Page 79 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 79

ตัวอยางเชน คําพิพากษาฎีกาที่ 3699 - 3739/2541 ซึ่งเปนกรณีที่ศาลฎีกาหยิบยกบทบัญญัติ

              เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพตามมาตรา 38 ของรัฐธรรมนูญใชตัดสินในคดีโดยตรง ซึ่งมีประเด็นวาการใชสิทธิเสรีภาพ
              ในการนับถือศาสนาของสมณะพิสุทโธเปนการใชสิทธิเสรีภาพที่ขัดตอกฎหมายหรือไม โดยศาลฎีกาตัดสินวา “แม

              รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 38 จะบัญญัติให บุคคลยอมมีเสรีภาพบริบูรณ

              ในการนับถือศาสนา มีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ แตก็ไดบัญญัติแสดงความมุงหมายไวดวยวา การใช
              เสรีภาพดังกลาวจะตองไมเปนปฏิปกษตอหนาที่พลเมือง และไมเปนการขัดตอความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรม

              อันดีของประชาชน แมวาจําเลยจะมีสิทธิเสรีภาพดังกลาว แตการที่จําเลยขอลาออกจากการปกครองของมหาเถร
              สมาคมและแยกตัวมาตั้งพุทธสถานสันติอโศก โดยวางกฎระเบียบตาง ๆ และพยายามปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย

              ก็ตาม แตก็เปนการกระทําที่ฝาฝนพระราชบัญญัติคณะสงฆ พ.ศ.2505 ที่บัญญัติขึ้นโดยชอบดวยรัฐธรรมนูญ

              เพื่อใหการปกครองคณะสงฆเปนไปดวยความเรียบรอย ปองกันมิใหบุคคลผูมีเจตนาไมสุจริตอาศัยรมเงาพระพุทธ
              ศาสนามาหาประโยชนใสตน ดังนั้นจําเลยจึงตองปฏิบัติตามกฎหมายดังกลาว” การกระทําที่ฝาฝนพระราชบัญญัติ

              คณะสงฆของจําเลยในกรณีนี้จึงมีลักษณะเปนการใชสิทธิและเสรีภาพเกินขอบเขตที่บทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญให

              ความคุมครอง
                               นอกจากนี้ ยังมีกรณีศาลฎีกาหยิบยกบทบัญญัติในเรื่องสิทธิและเสรีภาพมาใชตีความบทบัญญัติ

              กฎหมายที่ใชบังคับแกคดี เชน ในคําพิพากษาฎีกาที่ 1493/2543 เรื่องนี้ศาลฎีกาตัดสินวา “พระราชบัญญัติ

              การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 มาตรา 21(9) ที่บัญญัติถึงการเปนบุคคลตองหามมิใหใชสิทธิสมัคร
              รับเลือกตั้งวา  “...ตองคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบดวยกฎหมายใหจําคุก และถูกคุมขังอยูโดยหมายของศาล หรือ

              โดยคําสั่งนั้น”  เปนบทบัญญัติที่ตัดสิทธิของบุคคล จึงตองตีความในทางรักษาสิทธิของผูตองถูกตัดสิทธิ โดยคํานึง
              ถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 33 วรรคสองที่บัญญัติวา “กอนมี

              คําพิพากษาถึงที่สุดแสดงวาบุคคลใดไดกระทําความผิด จะปฏิบัติตอบุคคลนั้นเสมือนเปนผูกระทําผิดมิได” การที่

              ผูคัดคานถูกพิพากษาใหจําคุกโดยศาลชั้นตน ซึ่งคดียังไมถึงที่สุด ผูคัดคานจึงยังไมพนจากตําแหนงกรรมการ
              สุขาภิบาลตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 (4)” คําพิพากษานี้จึงเปนตัวอยางของการใช

              หลักการแหงสิทธิเสรีภาพที่เกี่ยวกับการคุมครองสิทธิเสรีภาพสวนบุคคลมาใชตีความพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง
              สมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 เปนตน

                               (2)  การคุมครองสิทธิและเสรีภาพโดยศาลปกครอง

                                   การที่ประชาชนจะนําคดีที่เกี่ยวพันกับสิทธิและเสรีภาพขึ้นสูการพิจารณาของศาล
              ปกครองไดนั้น นอกจากจะตองเปนไปตามหลักเกณฑของมาตรา 223 ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย

              พุทธศักราช 2550 กลาวคือ คดีดังกลาวจะตองเปนคดีปกครอง อันไดแก คดีที่อันเปนขอพิพาทระหวางหนวยงานของรัฐ

              หรือเจาหนาที่ของรัฐกับเอกชน หรือเปนขอพิพาทระหวางหนวยงานของรัฐหรือเจาหนาที่ของรัฐดวยกันเองแลว
              ยังตองเปนไปตามหลักเกณฑของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

              โดยในมาตรา 9 แหงพระราชบัญญัติดังกลาวกําหนดประเภทของคดีปกครองที่สามารถนําเสนอตอศาลปกครอง

              อันนําไปสูชองทางที่จะสามารถหยิบยกบทบัญญัติในเรื่องสิทธิและเสรีภาพมาใชในการพิจารณาตัดสินคดี
              ซึ่งมีดวยกันทั้งหมด 6 ประเภท คือ



          60
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84