Page 64 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 64

เปนการผสมผสานระหวางหลักการแหงปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชนกับหลักการพิจารณาคดีอยางเปนธรรม

               (Fair Trial) ในกฎหมายคอมมอนลอว (Common Law) ของประเทศอังกฤษ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับหลักการ
               แหงปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชนแลว จะพบวามีความคลายคลึงกันมาก เพียงแตสิทธิที่ระบุไวในอนุสัญญา

               ฉบับนี้มีรายละเอียดมากกวาและมีความชัดเจนมากกวาสิทธิที่ระบุไวปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้

               มีขอสังเกตวาบทบัญญัติในอนุสัญญาฯ มิไดกลาวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม หรือวัฒนธรรมแตอยางใด ซึ่งถือเปน
               ความแตกตางที่สําคัญระหวางอนุสัญญาฯ กับปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน

                             สวนที่สอง เปนบทบัญญัติที่กําหนดกลไกสําคัญในการบังคับการใหเปนไปตามเจตนารมณของ
               อนุสัญญาฉบับนี้ ไดแก การกําหนดใหมีคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน ศาลสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมการ

               รัฐมนตรีแหงสภายุโรป เปนองคกรสําคัญในการทําหนาที่ใหความคุมครองสิทธิมนุษยชนตามที่รับรองไวใน

               อนุสัญญา
                             อาจกลาวไดวา ผลของการจัดทําอนุสัญญาฉบับนี้กอใหเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในระบบ

               กฎหมายระหวางประเทศ เนื่องจากเปนการยอมรับสถานะใหมของปจเจกบุคคลตามกฎหมายระหวางประเทศวา

               อาจเปนผูทรงสิทธิตามกฎหมายระหวางประเทศได ซึ่งวิธีการเชนนี้ทําใหประชาชนชาวยุโรปอยางนอย 150 ลานคน
               รวมทั้งผูที่มิใชชาวยุโรปแตเปนบุคคลที่อยูในความปกครองของรัฐภาคีเหลานี้ไดรับความคุมครองสิทธิตาม

               อนุสัญญาฉบับนี้ดวย

                             ผลสําคัญอีกประการหนึ่งคือ รัฐภาคีมีหนาที่ตองบัญญัติกฎหมายภายในรัฐของตนใหสอดคลองกับ
               บทบัญญัติในอนุสัญญาฯ ตัวอยางเชน รัฐบาลนอรเวยซึ่งไดใหสัตยาบันตออนุสัญญาฯ โดยมีเงื่อนไขทั้งนี้เพราะ

               มาตรา 2 แหงรัฐธรรมนูญนอรเวย ค.ศ. 1814 มีขอความประกาศหามนับถือศาสนานิกายเยซุอิต ซึ่งเปนการขัดตอ
               มาตรา 9 แหงอนุสัญญาฯ ซึ่งรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนา แตภายหลังจากนั้นเปนเวลา 4 ป รัฐบาลนอรเวย

               ไดแสดงเจตนาถอนเงื่อนไขในการใหสัตยาบัน พรอมทั้งมีการแกไขรัฐธรรมนูญนอรเวยใหสอดคลองกับบทบัญญัติ

               ในอนุสัญญาฯ ในเวลาตอมาอีกดวย
                             กฎบัตรทางสังคมของยุโรป ค.ศ. 1961 (The European Social Charter) ไดถือกําเนิดขึ้น

               เนื่องจากอนุสัญญายุโรปฯ มิไดมีบทบัญญัติรับรองและคุมครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม กวาทศวรรษ
               ตอมาสภายุโรปจึงมีมติรับรองกฎบัตรทางสังคมของยุโรปในป ค.ศ. 1961 ซึ่งมีสาระสําคัญในการคุมครองสิทธิ

               ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีผลใชบังคับตั้งแต ป ค.ศ. 1965 หลังจากนั้น ไดมีการแกไขเพิ่มเติมกฎบัตรนี้อีกหลายครั้ง

               จนกระทั่งในป ค.ศ. 1996 จึงมีกฎบัตรทางสังคมของยุโรปฉบับใหมเกิดขึ้นซึ่งมีผลใชบังคับตั้งแตในป ค.ศ. 1999
               ซึ่งสาระสําคัญของกฎบัตรทางสังคมของยุโรปฉบับใหมนี้ อาจจําแนกสิทธิออกไดเปน 3 กลุมคือ

                             กลุมแรก เปนการรับรองและคุมครองสิทธิในการทํางาน สิทธิในเงื่อนไขการทํางานที่เปนธรรม

               สิทธิในเงื่อนไขการทํางานที่ปลอดภัย เสรีภาพในการสมาคม สิทธิในการตอรองรวมกัน สิทธิในดานการประกันสังคม
               สิทธิในโอกาสอันเทาเทียม สิทธิในการรับรูขอมูลขาวสารและในการไดรับคําปรึกษา และสิทธิที่จะไดรับการปกปอง

               คุมครองเปนพิเศษสําหรับคนงานเฉพาะกลุมเด็ก เยาวชน สตรี บุคคลพิการและแรงงานอพยพ

                             กลุมที่สอง เปนการรับรองและคุมครองสิทธิแกประชาชนทั่วไปในการไดรับคําแนะนําฝกหัดอาชีพ
               สิทธิในการมีมาตรฐานทางสุขภาพสูงสุดเทาที่จะเปนไปได สิทธิในการไดรับการสงเคราะหทางสังคมและการแพทย



                                                                                                               45
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69