานาจของฝายบริหารเปนกฎหมายที่ออกโดยมิไดผานความเห็นชอบ
               จากรัฐสภา ซึ่งเปนองคกรนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย อันมาจากตัวแทนของประชาชน

               ที่จะชวยกลั่นกรองกฎหมาย อีกทั้งเนื้อหาของกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ขอ 14 (3) มีผลกระทบ
               ตอสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชน ซึ่งกฎหมายที่มีเนื้อหาลักษณะดังกลาวจะตองออกโดยผาน

               ความเห็นชอบจากรัฐสภาเทานั้น ตามนัยรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 29
               ทั้งยังเปนการขัดตอหลักความเสมอภาค ตามมาตรา 30 และการคุมครองสิทธิในทรัพยสินตามมาตรา 41

                        3.  มาตรการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ขอ 14 (3) เปนการขัดตอประมวลกฎหมาย
               ที่ดิน ซึ่งตามมาตรา 59 ทวิ แหงประมวลกฎหมายที่ดิน รัฐยังใหการรับรองสิทธิของผูครอบครองที่ดินมากอน

               ประมวลกฎหมายที่ดิน โดยมิไดแจงการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ตามมาตรา 5 แหงพระราชบัญญัติใหใช
               ประมวลกฎหมายที่ดิน (พ.ศ. 2497) และเปดโอกาสใหไดรับเอกสารสิทธิที่ดินไดภายใตหลักเกณฑที่กฎหมาย

               กําหนดแตกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ขอ 14 (3) ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 6 มาตรา 8
               และมาตรา 15 แหงพระราชบัญญัติใหใชประมวลกฎหมายที่ดิน (พ.ศ. 2497) และมาตรา 56 แหงประมวล

               กฎหมายที่ดิน (พ.ศ. 2497) กลับไมรับรองสิทธิของประชาชนผูซึ่งครอบครองทําประโยชนในที่ดินมากอน
               ประมวลกฎหมายที่ดินโดยมิไดแจงการครอบครองที่ดิน ทั้งยังเปนการจํากัดสิทธิของประชาชนดังกลาว

               และเปนการยกเลิกสิทธิในที่ดินของประชาชนที่พระราชบัญญัติใหใชประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมาย
               ที่ดินไดรับรองสิทธิไวและใหโอกาสในการออกเอกสารสิทธิตามมาตรา 59 ทวิ แหงประมวลกฎหมายที่ดิน

               ไดกลาวคือ กฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ขอ 14 (3) ซึ่งเปนกฎหมายลําดับรองที่ออกโดยฝายบริหาร
               กลับมีเนื้อหาที่ขัดกับเจตนารมณ ตามมาตรา 59 ทวิ แหงประมวลกฎหมายที่ดินที่เปนกฎหมายแมบทที่ให

               อํานาจในการออกกฎกระทรวงไว เนื่องจาก ที่ดินบนเกาะไมสามารถใชมาตรา 59 ทวิ ในการออกเอกสารสิทธิได
               กฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ขอ 14 (3) จึงขัดตอประมวลกฎหมายที่ดินและขัดตอหลักนิติรัฐ

               เทากับวากฎหมายลําดับรองยกเลิกกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
                        และงานวิจัยเรื่อง การเดินสํารวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ที่มีปญหาการถือครอง โดยนิติรัฐ ไชยศรี

               ชี้ใหเห็นถึงสถานการณปญหาการออกโฉนดที่ดิน ที่เกิดมาจากการตีความกฎหมายของหนวยงานภาครัฐที่ไมตรงกัน
               ตลอดจนขอเท็จจริงเกี่ยวกับการสํารวจจําแนกประเภทที่ดินของรัฐและเอกชนยังไมชัดเจน ประกอบกับหลักเกณฑ

               วิธีการ และเงื่อนไขในการออกโฉนดที่ดินใชมานานแลว ที่จําเปนตองมีการปรับปรุงแกไขกฎหมายที่เปนอุปสรรค
               ในการปฏิบัติงาน โดยการศึกษาพบวา

                        1.  ปญหาการเดินสํารวจออกโฉนดที่ดินโดยอาศัยหลักฐานใบจอง (น.ส.2) การยกเลิกบทบัญญัติ
               ในหมวด 3 การกําหนดสิทธิในที่ดิน มาตรา 34 - 49 แหงประมวลกฎหมายที่ดิน โดยประกาศของคณะปฏิวัติ

               ฉบับที่ 49 ลงวันที่ 13 มกราคม พุทธศักราช 2502 ทําใหมีการถือครองที่ดินจํานวนมากเพื่อแสวงหากําไร




                                                                       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข  35
                                                                นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61