Page 56 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 56
สถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติในประเทศตาง ๆ มีความเปนเอกภาพและมีประสิทธิภาพในการสงเสริมและ
คุมครองสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ โดยหลักการดังกลาวไดวางบรรทัดฐานเกี่ยวกับสถานะและอํานาจหนาที่
ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแหงชาติไวดังนี้
1) สถานะของสถาบันสิทธิมนุษยชนแหงชาติ หลักการปารีส ไดกลาวถึงแนวทางในการ
จัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนแหงชาติวาควรจัดตั้งสถาบันฯ ที่เปนอิสระและเพื่อใหการดําเนินงานของสถาบันฯ
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สถาบันฯ ตองมีองคประกอบที่สําคัญ 6 ประการ คือ 90
- ความเปนอิสระ (Independence) ในการปฏิบัติหนาที่ มีอํานาจตัดสินใจ
โดยปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาลหรือหนวยงานใด ควรมีการเชื่อมโยงกับรัฐสภาหรือขึ้นตอประมุขของรัฐ
มีการบริหารจัดการที่เปนเอกเทศ มีกฎระเบียบของตนเอง ตั้งงบประมาณไดอยางเพียงพอ แตงตั้งและ
ถอดถอนกรรมการและเจาหนาที่ผูปฏิบัติงานได และตองมีองคประกอบที่หลากหลายและเปนตัวแทนของ
กลุมตาง ๆ ในสังคมอยางแทจริง
- ขอบเขตอํานาจที่อยางชัดเจนและมีอํานาจเพียงพอ (Defined jurisdiction and
adequate powers) กลาวคือ สถาบันฯ จะตองมีภาระหนาที่อยางชัดเจนและเพียงพอในการสงเสริมและคุมครอง
สิทธิมนุษยชนไมเฉพาะตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายจัดตั้งสถาบันฯ เทานั้น หากควรเปนไปตามขอตกลง กติกา
อนุสัญญาระหวางประเทศในระบบของสหประชาชาติและกฎหมาย ที่สําคัญตองไดรับอํานาจทางกฎหมาย
อยางเพียงพอในการสอบสวนคํารองเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน การเรียกเจาหนาที่ของรัฐและ
บุคคลมาใหขอเท็จจริงหรือขอมูล เปนตน
- การเขาถึงไดงาย (Accessibility) สถาบันฯ จะตองเปนสถาบันที่บุคคลและ
คณะบุคคลทุกฝายสามารถเขาถึงไดทันที โดยมีกฎเกณฑและกระบวนการทํางานที่ประชาชนสามารถติดตอยื่น
คํารองเรียนไดอยางสะดวก และรวดเร็ว และมีสํานักงานสาขาทุกภูมิภาคเพื่อรับเรื่องราวรองทุกขไดทั่วประเทศ
- ความรวมมือกับทุกฝาย (Cooperation) สถาบันฯ จะตองยึดหลักการความรวมมือ
กับทุกฝายตั้งแตสหประชาชาติ สถาบันสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคและระดับประเทศ องคการเอกชนหรือองคการ
ที่มิใชของรัฐ ตลอดจนองคการระหวางรัฐบาลที่มีหนาที่สงเสริมและคุมครองสิทธิมนุษยชนและกับองคกรตุลาการ
- ความมีประสิทธิภาพในการดําเนินการ (Operational efficiency) โดยการจัดหา
ทรัพยากรที่เพียงพอ วิธีการทํางานที่ไมเปนแบบราชการ บุคลากรมีความคิดความรูและความเขาใจเรื่อง
สิทธิมนุษยชน ฯลฯ และ
- ความมีเหตุผลอธิบายความรับผิดชอบในการดําเนินงาน (Accountability) กลาวคือ
สถาบันฯ จะตองมีความรับผิดชอบทางดานกฎหมายและดานการเงินตอรัฐบาลและรัฐสภา โดยตองรายงาน
เกี่ยวกับกิจกรรมตาง ๆ ตอรัฐสภาหรือองคกรในลักษณะเดียวกันโดยละเอียด เพื่อพิจารณาและตองเผยแพร
รายงานและใหสาธารณชนตรวจสอบการทํางานของสถาบันไดอยางจริงจัง
90 Center for Human Rights, National Human Rights Institutions : A Handbook on the Establishment and Strengthening of National
Institutions for the Protection and Promotion of Human Rights (Geneva : United Nations, 1995), pp. 10-17. และลัดดาวัลย
ตันติวิทยาพิทักษ และคณะ, รายงานการวิจัยเรื่อง การจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ, (กรุงเทพมหานคร : สํานักงานคณะกรรมการวิจัย
แหงชาติ, 2543) น.28 30. อางถึงใน ภิรมย ศรีประเสริฐ, “ปญหากระบวนการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแหงชาติของประเทศไทย,” (วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2551), น. 29 31.
37