Page 66 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 66
- อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนอเมริกัน ค.ศ. 1969 (American Convention on Human Rights)
ซึ่งมีผลใชบังคับตั้งแตป ค.ศ.1978 โดยสาระสําคัญของอนุสัญญาฉบับนี้ประกอบดวย 2 สวน คือ
สวนที่หนึ่ง เปนการรับรองสิทธิและเสรีภาพที่สําคัญ 26 ประการ ซึ่งมีความใกลเคียงกับกติกา
ระหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและการเมือง หากตางกันตรงที่อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนอเมริกันมีบทบัญญัติ
เกี่ยวกับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมอยูในตัวเอง อยางไรก็ดี ในสวนของการรับรองสิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม นั้นมีกลาวไวเพียงมาตราเดียวคือ มาตรา 26 ซึ่งวางหลักไวอยางกวาง ๆ วา “รัฐภาคียินยอม
รับรองมาตรการตาง ๆ ทั้งระดับภายในประเทศและผานความรวมมือกันในระดับระหวางประเทศ โดยเฉพาะ
ในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและเทคนิคดวยความคิดที่มุงบรรลุผลสําเร็จอันกาวหนาโดยอาศัยการนิติบัญญัติหรือ
กลไกอื่น ๆ ตอการไดมาอยางสมบูรณของสิทธิตาง ๆ ทางดานเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วิทยาศาสตร และ
วัฒนธรรม ดังมีกําหนดมาตรฐานไวในกฎบัตรขององคการแหงรัฐอเมริกัน ซึ่งมีการแกไขโดยพิธีสารบูโนสไอเรส
(Protocal of Buenos Aires)” 101
สวนที่สอง เปนการกําหนดกลไกในการใหความคุมครองสิทธิมนุษยชน ไดแก คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนระหวางอเมริกันและศาลสิทธิมนุษยชนระหวางอเมริกัน โดยมีศาลสิทธิมนุษยชนแหงยุโรปเปน
ตนแบบสําคัญ
- อนุสัญญาระหวางอเมริกันเพื่อการปองกันและลงโทษการกระทําทารุณกรรม ค.ศ. 1985 ซึ่งมี
ผลใชบังคับตั้งแตป ค.ศ. 1987 โดยอนุสัญญาฉบับนี้จัดทําขึ้น โดยมีวัตถุประสงคเพื่อปองกันการกระทําทารุณกรรม
ซึ่งถือเปนอาชญากรรมระหวางประเทศอันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยางรุนแรง ดังนั้น การกําหนดกฎเกณฑ
เพื่อปองกันและลงโทษการกระทําทารุณกรรมจึงเปนสิ่งจําเปนในแงของการเปนมาตรการเชิงรุกดานการคุมครอง
สิทธิมนุษยชน
- อนุสัญญาวาดวยการปองกัน ลงโทษ และขจัดความรุนแรงตอสตรี ค.ศ. 1995 โดยอนุสัญญา
ฉบับนี้กําหนดใหมีคณะกรรมการระหวางอเมริกันวาดวยเรื่องสตรี (Inter-American Commission on Women)
ซึ่งมีอํานาจหนาที่ในการรับเรื่องรองเรียนและหาทางแกไขโดยประสานความรวมมือกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แหงชาติ โดยบุคคลใด ๆ กลุมบุคคลหรือองคกรพัฒนาเอกชน (NGO) ในรัฐภาคีของอนุสัญญาอาจรองเรียนกรณี
การใชความรุนแรงกับสตรีตอคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติระหวางอเมริกัน ในขณะที่บุคคลซึ่งอาศัยอยูใน
ประเทศที่มิไดใหสัตยาบันตออนุสัญญาอาจติดตอกับคณะกรรมการสตรีเพื่อใหชวยบรรเทาเยียวยาความเสียหาย
ที่ไดรับก็ได
2.1.3 บทบาทและอํานาจหนาที่ขององคกรที่ทําหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชนในทวีปแอฟริกา
ระบบการคุมครองสิทธิมนุษยชนในทวีปแอฟริกาถือกําเนิดขึ้นโดยผลของการจัดตั้ง “องคการแหง
102
เอกภาพของแอฟริกัน (Organization of African Unity : OAU)” ในป ค.ศ. 1963 ซึ่งมีฐานะเปนองคการ
101 Ian Brownlie (Ed), Basic Documents on Human Rights, (Oxford : Clarendon Press), 1994, pp. 506)
102 องคการเอกภาพแอฟริกันมีสมาชิกกวา 50 ชาติ กลาวคือ รัฐที่มีเอกราชทุกรัฐในทวีปแอฟริกา ยกเวนเพียงรัฐเดียว คือ แอฟริกาใต นอกจากนี้แลวก็ยัง
มีขบวนการปลดปลอยตาง ๆ ขึ้นอยูกับองคการเอกภาพแอฟริกา ดังนี้ (1) ขบวนการ แอฟริกันแนชั่นแนลคองเกรส (เอเอ็นซี, ที่แอฟริกาใต) (2) ขบวนการ
เดอะแพนแอฟริกันคองเกรส (ที่แอฟริกาใต) (3) ขบวนการโพลิซาลิโอ (ที่ซาฮาราของสเปน) และ (4) ขบวนการสวาโป-องคการประชาชนแอฟริกาตะวันตก
เฉียงใต (ที่นามิเบีย)
47