Page 46 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 46
สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
National Human Rights Commission of Thailand
ใหใชประมวลกฎหมายที่ดิน 2497 ในสวนที่เกี่ยวกับการจํากัดการถือครองที่ดิน (มาตรา 34 ถึงมาตรา 49
และมาตรา 94 อนุมาตรา 5 ของประมวลกฎหมายที่ดิน 2497) ไดถูกยกเลิกโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 49
ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2502 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต เพราะการจํากัดการถือครองที่ดินซึ่งเปนปจจัย
การผลิตที่สําคัญในระบบทุนนิยมขัดแยงกับหลักการเศรษฐกิจเสรีตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของธนาคารโลก
เพื่อพัฒนาประเทศไทยในชวงเวลานั้นซึ่งทําใหประเทศสหรัฐอเมริกาไดเขามามีบทบาทอยางสูงโดยการอยูเบื้องหลัง
ในการผลักดันนโยบายสําคัญ ๆ ของรัฐบาลประเทศไทยตั้งแตนั้นเปนตนมา
สวน พ.ร.บ. ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 เปนผลของการปฏิรูปที่ดินซึ่งเกิดขึ้นจากการ
เรียกรองของสหพันธชาวนาชาวไรที่มาชุมนุมเรียกรองที่ดินทํากินตอรัฐบาลเฉพาะกาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์
ในชวงสถานการณทางการเมืองที่เอื้ออํานวยตอการเคลื่อนไหวของพลังภาคประชาชนในยุคที่ประชาธิปไตย
กําลังเบงบานในป พ.ศ. 2517 จนสามารถประกาศใชเปนกฎหมายไดอยางเปนทางการในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธิ์
ปราโมช และไดใชมาจนถึงทุกวันนี้ กฎหมายฉบับนี้ไมถูกตอตานหรือยกเลิกเหมือนกฎหมายปฏิรูปที่ดิน
ฉบับกอนหนานี้ เพราะเนื้อหาสาระเปนการจัดสรรที่ดินรกรางวางเปลาหรือที่ดินของรัฐ (มาตรา 26 อนุ 3)
เพื่อใหเกษตรกรทํากินในจํานวนเนื้อที่ดินที่ไมสงผลกระทบกระเทือนตอการถือครองที่ดินของกลุมทุน
แตเปนเพียงการผอนคลายความตึงเครียดจากการถูกกดขี่ขูดรีดของระบบทุนนิยมซึ่งเทากับเปนการปรับตัว
ของระบบทุนนิยมเพื่อใหสามารถขูดรีดตอเนื่องตอไปไดเทานั้น นอกจากนั้น ที่ดิน ส.ป.ก. สวนใหญ
ยังถูกผูมีอิทธิพลทองถิ่นนักการเมืองรวมทั้งนายทุนสวมสิทธิในการเปนเกษตรกรเปนจํานวนมากอีกดวย
เชนเดียวกับงานวิจัยเรื่องกระบวนการกําหนดนโยบายที่ดินในประเทศไทยระหวาง พ.ศ. 2475 - 2500
โดย ศรัญู เทพสงเคราะห ที่ชี้ใหเห็นถึงปญหาความขัดแยงระหวางเอกชนกับประชาชนในการถือครองกรรมสิทธิ์
ที่ดินที่สะทอนถึงความไมเปนธรรมจากกฎหมายที่เกี่ยวของกับการถือครองที่ดิน จนทําใหเกิดมีการแตงตั้ง
คณะกรรมการและออกกฎหมายอีกหลายฉบับขึ้นมาเพื่อแกไขปญหาดังกลาว
กรณีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินในทองที่อําเภอบางบอและบางพลีจังหวัดสมุทรปราการถือเปนกรณีพิพาท
เกี่ยวกับที่ดินที่สําคัญที่สุดในชวงทศวรรษ 2490 ซึ่งรัฐบาลใหความสนใจเปนอยางยิ่งและมีผลตอการกําหนด
นโยบายจัดสรรที่ดินของรัฐบาลในชวงครึ่งหลังทศวรรษ 2490 โดยกรณีพิพาทนี้เปนเรื่องสืบเนื่องมาจากกรณีพิพาท
ระหวางหางหุนสวนสยามกสิกรของนายมังกร สามเสน กับราษฎรในชวงกอนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ถึงแมรัฐจะพยายามแกปญหาดังกลาวดวยการตราพระราชกฤษฎีกากําหนดการแบงที่ดินในอําเภอบางบอ บางพลี
จังหวัดสมุทรปราการและบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทราใหแกราษฎร พ.ศ. 2473 โดยตั้งขาหลวงพิเศษออกไป
จัดแบงที่ดินที่ดังกลาวใหแกราษฎรผูสามารถทําการเพาะปลูกไดเอง แตในระหวางที่ขาหลวงพิเศษจัดแบงที่ดิน
ดําเนินการในทองที่ที่กําหนดนั้น กรณีพิพาทที่ดินระหวางราษฎรกับหางหุนสวนสยามกสิกรก็ยังคงดําเนินอยู
โดยในป พ.ศ. 2480 นายมังกร สามเสน ผูจัดการหางหุนสวนสยามกสิกรไดยื่นคํารองขอรังวัดเพื่อรับโฉนดที่ดิน
การขอรังวัดครั้งนั้นมีราษฎรหลายรายคัดคานและเรื่องก็คางเรื่อยมา เพราะทั้งฝายผูขอและผูคัดคานไมเอาใจใส
ทอดทิ้งเรื่องไว และเมื่อพิจารณาการจัดแบงที่ดินของขาหลวงพิเศษในที่ดินดังกลาวกลับปรากฏวาขาหลวงพิเศษ
ยังไมมีการดําเนินการจัดแบงที่ดิน จนกระทั่งมีการออกกฎหมายฉบับสุดทายที่ยกเลิกขาหลวงพิเศษจัดแบงที่ดิน
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข 25
นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”