Page 39 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 39
ที่ปกครองตามเจตจํานงโดยรวมที่มีเหตุผลและมีวัตถุประสงคเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสําหรับสังคมเปนการทั่วไป
64
โดยรัฐมีขึ้นเพื่อประโยชนของเอกชนทุกคน อํานาจของรัฐจะมีขอบเขตจํากัดลงเมื่อเกี่ยวของกับสิทธิเสรีภาพ
65
ของเอกชน และจะตองมีองคกรที่เปนกลางกํากับดูแลการที่รัฐตองปฏิบัติตามกฎหมาย ตอมา ความหมายของ
คําวา “นิติรัฐ” ถูกลดขอบเขตความหมายของนิติรัฐในทางเนื้อหากลายเปนนิติรัฐในทางรูปแบบ โดย Friedrich
Julius Stahl ไดอธิบายวา รัฐควรจะเปน “นิติรัฐ” ซึ่งเปนแนวทางในการแกไขปญหาของรัฐและเปนความพยายาม
ที่จะพัฒนารัฐไปสูยุคใหม ดังนั้น รัฐจะตองกําหนดแนวทางและขอบเขตในการทําใหบรรลุความมุงหมายดังกลาว
โดยรัฐจะตองเคารพในขอบเขตสวนบุคคลของปจเจกบุคคลและจะตองใหการรับรองคุมครองขอบเขตสวนบุคคล
โดยกฎหมาย และทําใหเกิดความมั่นคงตอแนวทางดังกลาว นอกจากนั้นรัฐไมควรจะใชอํานาจเหนือของรัฐบังคับ
บุคคลตามแนวจารีตที่เคยปฏิบัติอีกตอไป โดยเฉพาะอยางยิ่งในขอบเขตสวนบุคคล และนี่คือความหมายของ
66
“นิติรัฐ” Gerhard Anschütz อธิบายวา หลักนิติรัฐ คือ การที่ฝายปกครองจะใชอํานาจแทรกแซงเสรีภาพ
ของเอกชนจะกระทําโดยฝาฝนกฎหมายไมไดหรืออีกนัยหนึ่งจะตองมีฐานทางกฎหมายใหใชอํานาจที่จะกระทํา
เชนนั้นได 67
จากความหมายของคําวา “นิติรัฐ” ดังกลาวขางตน จึงอาจกลาวไดวา หลักนิติรัฐ
หมายถึง หลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎรจากการใชอํานาจตามอําเภอใจของรัฐและองคกรตาง ๆ
ของรัฐโดยกฎหมาย กลาวคือ การที่รัฐยอมรับรองและใหความคุมครองสิทธิเสรีภาพของราษฎรไวในรัฐธรรมนูญ
ไมไดหมายความวา รัฐจะยอมใหราษฎรใชสิทธิเสรีภาพของตนกระทําการตาง ๆ ไดโดยปราศจากการแทรกแซงใด ๆ
จากองคกรเจาหนาที่ของรัฐ ๆ รัฐมีผลประโยชนของสวนรวมหรือผลประโยชนสาธารณะ (Public Interest)
ที่จะตองธํารงรักษาไว และเพื่อธํารงรักษาไวซึ่งผลประโยชนของสวนรวมหรือผลประโยชนสาธารณะนี้ ในบางกรณี
รัฐจําเปนตองบังคับใหราษฎรกระทําการหรือละเวนไมกระทําการบางอยาง และการลวงลํ้าเขาไปในแดนแหง
สิทธิเสรีภาพดังกลาวตองมีกฎหมายบัญญัติใหอํานาจกระทําไดไวอยางชัดแจงและภายในขอบเขตที่กฎหมาย
กําหนดไวเทานั้น และเพื่อใหการปกครองโดยหลักนิติรัฐหรือโดยกฎหมายดําเนินไปอยางมีประสิทธิภาพ ในกรณี
ที่ราษฎรผูซึ่งเห็นวาตนถูกองคกรของรัฐลวงละเมิดสิทธิเสรีภาพโดยไมชอบดวยกฎหมาย มีสิทธิโตแยงคัดคาน
การกระทําดังกลาวตอองคกรตุลาการได เพื่อตรวจสอบความชอบดวยกฎหมายของการกระทําขององคกรของรัฐ
และขอใหเพิกถอนการกระทํานั้นเสีย หรือขอใหไมใชการกระทํานั้นบังคับแกกรณีของตน หรือขอใหบังคับให
ฝายปกครองชดใชคาสินไหมทดแทนแกตนแลวแตกรณี ในกรณีที่ศาลเห็นวาการกระทํานั้นไมชอบดวยกฎหมาย
ดังนั้น ในรัฐที่ปกครองโดยหลักนิติรัฐกฎหมายจึงเปนทั้ง “แหลงที่มา (source)” และ “ขอจํากัด (limitation)”
อํานาจกระทําการตางๆ ของรัฐและองคกรของรัฐ ดวยเหตุนี้ จึงมีผูกลาววา “ในรัฐเสรีประชาธิปไตยนั้น
ผูปกครองที่แทจริงคือกฎหมายไมใชมนุษย (Government of laws, not of men)” 68
64 Albert Bleckmann Staatsrech l – Staatsorganisationsrecht, 4. Aufl., Carl Heymanns Verlag 1997, S.188. อางถึงใน บรรเจิด สิงคะเนติ,
หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเปนมนุษยตามรัฐธรรมนูญ, พิมพครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2547), น. 23 - 24.
65 ชัยวัฒน วงศวัฒนศานต, “หลักนิติธรรม (Rule Of Law),” ใน รวมบทความทางวิชาการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปธรรมศาสตราจารยสัญญา
ธรรมศักดิ์, จัดพิมพโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2541 : น. 26.
66 บรรเจิด สิงคะเนติ, อางแลว เชิงอรรถที่ 64, น. 24.
67 ชัยวัฒน วงศวัฒนศานต, อางแลว เชิงอรรถที่ 65, น. 27.
68 วรพจน วิศรุตพิชญ,อางแลว เชิงอรรถที่ 60, น. 70.
20