Page 55 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 55

1.3.2  หลักการเกี่ยวกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกัน

              โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                            การละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกเหนือจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐหรือกลุมทางสังคมและ

              การเมืองแลว ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนระหวางเอกชนดวยกันดวย เชน การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกลุมหรือ

              หนวยงานในทางเศรษฐกิจ เชน กรณีนายจางละเมิดสิทธิมนุษยชนลูกจาง หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใน
              ครอบครัว เชน การละเมิดสิทธิเด็กหรือการใชความรุนแรงในครอบครัวในรูปแบบตาง ๆ ตามที่กลาวมาขางตน

              ซึ่งหากพิจารณาในแงของความสัมพันธระหวางบุคคลดังกลาวแลว จะเห็นวาเปนความสัมพันธระหวางเอกชนกับ
              เอกชนตามกฎหมายเอกชน บนพื้นฐานของหลักเจตนาและเสรีภาพในการแสดงเจตนาที่รัฐไมควรเขาไปแทรกแซง

              ในความสัมพันธดังกลาว แตเนื่องจากคูกรณีหรือคูสัญญาอีกฝายหนึ่งตกอยูในฐานะผูที่ดอยกวาหรือตองเสียเปรียบ

              อยูเสมอและฝายที่เหนือกวาหรือที่ไดเปรียบไดกระทําตอผูที่ดอยกวาหรือตองเสียเปรียบในลักษณะเปนการละเมิด
              สิทธิมนุษยชน ดังนั้น รัฐจึงจําเปนตองเขาไปแทรกแซงในความสัมพันธระหวางเอกชนกับเอกชนดังกลาว ทั้งนี้

              เพื่อคุมครองสิทธิมนุษยชนของบุคคลเหลานั้นไมใหถูกละเมิดโดยเอกชนดวยกันเอง

                            การที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติจะเขาไปตรวจสอบการละเมิดและคุมครองสิทธิมนุษยชน
              ในความสัมพันธระหวางเอกชนกับเอกชนดวยกันไดดังกลาว โดยทั่วไปถือหลักวาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

              แหงชาติสามารถกลาวอางสิทธิมนุษยชนตามที่บัญญัติรับรองไวในรัฐธรรมนูญเขาไปตรวจสอบการละเมิด

              สิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกันไดโดยตรง เพราะนอกจากสิทธิมนุษยชนจะมีผลผูกพันโดยตรง
              ตอรัฐแลวยังมีผลผูกพันโดยตรงตอเอกชนในการที่จะไมกระทําการที่เปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งกันและกันดวย

              แตตองมีการบัญญัติรับรองอํานาจในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธดังกลาวโดยองคกร
              ที่มีอํานาจ คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ไวในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากการที่

              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติเขาไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชน

              ดังกลาว มีลักษณะเปนการจํากัดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของบุคคล ดังนั้น จึงตองมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
              ใหอํานาจไวจึงจะกระทําได และในการที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติจะเขาไปตรวจสอบการละเมิด

              สิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชนดังกลาว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติสามารถตรวจสอบ
              ไดเฉพาะในประเด็นที่วามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม สวนในประเด็นอื่นในความสัมพันธนั้น เชน สัญญาหรือ

              ขอตกลงนั้นสมบูรณบังคับไดหรือไม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติไมมีอํานาจตรวจสอบเพราะอยู

              นอกเหนือขอบอํานาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ


                     1.3.3  มาตรฐานสากลเกี่ยวกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชน
              ดวยกันโดยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ


                            จากความพยายามในการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติขององคการสหประชาชาติ
              ทําใหเกิดหลักการวาดวยสถานะและหนาที่ของสถาบันแหงชาติเพื่อการคุมครองและสงเสริมสิทธิมนุษยชนขึ้น

              เรียกวา “หลักการปารีส (Paris Principles)” และหลักการดังกลาวไดกลายเปนแนวทางในการจัดตั้งสถาบัน

              สิทธิมนุษยชนระดับชาติในประเทศตาง ๆ ตามมาและถือวาหลักการปารีสเปนมาตรฐานสากลระหวางประเทศที่จะทําให



          36
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60