Page 95 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 95

1) ศาลหรือองคกรตุลาการมีความเปนอิสระในการปฏิบัติหนาที่ และมีหลักประกันในความเปน

              อิสระของศาลเพื่อใหศาลวินิจฉัยคดีโดยไมอยูภายใตอิทธิพลใดๆทั้งสิ้น
                            2)  เมื่อราษฎรไดยื่นคําฟองอยางถูกตอง ศาลมีหนาที่ตองพิจารณาและพิพากษาคดีเสมอ

              จะปฏิเสธไมพิจารณาพิพากษาคดีไมได ดังนั้น ราษฎรจึงไดรับหลักประกันวา “ทุกข” หรือความเดือดรอนของตน

              หากมีอยูจริงจะไดรับการขจัดปดเปาภายในเวลาอันสมควร หลักประกันขอนี้ไมอาจพบไดในการควบคุมระบบอื่น ๆ
                            3) วิธีพิจารณาคดีของศาลเปนไปอยางเปดเผย เปดโอกาสใหสาธารณชนเขาฟงการพิจารณาคดีได

              และเปดโอกาสใหคูความทั้งสองฝายนําพยานหลักฐานตาง ๆ มาสืบสนับสนุนขออางขอเกี่ยวของของตนและหักลาง
              ขออางขอเถียงของฝายตรงกันขามไดอยางเต็มที่

                            4) ศาลตองใหเหตุผลประกอบคําพิพากษาของตนเสมอ การบังคับใหศาลตองแสดงขอเท็จจริง

              และขอกฎหมายที่เปนเหตุผลในการวินิจฉัยขอพิพาทไปทางใดทางหนึ่งใหปรากฏตอคูความยอมเปนหลักประกัน
              แกเอกชนวาศาลจะไมพิพากษาคดีตามอําเภอใจไดเปนอยางดีเชนกัน

                            ดังนั้น ตามกรณีศึกษาเรื่องนี้ หากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติมีหนังสือเรียกบุคคล

              นิติบุคคล หรือหนวยงานเอกชนที่เกี่ยวของมาใหถอยคําหรือใหสงวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวของ
              มาตามวัน เวลา และสถานที่ที่กําหนด แตไมไดรับความรวมมือเทาที่ควรนั้น การแกปญหาในระยะสั้น คณะกรรมการ

              สิทธิมนุษยชนแหงชาติก็อาจใชอํานาจตามมาตรา 34 แหงพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ

              พ.ศ. 2542 ลงโทษผูใดไมมาใหถอยคํา หรือไมสงวัตถุเอกสาร หรือพยานหลักฐานที่ถูกเรียกหรือถูกสั่งใหสงตาม
              มาตรา 32 (2) ตองระวางโทษจําคุกไมเกินหกเดือน หรือปรับไมเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และมาตรา 35

              ผูใดตอสูหรือขัดขวางการปฏิบัติหนาที่ตามมาตรา 32 (3) ตองระวางโทษจําคุกไมเกินหนึ่งป หรือปรับไมเกิน
              สองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ หรือรายงานตอนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการใหมีการดําเนินการตามมาตรการแกไขปญหา

              การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยผานทางหนวยงานที่มีหนาที่รับผิดชอบตามที่กลาวมาแลว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

              แหงชาติก็ยังมีอํานาจในการรายงานไปยังนายกรัฐมนตรีหรือรัฐสภาแลวแตกรณี เพื่อใหฝายบริหารและนิติบัญญัติ
              รับทราบถึงปญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน เพื่อใหฝายบริหารและฝายนิติบัญญัติไดวางแนวทาง

              ในการแกไขปญหาในระดับนโยบายตอไป
                            อยางไรก็ตาม ในการแกไขปญหาในระยะยาวนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติจําเปน

              จะตองเผยแพรความรูเรื่องสิทธิมนุษยชนไปสูประชาชน ตลอดจนองคกรของรัฐที่เกี่ยวของเพื่อใหเห็นประโยชน

              และปองกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยางยั่งยืนตอไป


              3.2  กรณีศึกษาและการวิเคราะหการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติเกี่ยวกับการกระทํา
              อันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกัน

                     ในการศึกษาและการวิเคราะหการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติเกี่ยวกับการ

              กระทําอันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกัน คณะผูศึกษาวิจัยไดกําหนด
              กรณีศึกษาจากขอรองเรียนที่มีตอคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความ

              สัมพันธระหวางเอกชนดวยกัน ซึ่งแตละกรณีมีรายละเอียด ดังนี้




          76
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100