Page 97 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 97
แหงรัฐของตน แมวาการลวงละเมิดนั้นจะกระทําขึ้นโดยบุคคลซึ่งปฏิบัติหนาที่ของตนก็ตาม” โดยนัยเชนนี้
126
จึงตองตีความวาการแทรกแซงหรือลวงละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเอกชนคนหนึ่งโดยเอกชนอีกคนหนึ่ง
ยอมจะกระทํามิไดยิ่งกวา
ขอพิจารณาตาง ๆ ดังกลาวขางตนเปนไปในแนวทางเดียวกับแนวคําวินิจฉัยของศาลแหงยุโรป
127
ดานสิทธิมนุษยชนที่ไดเคยวินิจฉัยไวในคดี Marckx c/Belgique ศาลแหงยุโรปไดรับรองการดํารงอยูของ
สิทธิของบุคคลที่จะไดรับการเคารพในชีวิตสวนตัวและชีวิตครอบครัวในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกัน และใน
128
คดี X. et Y. c/ Pays-Bas ศาลแหงยุโรปไดยืนยันหลักการตีความอยางกวางเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่จะไดรับ
การเคารพในชีวิตสวนตัวของตน โดยศาลไดยํ้าเตือนวาหากขอ 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปมีเจตนารมณสําคัญ
เพื่อคุมครองเอกชนตอการถูกแทรกแซงตามอําเภอใจขององคกรของรัฐบทบัญญัติดังกลาวมิไดจํากัดขอบเขตอยูแต
เพียงการกําหนดหามมิใหรัฐภาคีกระทําการแทรกแซงเชนนั้นอันเปนขอผูกพันที่จะไมกระทําการ (un engagement
négatif) แตเพียงอยางเดียวเทานั้น รัฐภาคียังมีหนาที่จะตองดําเนินมาตรการที่เหมาะสม (des obligations
129
positives) เพื่อใหสิทธิของบุคคลในชีวิตสวนตัวและในชีวิตครอบครัวไดรับการเคารพอยางแทจริงอีกดวย
ซึ่งอาจครอบคลุมไปถึงการกําหนดมาตรการที่มุงหมายใหสิทธิดังกลาวของบุคคลไดรับการเคารพ แมในความ
สัมพันธระหวางเอกชนดวยกันเอง
โดยเหตุที่กลาวมาแลว จะเห็นไดวาการปฏิบัติหนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
มุงหมายที่การตรวจสอบการกระทําของบุคคลวาเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไมเปนหลัก กลาวอีกนัยหนึ่ง
เงื่อนไขเกี่ยวกับการปฏิบัติหนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติอยูที่ “การกระทํา” อันเปนการละเมิด
สิทธิมนุษยชนเปนสําคัญ มิไดขึ้นอยูกับเงื่อนไขเกี่ยวกับ “ตัวบุคคล” ผูกระทําแตอยางใด โดยนัยดังกลาว การกระทํา
อันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนจึงอาจเกิดขึ้นไดทั้งใน “ความสัมพันธระหวางองคกรของรัฐกับเอกชน” และใน
“ความสัมพันธระหวางเอกชนหรือปจเจกชนดวยกันเอง” สิทธิมนุษยชนยอมจะตองไดรับการเคารพทั้งจากองคกร
ของรัฐและเอกชนหรือปจเจกชนทั้งหลายดวยในอันที่จะตองไมกระทําการใดๆ อันเปนการละเมิดสิทธิเหลานี้ของ
บุคคลคนหนึ่ง
นอกจากนั้น ตามมาตรา 22 แหงพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ พ.ศ. 2542
บัญญัติอํานาจหนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ไววา “ในกรณีที่มีการกระทําหรือละเลยการกระทํา
อันเปนการละเมิดสิทธิอยูในศาลหรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคําสั่งเด็ดขาดแลวใหคณะกรรมการมีอํานาจตรวจสอบ
และเสนอมาตรการแกไขตามพระราชบัญญัตินี้” ซึ่งหมายความวา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติมีอํานาจ
ตรวจสอบการกระทําใด ๆ ไมวาจะเกิดจากการกระทําของหนวยงานของรัฐ หรือของเอกชนที่ไดกระทําการ
126 Article 13 Toute personne dont les droits et libertés reconnus dans la présente Convention ont été violés, a droit à l’octroi d’un
recours effectif devant une instance nationale, alors même que la violation aurait été commise par des personnes agissant dans
l’exercice de leurs fonctions officielles.
127 Arrêt Marckx c/Belgique du 13 juin 1979, N° 31de la série A des publications de la Cour, ใน www.coe.int
128 Arrêt X. et Y. c/Pays-Bas du 26 mars 1985, de la série A, N° 91de la série A des publications de la Cour. V. G. COHEN-JONATHAN,
La Convention européenne des droits de l’homme, p. 373.
129 Arrêt Airey du 9 octobre 1979, Volume n° 32 de la série A, p. 17.
78