Page 76 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 76
สิทธิและเสรีภาพนั้นไมได นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนั้นตองมีผลใชบังคับเปนการทั่วไป หรือตองระบุบทบัญญัติแหง
114
รัฐธรรมนูญที่ใหอํานาจในการตรากฎหมายนั้นดวย ทั้งนี้เปนไปตามมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งองคกรภายใน
ฝายนิติบัญญัติซึ่งทําหนาที่ตรวจสอบวาบทบัญญัติแหงกฎหมายมีลักษณะตองหามตามมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญ
115
หรือไม ไดแก คณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ซึ่งเปนหนึ่งในคณะกรรมาธิการสามัญ (Standing
Committee) ของสภาผูแทนราษฎรที่กอตั้งขึ้นในป พ.ศ. 2533 ภายใตรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
โดยคณะกรรมาธิการชุดนี้มีอํานาจหนาที่กวางขวางทั้งการพิจารณารางกฎหมายหรือศึกษากฎหมายที่มีขอความ
ขัดหรือแยงกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หรือมีขอความขัดหรือแยงกับสิทธิมนุษยชน ทําหนาที่ศึกษาปญหา
สิทธิมนุษยชนทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ ศึกษารับฟงการรองทุกขของบุคคลที่ไดรับการปฏิบัติที่ขัดตอ
กฎหมายและสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ โดยมีอํานาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด ๆ หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงขอเท็จจริง
หรือแสดงความคิดเห็นได
อยางไรก็ดี แมวาคณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนของสภาผูแทนราษฎรจะมีบทบาท
ระดับหนึ่งในการแกไขปญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ตาม แตคณะกรรมาธิการชุดนี้ก็มีจุดออนในการทํางาน
หลายประการ เชน ปญหาเกี่ยวกับระยะเวลาของการทํางานซึ่งไมมีความตอเนื่องโดยแปรผันไปตามอายุของ
สภาผูแทนราษฎร ปญหาเกี่ยวกับอํานาจในการเรียกตัวบุคคลมาชี้แจงซึ่งมีอยูอยางจํากัด ปญหาการขาดกลไก
สภาพบังคับเพราะมีอํานาจเพียงทํารายงานตอสภาเทานั้น นอกจากนี้ยังมีประเด็นเกี่ยวกับการขาดความเปนอิสระ
และขาดความเปนกลางในการทํางาน เนื่องจากองคประกอบของคณะกรรมาธิการชุดนี้มีที่มาจากสมาชิก
สภาผูแทนราษฎรซึ่งสังกัดพรรคการเมืองตาง ๆ ทําใหมีผลประโยชนทางการเมืองเขามาเกี่ยวของ จากขอบกพรอง
ดังกลาว ทําใหเกิดการผลักดันแนวคิดในการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติในเวลาตอมา
116
2) องคกรในฝายบริหาร
สําหรับองคกรที่ทําหนาที่คุมครองสิทธิและเสรีภาพในฝายบริหารที่มีบทบาทสําคัญ ไดแก
สํานักงานคุมครองสิทธิและชวยเหลือทางกฎหมายของประชาชน สํานักงานอัยการสูงสุด และกรมคุมครองสิทธิ
และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
114 มาตรา 29 การจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไวจะกระทํามิได เวนแตโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมาย เฉพาะ
เพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กําหนดไวและเทาที่จําเปนเทานั้น และจะกระทบกระเทือนสาระสําคัญแหงสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได
กฎหมายตามวรรคหนึ่งตองมีผลใชบังคับเปนการทั่วไปและไมมุงหมายใหใชบังคับแกกรณีใดกรณีหนึ่งหรือแกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเปนการเจาะจง ทั้งตอง
ระบุบทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญที่ใหอํานาจในการตรากฎหมายนั้นดวย
บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสองใหนํามาใชบังคับกับกฎหรือขอบังคับที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมายดวย โดยอนุโลม
115 มีขอสังเกตวา บทบัญญัติแหงกฎหมายที่ละเมิดตอหลักการตามมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญยอมเปนเงื่อนไขที่นําไปสูการถูกควบคุมตรวจสอบความชอบ
ดวยรัฐธรรมนูญของกฎหมายโดยศาลรัฐธรรมนูญอีกดวย โดยศาลรัฐธรรมนูญจะเปนองคกรผูมีอํานาจในการตรวจสอบวา กฎหมายที่ออกโดย
ฝายนิติบัญญัตินั้นละเมิดขอจํากัดในทางรูปแบบและขอจํากัดในทางเนื้อหาหรือไม อยางไรก็ดี การตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญยอมมีขอบเขต
เชนกัน โดยทั่วไปแลว ศาลรัฐธรรมนูญมักจะไมกาวลวงเขาไปในแดนที่เปนอิสระของฝายนิติบัญญัติ เพราะฝายนิติบัญญัติยอมมีอิสระในการบัญญัติ
กฎหมายเพื่อประโยชนมหาชน และเพื่อใหบรรลุซึ่งผลประโยชนมหาชน ฝายนิติบัญญัติจึงมีความชอบธรรมที่จะตรากฎหมายจํากัดสิทธิและ
เสรีภาพได ศาลรัฐธรรมนูญจะเขามาตรวจสอบความชอบดวยรัฐธรรมนูญของกฎหมายเหลานี้ในกรณีที่ขัดกับความสมเหตุสมผลอยางชัดแจงเทานั้น
116 จรัญ โฆษณานันท, สิทธิมนุษยชนไรพรมแดน ปรัชญา กฎหมาย และความเปนจริงในสังคม, (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพนิติธรรม, 2545), น. 520 - 521.
57