Page 62 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 62
บทที่ 2
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกันของไทยและตางประเทศ
ภายหลังจากการประกาศปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 ซึ่งเปน
ผลของการนําแนวความคิดในทางปรัชญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยมาบัญญัติในเอกสารเพื่อใหเปนมาตรฐานสากล
เดียวกัน นับแตนั้นเปนตนมา สิทธิของมนุษยไดทวีความสําคัญมากขึ้นตามลําดับ จนกลาวไดวาเปนหนาที่ของ
ประเทศตาง ๆ ที่จะตองรวมมือกันหาทางคุมครองสิทธิมนุษยชนใหดีที่สุด พัฒนาการสูงสุดของความรวมมือกัน
เพื่อคุมครองสิทธิมนุษยชนของประเทศตาง ๆ ที่เกิดขึ้นในเวทีระดับโลกคือ การยกระดับความสําคัญของ
สิทธิเอกชน (Individual Rights) ใหเปนสิทธิระหวางประเทศ (International Rights) ซึ่งหมายความวา ในกรณี
ที่รัฐกระทําการใดอันเปนการละเมิดสิทธิของปจเจกบุคคลแลว ปจเจกบุคคลอาจเปนผูเสียหายตามกฎหมาย
ระหวางประเทศและสามารถยื่นคํารองเรียนตอองคกรซึ่งทําหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชนระหวางประเทศได
จะเห็นวาการกําหนดหลักเกณฑใหปจเจกชนในฐานะผูเสียหายสามารถยื่นคํารองขอตอศาลไดนั้น ถือเปนขอยกเวน
ของหลักทั่วไปในกฎหมายระหวางประเทศที่กําหนดวารัฐและองคการระหวางประเทศเทานั้นที่เปนผูทรงสิทธิ
ตามกฎหมายระหวางประเทศ สวนสิทธิ หนาที่และความรับผิดของบุคคลธรรมดาในทางระหวางประเทศนั้น
จะแสดงออกโดยผานรัฐซึ่งเปนเจาของสัญชาติของบุคคลดังกลาว นอกจากนี้ การกระทําละเมิดของรัฐดังกลาว
94
อาจถือเปนการกระทบกระเทือนสิทธิของรัฐอื่น ๆ และทําใหรัฐเหลานั้นมีสิทธิรวมมือกันดําเนินมาตรการที่เหมาะสม
เพื่อยุติการกระทํานั้น ๆ ไดอีกดวย กลาวไดวา ปจจุบันกระแสเรื่องสิทธิมนุษยชนไดทวีความสําคัญมากยิ่งขึ้นจนนํา
มาสูการกอตั้งสถาบันและองคกรตาง ๆ ทั้งในระดับระหวางประเทศและระดับภูมิภาคขึ้นเพื่อเปนกลไกสําคัญ
ในการทําหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชนโดยมุงหมายใหการคุมครองสิทธิมนุษยชนมีผลในทางปฏิบัติไดอยางแทจริง
และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในบทนี้ คณะผูศึกษาวิจัยไดแบงหัวขอการศึกษาออกเปน 3 ขอ ไดแก
(1) บทบาทและอํานาจหนาที่ขององคกรที่ทําหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค
(2) บทบาทและอํานาจหนาที่ขององคกรที่ทําหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชนในระดับประเทศ และ
(3) บทสรุปวิเคราะหเปรียบเทียบเกี่ยวกับขอบเขตอํานาจหนาที่ขององคกรที่ทําหนาที่คุมครอง
สิทธิมนุษยชน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 บทบาทและอํานาจหนาที่ขององคกรที่ทําหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค
2.1.1 บทบาทและอํานาจหนาที่ขององคกรที่ทําหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรป
จุดเริ่มตนของระบบการคุมครองสิทธิมนุษยชนในแถบทวีปยุโรปสืบเนื่องจากรัฐตาง ๆ ในภูมิภาค
ยุโรปเกิดความเกรงกลัวตอลัทธิคอมมิวนิสตที่กําลังคุกคามตอสิทธิขั้นพื้นฐานและเสรีภาพทางการเมืองของ
ประชาชน จึงมีความพยายามรวมมือกันในระดับภูมิภาค (regional) เพื่อกอตั้งองคการระหวางประเทศที่เรียกวา
94 จุมพต สายสุนทร, กฎหมายระหวางประเทศเลม 1, พิมพครั้งที่ 7 (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพวิญูชน, 2550), น. 227.
43