Page 98 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 98

อันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยตั้งแตฉบับ

               ปพุทธศักราช 2540 เปนตนมา รวมถึงรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย ฉบับปพุทธศักราช 2550 ที่ใชบังคับ
               ในปจจุบันก็ไดบัญญัติถึงศักดิ์ศรีความเปนมนุษย สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลไว โดยเฉพาะสิทธิและเสรีภาพในชีวิต

               และรางกายของบุคคลตองไดรับความคุมครอง

                             ดังนั้น ขอโตแยงเรื่องอํานาจการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติวา การกอตั้ง
               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติเปนไปเพื่อประโยชนในการคุมครองศักดิ์ศรีความเปนมนุษย สิทธิและเสรีภาพ

               ของชนชาวไทยที่รัฐธรรมนูญรับรองไวใหพนจากการใชอํานาจขององคกรของรัฐทุกองคกร แตรัฐธรรมนูญไมไดให
               อํานาจคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ เขามาจัดระเบียบความสัมพันธในทางแพงระหวางเอกชนตอเอกชน

               แตอยางใด จึงเปนขอโตแยงที่ฟงไมไดแตอยางใด


                      3.2.2 กรณีผูพิการถูกปฏิเสธจากสถาบันการเงินผูใหบริการบัตรเครดิตในการขอสมัครใชบัตรเครดิต

               โดยใหเหตุผลวาผูพิการไมสามารถกระทําตามขั้นตอนการใหขอมูลเกี่ยวกับสถานภาพบุคคลและสถานภาพ
               ทางการเงินของบุคคลตามที่ทางสถาบันการเงินกําหนดไวได

                             โดยปกติเมื่อมีการยื่นขอสมัครใชบัตรเครดิต ทางสถาบันการเงินผูใหบริการก็จะใหมีการกรอก

               รายละเอียดเกี่ยวกับสถานภาพและสถานะทางการเงินของผูสมัคร หรือจัดเจาหนาที่เพื่อโทรศัพทไปสอบถาม
               รายละเอียด แตกรณีผูขอสมัครเปนผูพิการทางสายตาหรือเปนผูพิการทางการไดยินซึ่งไมสามารถปฏิบัติตาม

               หลักเกณฑดังกลาวได สถาบันการเงินจึงใชเหตุผลดังกลาวในการปฏิเสธไมใหผูพิการใชบัตรเครดิต ทั้งที่สถานะ
               ทางการเงินของผูพิการนั้นก็เปนไปตามเกณฑที่ทางสถาบันการเงินกําหนดวาสามารถขอสมัครสมาชิกบัตรเครดิตได

                             จากกรณีศึกษาดังกลาว คณะผูศึกษาวิจัยเห็นวา เมื่อพิจารณาจากกฎหมายและหลักสากล

               ที่เกี่ยวของกับสิทธิของคนพิการแลว มีหลักเกณฑที่เกี่ยวของที่สามารถจําแนกออกไดเปน 3 ประเภท ไดแก
                             (1) หลักการสากลที่ใหการรับรองและคุมครองสิทธิมนุษยชนของคนพิการ

                             (2) การใหการรับรองและคุมครองสิทธิของคนพิการตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
               พุทธศักราช 2550

                             (3)  หลักการเคารพสิทธิมนุษยชนตามแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบตอสังคมของธุรกิจ (CSR)

               ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
                                1)  หลักสากลที่ใหการรับรองและคุมครองสิทธิมนุษยชนของคนพิการ

                                    (1) กฎมาตรฐานวาดวยการสรางความเสมอภาคทางโอกาสใหแกคนพิการของ

               องคการสหประชาชาติ พ.ศ. 2537 ไดกําหนดหลักเกณฑที่เกี่ยวของกับกรณีดังกลาวไวในหมวดการสราง
               ความเสมอภาคทางโอกาสใหแกคนพิการ (ขอ 24-27) ซึ่งมีสาระสําคัญสรุปไดวา

                                     - คําวา “การสรางความเสมอภาคทางโอกาสใหแกคนพิการ” หมายความถึง

               กระบวนการที่ทําใหระบบตาง ๆ ของสังคมและสิ่งแวดลอม เปนตนวา บริการ กิจกรรม ขอมูลขาวสารและ
               เอกสารตาง ๆ ไดรับการจัดทําขึ้นสําหรับประชาชนทุกคน โดยเฉพาะอยางยิ่งคนพิการ







                                                                                                               79
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103