Page 40 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 40

ปจจุบันเปนที่ยอมรับกันทั่วไปในระบบกฎหมายเยอรมันวา หลักนิติรัฐมีองคประกอบ

               ที่สําคัญสองสวนคือ องคประกอบในทางรูปแบบ และองคประกอบในทางเนื้อหา กลาวคือ 69
                                องคประกอบในทางรูปแบบ คือ การที่รัฐผูกพันตนเองไวกับกฎหมายที่องคกรของรัฐ

               ตราขึ้นตามกระบวนการที่รัฐธรรมนูญกําหนดขึ้นหรือที่รัฐธรรมนูญมอบอํานาจไว ทั้งนี้ เพื่อจํากัดอํานาจของรัฐลง

               และเมื่อพิจารณาในทางรูปแบบแลวจะเห็นไดวา หลักนิติรัฐมุงประกันความมั่นคงแนนอนแหงนิติฐานะของบุคคล
               องคประกอบในทางเนื้อหาประกอบไปดวยหลักการยอย ๆ หลายประการที่สําคัญ ไดแก หลักการแบงแยกอํานาจ

               หลักความชอบดวยกฎหมายของการกระทําขององคกรของรัฐ หลักการประกันสิทธิในกระบวนพิจารณาคดี
               ตลอดจนหลักการประกันสิทธิของปจเจกบุคคลในการเขาถึงกระบวนการยุติธรรม

                                องคประกอบในทางเนื้อหา  คือ  การที่รัฐประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของราษฎร

               โดยกําหนดใหบทบัญญัติวาดวยสิทธิเสรีภาพมีคาบังคับในระดับรัฐธรรมนูญคือ มีคาบังคับในระดับสูงสุด ผูกพัน
               อํานาจมหาชนของรัฐทุกอํานาจใหตองเคารพและเรียกรองใหรัฐตองกระทําการโดยยุติธรรมและถูกตอง และเมื่อ

               พิจารณาในทางเนื้อหาแลวนิติรัฐจึงมุงตรงไปยังการรักษาความยุติธรรมในรัฐเอาไวในแงนี้ เราจึงอาจกลาวไดวา

               นิติรัฐมีลักษณะเปน “ยุติธรรมรัฐ” (Gerechtigkeitsstaat) และองคประกอบในทางเนื้อหาของหลักนิติรัฐ
               ประกอบดวยหลักการยอย ดังนี้ หลักการคุมครองความไวเนื้อเชื่อใจที่บุคคลมีตอระบบกฎหมาย หลักการกําหนด

               ใหสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลมีคาบังคับทางกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญและหลักความพอสมควรแกเหตุ

                                จากที่กลาวมาขางตนจึงอาจสรุปไดวา “หลักนิติรัฐ” เปนหลักที่มีความมุงหมายหรือ
               วัตถุประสงคสุดทาย (Ultimate aim) อยูที่การคุมครองสิทธิและเสรีภาพของปจเจกบุคคลจากการใชอํานาจ

               ตามอําเภอใจของรัฐ (Arbitrarily) ในสภาพการณที่รัฐมีขอจํากัด ถูกผูกพันตอกฎหมาย รวมทั้งถูกควบคุมตรวจสอบ
               โดยองคกรตุลาการได ซึ่งมีหลักการที่เปนสาระสําคัญดังนี้ คือ บรรดาการกระทําทั้งหลายขององคกรของรัฐ
                                                                    70
               ฝายบริหารจะตองชอบดวยกฎหมายซึ่งตราขึ้นโดยองคกรของรัฐฝายนิติบัญญัติ บรรดากฎหมายทั้งหลายที่องคกร

               ของรัฐฝายนิติบัญญัติไดตราขึ้นจะตองชอบดวยรัฐธรรมนูญ และการควบคุมไมใหการกระทําขององคกรของรัฐ
               ฝายบริหารขัดตอกฎหมายและการควบคุมไมใหกฎหมายขององคกรของรัฐฝายนิติบัญญัติขัดตอรัฐธรรมนูญ

                                2)  หลักสังคม – นิติรัฐ
                                    หลักสังคม - นิติรัฐ หรือหลักสังคมรัฐ  เสนอโดย Hermann Heller นักกฎหมายมหาชน
                                                                  71
               ผูมีชื่อเสียงชาวเยอรมันตะวันตก เขาไดเสนอหลักการดังกลาวในขอเขียนของเขาชื่อ “นิติรัฐหรือเผด็จการ” โดย

               เสนอวา มีแตตองพัฒนานิติรัฐแบบเสรีดั้งเดิมไปสูสังคม – นิติรัฐ หรือนิติรัฐทางสังคมเทานั้น จึงจะปองกัน
               การเผด็จการได และตามทรรศนะของ Heller หลักสังคม – นิติรัฐ หรือนิติรัฐ ทางสังคม ซึ่งเขาเสนอนั้นมีขอแตกตาง

               จากนิติรัฐแบบเสรีนิยมดั้งเดิม โดยเฉพาะความเขาใจที่แตกตางกันในเรื่องความเสมอภาคในนิติรัฐวามีความ

               เสมอภาคเปนเพียงรูปแบบเทานั้นเอง กลาวคือ ทุกคนเสมอภาคภายใตกฎหมายโดยไมไดพิจารณาวาแตละคน
               อยูในฐานะที่จะใชสิทธิดังกลาวไดหรือไม ในนิติรัฐนั้น ฐานะความเปนอยูของคนในสังคมจะไมไดรับการพิจารณา




               69  วรเจตน ภาคีรัตน, อางแลว  เชิงอรรถที่ 57
               70   วรพจน วิศรุตพิชญ, อางแลว  เชิงอรรถที่ 60, น. 6 - 7.
               71  สมยศ เชื้อไทย,อางแลว  เชิงอรรถที่ 63, น. 132 - 134.

                                                                                                               21
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45