Page 67 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 67
ระหวางประเทศโดยกอตั้งขึ้นจากแรงบันดาลในการตอสูเพื่อตอตานระบบอาณานิคม (ตะวันตก) ที่ยึดครอง
ทวีปแอฟริกาในชวงปลายทศวรรษที่ 1950 พรอมกันนั้น ไดมีการลงมติรับรองกฎบัตรแหงแอฟริกันวาดวย
สิทธิของมนุษยและประชาชน ค.ศ. 1963 เพื่อเนนความรวมมือระหวางรัฐ โดยเฉพาะการสงเสริมเอกภาพและ
ความสมานฉันทของรัฐแอฟริกัน รวมทั้งการเคารพตออํานาจอธิปไตยและอิสรภาพของรัฐอันนําไปสูการเนน
ความสําคัญของหลักการไมแทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกดวยกัน และในขณะเดียวกันคําปรารภของกฎบัตร
ดังกลาวยังเนนการเคารพยึดมั่นตอกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชนพรอม ๆ กันดวย
สาระสําคัญของกฎบัตรแหงแอฟริกันฯ ประกอบดวยเนื้อหา 3 สวนสําคัญ คือ
สวนที่ 1 วาดวยเรื่องสิทธิและหนาที่
สวนที่ 2 วาดวยเรื่องมาตรการของการปกปองคุมครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงการกอตั้งและ
การทํางานของคณะกรรมการแหงแอฟริกันวาดวยสิทธิของมนุษยและประชาชน
สวนที่ 3 เปนบททั่วไปในเรื่องการใหสัตยาบัน พิธีสารพิเศษและการแกไขเพิ่มเติม
เมื่อพิจารณากฎบัตรแหงแอฟริกันฯ โดยเปรียบเทียบกับอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนในยุโรปและ
อเมริกัน จะเห็นวากฎบัตรแหงแอฟริกันฯ มีลักษณะเดนเฉพาะตัวทั้งในเรื่องรายการแหงสิทธิที่คุมครอง จุดเนนหนัก
ในเรื่อง “หนาที่” และกลไกในการสงเสริมและคุมครองสิทธิตาง ๆ โดยเฉพาะประเด็นในเรื่องสิทธินั้น ถือวา
กฎบัตรแหงแอฟริกันฯ เปนอนุสัญญาฉบับแรกที่ใหการคุมครองแกสิทธิมนุษยชนทั้ง 3 ยุคสมัย กลาวคือ
(1) คุมครองสิทธิพลเมืองและการเมืองของปจเจกบุคคล
(2) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และ
(3) สิทธิของประชาชนซึ่งจัดเปนสิทธิมนุษยชนในสมัยที่ 3
ซึ่งหมายความรวมถึงสิทธิในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สิทธิในมรดกรวม
ของมนุษยชาติ สิทธิในสันติภาพและความมั่นคง รวมทั้งสิทธิในสิ่งแวดลอมอันพึงปรารถนาที่เกื้อกูลตอการพัฒนา
(มาตรา 23 - 24) ซึ่งในจํานวนสิทธิของประชาชนเหลานี้ “สิทธิในการพัฒนา” ถือเปนสิทธิที่มีความโดดเดน
มากที่สุด เนื่องจากแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งหมดตั้งอยูบนรากฐานทางความคิดจากสิทธิในการพัฒนา โดยถือวา
เปนการบูรณาการทั้งสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งสิทธิพลเมืองและการเมืองทั้งหมดดวย
สวนกลไกซึ่งทําหนาที่ใหความคุมครองสิทธิตามกฎบัตรแหงแอฟริกันฯ มีอยู 2 ลักษณะ ไดแก
ระบบรายงาน และระบบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ซึ่งคลายคลึงกับกลไกในการใหความคุมครองสิทธิ
ในระดับสหประชาชาติ อยางไรก็ดี ภายหลังจากความลมเหลวของการคุมครองในระบบดังกลาว จึงนํามาสูการ
ลงมติในพิธีสารวาดวยกอตั้งศาลสิทธิมนุษยชนและสิทธิประชาชนแหงแอฟริกัน (African Court on Human and
People’ Rights) เมื่อป ค.ศ. 1998 ซึ่งจะมีผลใชบังคับจริงตอเมื่อมีการใหสัตยาบันจากภาคีสมาชิกขององคการ
แหงเอกภาพของแอฟริกัน 15 ประเทศแลวเทานั้น
48