Page 49 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 49

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                National Human Rights Commission of Thailand


                         โดยนับตั้งแตป พ.ศ. 2439 เปนตนมา รัฐบาลสยามไดสถาปนากรมปาไมขึ้นเพื่อทําหนาที่ควบคุม
                การทําไมโดยเฉพาะการสัมปทานไมสักในเขตภาคเหนือของประเทศไทยการสถาปนากรมปาไมครั้งนั้น นับไดวา

                เปนการประกาศรวมศูนยอํานาจในการจัดการทรัพยากรปาไมของประเทศไทย ซึ่งกอนหนานั้นพื้นที่ปาไม
                ในเขตภาคเหนืออยูภายใตการควบคุมของเจาผูครองนครซึ่งมีระบบการจัดการที่แตกตางกันไปในชวงเริ่มตน

                ของการวางระบบรวมศูนยอํานาจการจัดการปา รัฐบาลสยามไดวาจางนายโฮรเบิรต เสลด (Horbert Slade)
                นักปาไมชาวอังกฤษใหมาทําหนาที่ใหคําปรึกษาและวางกฎเกณฑการบริหารจัดการปาไม ตอมา นายเสลดไดรับ

                การแตงตั้งใหเปนเจากรมปาไม (อธิบดีกรมปาไม) คนแรกในประวัติศาสตรการปาไมเมืองไทย ทั้งนี้ การบริหาร
                จัดการทรัพยากรปาไมในสมัยนั้นเนนการทําไมสัก และตอมาเปนไมกระยาเลยจากปาธรรมชาติโดยผูรับสัมปทาน

                สวนใหญมักเปนบริษัทตางชาติซึ่งสวนใหญเปนบริษัทของอังกฤษ เชน บริษัทบอมเบย - เบอรมารโดยรัฐบาลสยาม
                ไดรายไดจากการสัมปทานโดยเก็บคาภาคหลวงการทําไมในเขตสัมปทาน ประเทศไทยเปดใหมีการสัมปทานปาไม

                ในเขตปาธรรมชาตินับตั้งแตนั้นเรื่อยมา แตไดประกาศปดสัมปทานปาไมทั่วประเทศอยางเปนทางการ
                ในป พ.ศ. 2532 หลังเกิดภัยพิบัตินํ้าทวมดินถลมที่พิปูน นครศรีธรรมราช ซึ่งนับรวมเวลาในการทําไมในปาธรรมชาติ

                เกือบหนึ่งศตวรรษที่ผานมา รัฐใชอํานาจผานกรมปาไมโดยมีความพยายามอยางตอเนื่องในการใชอํานาจประกาศให
                พื้นที่ปาเปนพื้นที่ปาไมของรัฐและออกกฎหมายปาไมเพื่ออํานวยการใหรัฐมีอํานาจและหนาที่ในการจัดสรร

                การใชประโยชนทรัพยากรในพื้นที่ปาไมแตเพียงผูเดียว ดังนั้น เทคนิคของรัฐในการควบคุมทรัพยากรปาไม
                ก็คือ การกําหนดพื้นที่ใหเปนของรัฐและออกกฎหมาย เพื่อใชเปนเครื่องมือสําหรับเจาหนาที่รัฐในการจัดสรร

                การใชประโยชนทรัพยากรปาไมในป พ.ศ. 2507 กรมปาไมออกกฎหมายปาสงวนแหงชาติ พ.ศ. 2507 นัยสําคัญ
                ของกฎหมายฉบับนี้คือการกําหนดนิยาม “ที่ดินปาไม” ซึ่งกฎหมายฉบับนี้นิยามวา “ที่ดินที่ยังไมมีบุคคลใด

                ครอบครองเปนเจาของตามประมวลกฎหมายที่ดิน” หมายความวา ที่ดินทั้งที่มีตนไมปกคลุมและไมมีตนไม
                ปกคลุม แตยังไมมีการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินโดยกรมที่ดินถือเปนที่ดินปาไมและจัดเปนพื้นที่ปาสงวนแหงชาติ

                         นอกจากนี้ กรมปาไมออกประกาศพระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. 2503 ทั้งนี้
                ในเชิงการควบคุมพื้นที่เพื่ออนุรักษสัตวปากรมปาไมไดประกาศเขตรักษาพันธุสัตวปาขึ้นทั่วประเทศ ในระยะเวลา

                ใกลเคียงกันกรมปาไมออกประกาศพระราชบัญญัติอุทยานแหงชาติ พ.ศ. 2504 และมีการประกาศอุทยานแหงชาติ
                เขาใหญเปนอุทยานแหงชาติแหงแรกของประเทศไทย และประกาศปาสลักพระจังหวัดกาญจนบุรีเปนเขตรักษา

                พันธุสัตวปาแหงแรกในประเทศไทยเชนเดียวกัน แตดูเหมือนวาระบบการจัดการปาแบบรวมศูนยอํานาจ
                โดยมีกรมปาไมทําหนาที่หลักไมสอดคลองกับระบบสังคมการเมืองและระบบนิเวศธรรมชาติในสังคมไทย

                และไมบรรลุตามวัตถุประสงคเดิมที่จะเพิ่มพื้นที่ปาไม ในทางตรงกันขามพื้นที่ปาไมในประเทศไทยกลับลดลง
                อยางตอเนื่องโดยพื้นที่ปาไดลดลงจากประมาณรอยละ 43 ของพื้นที่ประเทศในป พ.ศ. 2516 เหลือเพียง

                ประมาณรอยละ 25 ในชวงทศวรรษ 2540 (กรมปาไม, 2552)
                         “ชาวบาน” และ “ระบบเกษตรกรรมในปา” มักถูกตําหนิจากเจาหนาที่และสังคมวาเปนสาเหตุหลัก

                ของปญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรปาไม รัฐมักมองวาชาวบานและระบบเกษตรกรรมดังกลาวเปนศัตรู
                ที่รายกาจตอทรัพยากรปาไมและไดใชความพยายามหลายครั้งในการควบคุมประชากรที่อาศัยในปา




           28    รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข
                 นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54