Page 94 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 94
ใหมีการดําเนินการตามมาตรการแกไขดังกลาว รวมไปถึงกรณีที่เอกชนกระทําการละเมิดตอเอกชนดวยกันเองดวย
เนื่องจากวาหากมีกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น ไมวาจะเปนกรณีหนวยงานของรัฐเปนผูกระทําละเมิดตอ
เอกชนหรือเอกชนกระทําละเมิดตอเอกชนดวยกัน ในทุกกรณีก็ยอมจะมีหนวยงานของรัฐที่มีหนาที่รับผิดชอบ
โดยตรงในการดําเนินการบังคับใหเปนไปตามรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติเสมอ เชน กรณีที่มี
การละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกันเกี่ยวกับขอพิพาททางแรงงาน ก็จะมีหนวยงาน
ในสังกัดกระทรวงแรงงานฯ เปนหนวยงานที่มีหนาที่รับผิดชอบ เปนตน ซึ่งนายกรัฐมนตรีในฐานะเปนผูกํากับดูแล
หนวยงานของรัฐจึงสามารถใชอํานาจในการสั่งการใหหนวยงานที่เกี่ยวของดูแลและบังคับใหเอกชนผูกระทํา
ละเมิดดังกลาวดําเนินการบังคับใหเปนไปตามความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติไดเชนกัน
เกี่ยวกับประเด็นดังกลาว เมื่อไดศึกษาจากประสบการณขององคกรที่ทําหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชน
ของตางประเทศตามที่ไดกลาวมาแลวในบทที่ 2 คณะผูศึกษาวิจัยพบวา ในการทําหนาที่ตรวจสอบการทํางาน
ที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจาหนาที่ในหนวยงานของรัฐของตางประเทศจะมีการประสานงานกัน
เปนอยางดี เนื่องจากมีกฎหมายที่ระบุอํานาจหนาที่ไวเปนหลักประกันความรวมมือระหวางเจาหนาที่ของ
คณะกรรมการฯ และเจาหนาที่ของหนวยงานของรัฐ แตถาเปนกรณีการตรวจสอบเชิงนโยบาย ก็จะใชวิธีการ
จัดประชุมทั้งรูปแบบที่เปนทางการและไมเปนทางการ และหากมีกรณีเรื่องที่ตองมีการเยียวยาความเสียหาย
ถามีหนวยงานหลักที่รับผิดชอบในประเด็นที่มีการละเมิดสิทธิ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติก็จะสงใหหนวยงาน
ที่มีหนาที่รับผิดชอบโดยตรงนั้นรับไปดําเนินการ เชน ประเด็นเรื่องสุขภาพ ก็จะสงใหกระทรวงสาธารณสุข เปนตน
นอกจากนี้ ก็จะมีการเยียวยาในรูปแบบอื่นๆ อีก ไดแก การสงประเด็นแหงคดีไปใหตํารวจสอบสวน หรือการสงให
อัยการฟองรอง รวมทั้งการใหหนวยงานโดยตรงเขามาชวยเหลือหรือลงโทษผูกระทําการละเมิด การจัดฝกอบรม
ใหความรูแกเจาหนาที่ของรัฐภายในหนวยงาน เปนตน สําหรับการเยียวยาที่เปนตัวเงิน โดยหลักการจะไมใชอํานาจ
เจาหนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ โดยคณะกรรมการฯ จะใหคําแนะนําไปยังผูกระทําละเมิด
ใหเปนผูจายเงินใหกับเหยื่อ หรือใหสมาคมกฎหมายใหความชวยเหลือฟองรองเรียกคาเสียหาย
นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาอํานาจขององคกรที่ทําหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชนแลว จะทําใหเห็นถึง
ธรรมชาติของการเปนองคกรกึ่งตุลาการ ซึ่งมีอํานาจไกลเกลี่ยชี้ขาดใหเกิดขอยุติปญหาในระดับหนึ่ง แตก็มิใช
มีอํานาจตุลาการที่จะตัดสินปญหาและบังคับการลงโทษไดเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในตัวเอง หากแตเปนเพียงองคกรให
คําปรึกษา คําแนะนํา หรือขอเสนอแนะแกฝายนิติบัญญัติและฝายบริหารเกี่ยวกับการสงเสริมและคุมครอง
สิทธิมนุษยชน ซึ่งอํานาจสวนนี้ขององคกรที่ทําหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชนโดยทั่วไปมักจํากัดขอบอํานาจไวในระดับหนึ่ง
เพื่อมิใหเกิดการซอนทับอํานาจขององคกรที่อาจเกิดขึ้นได โดยเฉพาะอํานาจของฝายตุลาการโดยตรง เหตุที่ตอง
ใหองคกรศาลเปนองคกรที่ทําหนาที่ในการใชอํานาจตุลาการในการตรวจสอบก็เนื่องมาจากการตรวจสอบโดย
องคกรศาลนั้นเปนระบบที่ไดรับการยอมรับวาเปนระบบที่ใหหลักประกันแกประชาชนไดดีกวาระบบอื่น ๆ
โดยมีเหตุผลสนับสนุนดังนี้ ไดแก 124
124 วรพจน วิศรุตพิชญ,อางแลว เชิงอรรถที่ , น. 56.
75