Page 51 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 51
บัญญัติ แตผูตรวจการแผนดินที่จัดตั้งขึ้นในระยะหลัง ๆ มักไดรับมอบหมายใหมีหนาที่โดยเฉพาะดานการสงเสริม
และคุมครองสิทธิมนุษยชนดวย และมักจะเปนกรณีที่เกี่ยวของกับสิทธิตามที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญหรือตาม
กฎหมายอื่น ๆ โดยเฉพาะอยางยิ่ง ดานกิจกรรมใหการศึกษาตอสาธารณชนและโปรแกรมขอมูลขาวสารเพื่อการ
เผยแพรดานสิทธิมนุษยชน
- องคกรศาล
องคกรคุมครองสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ นอกจากองคกรสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
และผูตรวจการแผนดินของรัฐสภาแลว องคกรศาลก็ถือเปนองคกรที่มีสวนสําคัญในการคุมครองสิทธิมนุษยชนดวย
เนื่องจากหลักความผูกพันตอสิทธิและเสรีภาพขององคกรของรัฐจะปราศจากความหมาย หากการใชอํานาจ
ขององคกรเหลานั้นไมสามารถควบคุมตรวจสอบไดโดยองคกรตุลาการ หรือเปนไปตามหลักประกันในการคุมครอง
สิทธิในทางศาล (Rechtsschutzgarantie) ซึ่งถือวาเปนสาระสําคัญของการใหความคุมครองสิทธิและเสรีภาพ
86
แกปจเจกบุคคล เพราะการคุมครองหรือหลักประกันทั้งหลายจะปราศจากความหมายหากไมใหสิทธิแก
ปจเจกบุคคลในการโตแยง การกระทําของรัฐ เพื่อใหองคกรศาลซึ่งเปนองคกรที่มีความเปนกลางเขามาควบคุม
ตรวจสอบการกระทําของรัฐที่ถูกโตแยงวาละเมิดตอสิทธิและเสรีภาพของปจเจกบุคคล เชน การตรากฎหมาย
ขององคกรนิติบัญญัติเปนการจํากัดสิทธิและเสรีภาพที่ขัดตอรัฐธรรมนูญหรือไม ยอมถูกตรวจสอบโดยศาล
รัฐธรรมนูญไดไมวาจะเปนการตรวจสอบในรูปแบบใดก็ตาม สวนการใชการตีความของกฎหมายของฝายบริหารและ
ฝายปกครองจะเปนการใชการตีความที่ขัดตอสิทธิและเสรีภาพหรือไมนั้น ยอมอยูภายใตการควบคุมตรวจสอบของ
องคการศาลที่มีอํานาจในเรื่องนั้น ๆ เชน หากเปนกรณีของคําสั่งทางปกครอง โดยทั่วไปแลวยอมอยูในเขตอํานาจ
ของศาลปกครองที่จะควบคุมตรวจสอบ สวนกรณีขององคกรตุลาการหากเปนการใชหรือตีความโดยศาลชั้นตนหรือ
ศาลอุทธรณ ศาลที่อยูในระดับสูงขึ้นไปก็จะทําหนาที่ในการควบคุมตรวจสอบตอไป
เหตุผลที่สนับสนุนวาระบบการการคุมครองสิทธิและเสรีภาพโดยองคกรตุลาการ
หรือศาลเปนการใหหลักประกันแกประชาชนไดดีกวาระบบอื่น ๆ นั้น ไดแก 87
(ก) ศาลหรือองคกรตุลาการมีความเปนอิสระในการปฏิบัติหนาที่ และมีหลักประกัน
ในความเปนอิสระของศาลเพื่อใหศาลวินิจฉัยคดีโดยไมอยูภายใตอิทธิพลใด ๆ ทั้งสิ้น
(ข) เมื่อราษฎรไดยื่นคําฟองอยางถูกตอง ศาลมีหนาที่ตองพิจารณาและพิพากษา
คดีเสมอ จะปฏิเสธไมพิจารณาพิพากษาคดีไมได ดังนั้น ราษฎรจึงไดรับหลักประกันวา “ทุกข” หรือความเดือดรอน
ของตน หากมีอยูจริงจะไดรับการขจัดปดเปาภายในเวลาอันสมควร หลักประกันขอนี้ไมอาจพบไดในการควบคุม
ระบบอื่น ๆ
(ค) วิธีพิจารณาคดีของศาลเปนไปอยางเปดเผย เปดโอกาสใหสาธารณชนเขาฟง
การพิจารณาคดีได และเปดโอกาสใหคูความทั้งสองฝายนําพยานหลักฐานตาง ๆ มาสืบสนับสนุนขออาง ขอเกี่ยวของ
ของตนและหักลางขออาง ขอเถียงของฝายตรงกันขามไดอยางเต็มที่
86 ตัวอยางเชน มาตรา 28 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติวา “...บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้
รับรองไว สามารถยกบทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใชสิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเปนขอตอสูคดีในศาลได”
87 วรพจน วิศรุตพิชญ, ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับศาลปกครอง, (กรุงเทพฯ : วิญูชน, 2544), น. 56.
32