Page 78 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 78
โดยกรมคุมครองสิทธิและเสรีภาพมีอํานาจหนาที่และภารกิจเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชนพึงไดรับตามกฎหมาย ทําหนาที่จัดระบบการบริหารจัดการสงเสริมและพัฒนาดานการคุมครองสิทธิและ
เสรีภาพของประชาชน โดยสงเสริมและสนับสนุนใหประชาชนมีความรูเกี่ยวกับการคุมครองสิทธิเสรีภาพ นอกจากนี้
ยังทําหนาที่พัฒนาระบบและหามาตรการดําเนินการชวยเหลือประชาชนที่ตกเปนเหยื่ออาชญากรรม รวมทั้ง
ดําเนินการชวยเหลือทางการเงินแกผูเสียหายและจําเลยในคดีอาญา ซึ่งมิไดเปนผูกระทําความผิดตามกฎหมายวาดวย
คาตอบแทนผูเสียหายและคาทดแทนและคาใชจายแกจําเลยในคดีอาญา ทําหนาที่สงเสริมและพัฒนาการระงับ
ขอพิพาทในสังคม ดําเนินการคุมครองพยานตามกฎหมายวาดวยการคุมครองพยานในคดีอาญา ประสานงานคุมครอง
สิทธิและเสรีภาพกับภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและตางประเทศ รวมทั้งติดตามและประเมินการดําเนินการ
ดานคุมครองสิทธิและเสรีภาพ เปนตน 117
3) องคกรในฝายตุลาการ
สําหรับการพิจารณาองคกรในฝายตุลาการที่ทําหนาที่คุมครองสิทธิและเสรีภาพแก
ประชาชนนั้นอาจแยกพิจารณาออกเปน การคุมครองสิทธิและเสรีภาพโดยศาลยุติธรรม การคุมครองสิทธิและ
เสรีภาพโดยศาลปกครอง และการคุมครองสิทธิและเสรีภาพโดยศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้
(1) การคุมครองสิทธิและเสรีภาพโดยศาลยุติธรรม
ในมาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญไดกําหนดเขตอํานาจของศาลยุติธรรมไว
โดยบัญญัติวา “ศาลยุติธรรมมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เวนแตคดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติ
ใหอยูในอํานาจศาลอื่น” ประกอบกับมาตรา 28 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ บัญญัติวา “บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิ
และเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไวสามารถยกบทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใชสิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเปน
ขอตอสูคดีในศาลได” จากบทบัญญัติสองมาตรานี้แสดงถึงเขตอํานาจของศาลยุติธรรมในการทําหนาที่ตัดสินคดี
กรณีที่บุคคลผูถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพยกขึ้นตอสูในคดีทั่วไปที่มิไดอยูในเขตอํานาจของศาลอื่น อันไดแก
ศาลปกครอง ศาลทหาร และศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเกิดกรณีขอพิพาทจนมีการฟองรองคดีมายังศาลยุติธรรมและ
คูความไดยกบทบัญญัติในเรื่องสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองขึ้นเปนขอตอสู ศาลยุติธรรมยอมมีหนาที่
ในการนําบทบัญญัติแหงกฎหมายในเรื่องดังกลาวมาใชในการตัดสินขอเท็จจริงวามีกรณีการละเมิดสิทธิและ
เสรีภาพของคูความเกิดขึ้นหรือไม
นอกจากนี้แลว ในกรณีที่บทบัญญัติแหงกฎหมายที่ศาลใชในการตัดสินคดี
มีลักษณะตองดวยบทบัญญัติมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ กรณีนี้หากศาลเห็นเองหรือคูความโตแยงวากฎหมาย
ฉบับนั้นขัดหรือแยงกับรัฐธรรมนูญและยังไมเคยมีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในสวนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ๆ
มากอน ศาลที่กําลังพิจารณาคดีตองรอการพิจารณาพิพากษาคดีไวชั่วคราวแลวอาศัยอํานาจตามมาตรา 211 ของ
รัฐธรรมนูญ สงความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตัดสินวาบทบัญญัติของกฎหมายดังกลาวขัดหรือแยงกับ
รัฐธรรมนูญหรือไม กรณีนี้จึงหมายความรวมถึงกรณีที่บทบัญญัติแหงกฎหมายขัดหรือแยงกับสิทธิและเสรีภาพ
ที่รัฐธรรมนูญรับรองไวดวยเชนกัน
117 กุลพล พลวัน, สิทธิมนุษยชนในสังคมโลก, (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพนิติธรรม, 2547), น. 196 - 199.
59