Page 90 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 90

บทที่ 3




                บทวิเคราะหปญหาเกี่ยวกับอํานาจหนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ

                             ในการตรวจสอบการกระทําอันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชน


                                        ในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกัน




                      จากที่กลาวมาแลววาสิทธิมนุษยชนมีความผูกพันตอเอกชนดวยกันดวยในการที่จะไมกระทําการใด ๆ ที่เปน

               การละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งกันและกัน ดังนั้น รัฐจึงมีหนาที่ตองใหความคุมครองสิทธิมนุษยชนของบุคคลซึ่งอาจ
               เกิดจากการละเมิดของหนวยงานหรือเจาหนาที่ของรัฐและการละเมิดระหวางเอกชนดวยกันเอง แตการที่รัฐโดย

               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ซึ่งเปนองคกรที่มีอํานาจในการสงเสริมคุมครองสิทธิมนุษยชนเปนการเฉพาะ
               จะมีอํานาจเขาไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกันดังกลาวไดนั้น จะตอง

               มีการรับรองอํานาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติไวในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยชัดเจน เนื่องจาก

               การที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติเขาไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวาง
               เอกชนดวยกัน มีลักษณะเปนการจํากัดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของบุคคล ซึ่งจะกระทําไดเฉพาะกรณี

               ที่มีกฎหมายใหอํานาจไวเทานั้น
                      อยางไรก็ตาม ปรากฏขอเท็จจริงวามีเรื่องรองเรียนหลาย ๆ เรื่องที่เสนอมายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

               แหงชาติ เพื่อใหพิจารณาตรวจสอบวาการกระทําตามเรื่องรองเรียนเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม เปนเรื่อง

               เกี่ยวกับการกระทําของเอกชนตอเอกชนดวยกัน และมีการตั้งประเด็นปญหาเกี่ยวกับอํานาจหนาที่ของ
               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติวา คณะกรรมการฯ มีอํานาจหนาที่ตรวจสอบการกระทําในความสัมพันธ

               ระหวางเอกชนดวยกันหรือไม อันเปนปญหาเกี่ยวกับความรูความเขาใจของประชาชนทั่วไปตออํานาจหนาที่

               และการปฏิบัติหนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ และเปนปญหาพื้นฐานที่มีความสําคัญอยางยิ่งตอ
               ขอบเขตของการปฏิบัติหนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติในการสงเสริมและคุมครองสิทธิมนุษยชนแก

               บุคคลทั่วไปตามเจตนารมณของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติคณะกรรมการ

               สิทธิมนุษยชนแหงชาติ พ.ศ. 2542 จึงจําเปนที่จะตองมีการศึกษาวิเคราะหปญหาเกี่ยวกับอํานาจหนาที่ของ
               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติในการตรวจสอบการกระทําอันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ

               ระหวางเอกชนดวยกัน ใหเกิดความชัดเจน
                      โดยคณะผูวิจัยจะไดนําขอเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามเรื่องรองเรียนตาง ๆ ดังกลาวมาใชเปนฐานในการวิเคราะห

               ปญหาเกี่ยวกับขอบเขตอํานาจหนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติในการตรวจสอบการละเมิด

               สิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกัน และนําผลการศึกษาที่ไดมาจัดทําขอเสนอแนวทางในการแกไขปญหา
               ดังกลาวตอไป เพื่อใหประชาชนเกิดความเขาใจที่ถูกตองตรงกันเกี่ยวกับขอบเขตอํานาจหนาที่ของคณะกรรมการ

               สิทธิมนุษยชนแหงชาติ ตลอดจนผลของการปฏิบัติหนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติดวย





                                                                                                               71
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95