Page 62 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 62

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                                                                                               National Human Rights Commission of Thailand

               อยางเปนระบบแตก็ไมอาจดําเนินการได นอกจากนั้น องคกรบริหารจัดการที่ดินยังขาดความเปนเอกภาพ

               กระจายอยูในกระทรวงและกรมตาง ๆ
                        จากมูลเหตุขางตน การแกปญหาการกระจุกตัวและการใชประโยชนที่ดิน ควรพิจารณาดําเนินการ

               ตามขอเสนอแนะดังตอไปนี้
                        1.  ควรกําหนดเขตการใชที่ดินประเภทตาง ๆ โดยพิจารณาสมรรถนะของดิน ความเหมาะสมของดิน

               ขนาดของพื้นที่ที่จะทําใหเกิดผลตอบแทนที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจ ตลอดจนวางแผน โดยพิจารณาองคประกอบ
               ที่กลาวมาขางตน ควบคูไปกับเปาหมายทางดานสังคมและสิ่งแวดลอม โดยใหความสําคัญกับการบังคับใช

               แผนการใชที่ดินดังกลาว ซึ่งจะเปนเงื่อนไขสําคัญที่จะนําไปสูการใชที่ดินในลักษณะที่จะกอใหเกิดประโยชนสูงสุดได
                        2.  ควรจัดระบบเอกสารสิทธิใหม โดยใหมีเอกสารสิทธิชนิดเดียวคือ โฉนดที่ดิน เพื่อมิใหเกิด

               ความลักลั่นในสิทธิที่ประชาชนจะไดรับและทําใหการบริหารจัดการดานเอกสารสิทธิและทะเบียนที่ดินเปนไป
               ในระบบเดียวกันทั่วประเทศ ทั้งนี้ ควรดําเนินการหลังการจําแนกประเภทที่ดินแลว

                        3.  เรงรัดการจัดระบบฐานขอมูลเกี่ยวกับภาวะการกระจุกตัวในทุกจังหวัดของประเทศ เพื่อที่จะ
               นํามาใชประกอบการกําหนดมาตรการควบคุมมิใหการกระจุกตัวของการถือครองเปนพื้นฐานของปญหา

               ของการใชที่ดินที่ขาดประสิทธิภาพ
                        4.  ควรบูรณาการองคกรและกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารการจัดการที่ดินเพื่อใหเกิดเอกภาพ

               ในวัตถุประสงคเปาหมายและวิธีการดําเนินการ
                        5.  ควรจัดระบบขอมูลเกี่ยวกับที่ดินที่โปรงใสโดยที่สาธารณชนเขาไปใชประโยชนโดยงาย ตลอดจน

               การสรางเครือขายระหวางหนวยงานของรัฐชุมชนและองคกรพัฒนาเอกชน ซึ่งลวนปฏิบัติภารกิจในสวนที่ตนเอง
               รับผิดชอบภายใตกรอบการบริหารการจัดการที่ดินและกติกาเดียวกัน

                        6.  ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษีบํารุงทองที่และกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดินใหมี
               ฐานการประเมินภาษีอยางเดียวกัน ไดแก การประเมินราคาทุนทรัพยโดยใหเปนหนาที่ของสํานักงานกลาง

               ประเมินราคาทรัพยสินตลอดจนเพิ่มอัตราภาษีบํารุงที่ แตลดอัตราภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ยกเลิกการยกเวน
               ภาษีโรงเรือนและที่ดินกรณีเจาของกรรมสิทธิ์อยูอาศัย) โดยมีอัตราแตกตางกันตามลักษณะการใชประโยชน

               เชน เพื่อการเปนที่อยูอาศัยเพื่อการทําธุรกิจหากําไรเพื่อการกสิกรรม เปนตน หรือยกเลิกบทบัญญัติทั้งสองฉบับ
               และตราบทบัญญัติภาษีทรัพยสินที่ครอบคลุมสาระสําคัญของการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสรางตลอดจน

               ที่ดิน เชน รางพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสรางโดยใชฐานภาษีเดียวกัน
                        7.  ควรสรางและพัฒนาระบบภาษีที่ดินโดยยึดหลักของการเก็บภาษีตามอัตรากาวหนา ทั้งนี้

               ภาษีที่ดินควรจะเก็บจากคาเชาทางเศรษฐกิจที่เกิดจากทรัพยสินที่สอดคลองและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ
               และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

                        8.  ทบทวนหลักการวิธีการของมาตรการและกลไกในการบริหารการจัดการที่ดินที่มีอยูในปจจุบัน
               อยางจริงจังเพื่อเพิ่มศักยภาพของการใชกลไกดังกลาวเปนเครื่องมือที่จะผลักดันใหการใชที่ดินเกิดประโยชนสูงสุด







                                                                       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข  41
                                                                นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67