Page 50 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 50

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                                                                                               National Human Rights Commission of Thailand

               ซึ่งมักถูกกลาวหาวาเปนตนเหตุของปญหาการลดลงของพื้นที่ปาไม เชน ในป พ.ศ. 2533 กรมปาไมไดรวมกับ

               หนวยงานภาครัฐอื่น ๆ โดยเฉพาะอยางยิ่งกับกองทัพบก (กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายใน) ดําเนินโครงการ
               จัดสรรที่ดินทํากินแกราษฎรผูยากไรในพื้นที่ปาสงวนเสื่อมโทรม หรือที่รูจักกันในนาม “คจก.” โดยมีการอพยพ

               ชาวบานที่อาศัยอยูอยางกระจัดกระจายในเขตปาตนนํ้าใหมาอยูรวมกันในเขตพื้นที่ปาสงวนเสื่อมโทรม
               และมีความเปราะบางทางระบบนิเวศ ทั้งนี้ ทางโครงการวางแผนที่จะดําเนินการกับราษฎรที่อยูในเขตปาทั่วประเทศ

               โดยไดริเริ่มการดําเนินโครงการที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเปนพื้นที่แรกในพื้นที่อพยพทางโครงการฯ ไดจัดตั้ง
               ระบบหมูบานและจัดสรรที่อยูอาศัยและที่ดินทํากินใหกับเกษตรกรในพื้นที่เปาหมายและเมื่ออพยพชาวบาน

               ออกไปแลว ทางกรมปาไมและหนวยงานที่เกี่ยวของไดทําการปลูกปาเพื่อฟนฟูระบบนิเวศตนนํ้าโดยไมไดคํานึงวา
               การอพยพชาวบานออกจากพื้นที่ตนนํ้า นอกจากไมนําไปสูการฟนฟูและรักษาพื้นที่ปาไมแลว ยังนําไปสูความขัดแยง

               ระหวางเจาหนาที่ของรัฐและชาวบานที่อาศัยอยูในเขตปาอีกดวย
                        อยางไรก็ดี มีการโตแยงจากนักวิชาการทั้งไทยและตางประเทศในเรื่องขอกลาวหาของรัฐที่วา “ชาวบาน

               ทําลายปา” นักวิชาการกลุมนี้พยายามชี้ใหเห็นถึงความสลับซับซอนของปญหาการทําลายปา ซึ่งมีขอสรุปรวมกันวา
               สาเหตุสําคัญของปญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรปาไมสืบเนื่องจากนโยบายการพัฒนาของรัฐที่มุงเนน

               การผลาญทรัพยากรและการรักษาความมั่นคงของชาติ การลดลงของพื้นที่ปาจึงเกี่ยวของโดยตรงกับการพัฒนา
               เศรษฐกิจการเมืองและสังคม แตดูเหมือนวาขอโตแยงดังกลาวไมไดนําไปสูการทบทวนและสรางนโยบายปาไม

               ที่เอื้อประโยชนตอชาวบานเทาไรนัก
                        นโยบายการจัดการปาของไทยยังคงเนนการอนุรักษและคุมครองความหลากหลายทางชีวภาพ

               โดยยังคงมองชาวบานเปนศัตรูสําคัญของทรัพยากรปาไมในชวงปลายทศวรรษ 2520 คณะรัฐมนตรีมีมติผานนโยบาย
               ปาไมแหงชาติ พ.ศ. 2528 ซึ่งกําหนดใหประเทศควรมีพื้นที่ปาไมอยางนอยรอยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ

               โดยแบงเปนพื้นที่ปาอนุรักษรอยละ 25 และอีกรอยละ 15 เปนพื้นที่ปาเศรษฐกิจ เพื่อบรรลุนโยบายดังกลาว
               กรมปาไมในฐานะหนวยงานที่รับผิดชอบไดดําเนินยุทธศาสตรอยางนอย 2 ยุทธศาสตรหลักไดแก 1) การเรงประกาศ

               พื้นที่อนุรักษ ซึ่งรวมถึงพื้นที่อุทยานแหงชาติและเขตรักษาพันธุสัตวปา และ 2) การสงเสริมใหภาคเอกชนเขามา
               ลงทุนปลูกสรางสวนปาขนาดใหญโดยเฉพาะสวนปายูคาลิปตัส ซึ่งยุทธศาสตรทั้งสองของกรมปาไมนําไปสู

               ความขัดแยงกับชาวบานในพื้นที่ปาซึ่งอาศัยปาในการดํารงชีพตัวอยางที่สําคัญและเปนกรณีศึกษาของผูเขียน
               ไดแก กรณีความขัดแยงระหวางชาวบานหวยแกว ตําบลหวยแกว อําเภอแมออน จังหวัดเชียงใหมกับนักธุรกิจ

               ในทองถิ่น โดยกรมปาไมอนุญาตใหนักธุรกิจเชาพื้นที่ปาสงวนแหงชาติจํานวน 235 ไรเพื่อทําการปลูกสรางสวนปา
               ซึ่งพื้นที่ดังกลาวเปนพื้นที่ที่ชาวบานหวยแกวอางวาเปนพื้นที่ตนนํ้าลําธารแหลงเก็บหาของปาและพื้นที่เลี้ยงสัตวของ

               ชุมชน ดังนั้น พวกเขาจึงตอตานการเชาที่ดินของเอกชนจากรัฐและกลายเปนปญหาความขัดแยงในที่สุด นอกจากนี้
               การเรงประกาศพื้นที่อนุรักษที่ขาดการปรึกษาหารือกับชาวบานและหนวยงานที่เกี่ยวของในระดับทองถิ่น

               อยางเหมาะสมทําใหเกิดปญหาการซอนทับระหวางพื้นที่ทํากินของชาวบานกับพื้นที่อนุรักษจากการประเมิน
               ของ ICEM (2003) พบวา มีชาวบานติดอยูในเขตปาของรัฐโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ปาอนุรักษไมนอยกวา

               500,000 คน




                                                                       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข  29
                                                                นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55