Page 44 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 44
(1) สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
สิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ไดแก สิทธิตามธรรมชาติที่มีมาแตดั้งเดิม
คือ สิทธิในการดํารงชีวิตเสรีภาพ ทรัพยสิน ความเสมอภาค ความยุติธรรม และการแสวงหาความสุข และสิทธิดังกลาว
76
ปรากฏอยูในปฏิญญาฯ 21 ขอแรก ซึ่งประกอบไปดวย สิทธิในชีวิตเสรีภาพและความมั่นคงแหงรางกาย
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในการไดรับความคุมครองจากรัฐอยางเทาเทียมกัน สิทธิที่จะไดรับการเยียวยา
โดยศาลจากการละเมิดสิทธิขั้นมูลฐาน เสรีภาพในความเปนสวนตัว เสรีภาพในการเดินทาง สิทธิในการลี้ภัย
สิทธิในการถือสัญชาติ สิทธิในการสมรส สิทธิในการเปนเจาของทรัพยสิน สิทธิในเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
และการนับถือศาสนา สิทธิในเสรีภาพในการชุมนุม และสิทธิในการเขาถึงบริการสาธารณะในประเทศของตน
สําหรับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมือง
77
และสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ปรากฏอยูในขอ 1 ถึง ขอ 27 ของกติกาฯ ประกอบไปดวย สิทธิในการกําหนด
เจตจํานงตนเอง สิทธิในความเสมอภาค สิทธิที่จะปลอดจากการถูกทารุณกรรม สิทธิในชีวิต สิทธิในกระบวนการ
ยุติธรรม สิทธิในการมีอิสรภาพและความมั่นคงแหงบุคคล สิทธิของผูตองขังที่จะไดรับการปฏิบัติอยางมีมนุษยธรรม
และไดรับความเคารพนับถือในศักดิ์ศรีแหงความเปนมนุษยที่มีอยูโดยธรรมชาติในตัวเอง สิทธิที่จะไมถูกจําคุก
เนื่องจากไมสามารถชําระหนี้ตามสัญญาได สิทธิในการมีเสรีภาพในการเคลื่อนไหว สิทธิในการไดรับการพิจารณา
คดีที่เปนธรรม สิทธิในการยอมรับวาเปนบุคคลตามกฎหมาย สิทธิในความเปนสวนตัว สิทธิในเสรีภาพทางความคิด
ศาสนาและความเชื่อ สิทธิในเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการชุมนุมโดยสงบ สิทธิในเสรีภาพในการ
สมาคมกับบุคคลอื่น สิทธิในการสมรสโดยเสรี สิทธิของเด็กในการไดรับสัญชาติ สิทธิในการมีสวนรวมในรัฐและ
การเขาถึงบริการสาธารณะในประเทศของตน สิทธิในความเสมอภาคตอหนากฎหมาย สิทธิของชนกลุมนอยทางเผาพันธุ
ศาสนา หรือภาษา
(2) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
สืบเนื่องจากการเรียกรองสิทธิมนุษยชนและการจัดทําเอกสารในยุคแรก ๆ เนนเรื่อง
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งสอดคลองกับแนวคิดทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ซึ่งระบบ
เศรษฐกิจแบบเสรีมีเงื่อนไขสําคัญคือ การปลอดการแทรกแซงของรัฐ แตเมื่อเวลาผานไประบบเสรีกลับทําใหเกิด
ปญหาสังคมตามมา ทั้งนี้ เนื่องจากเปนความจริงที่วาคนเรามีความสามารถและโอกาสไมเทากัน ดังนั้น การปลอย
เสรีทําใหมนุษยกลุมหนึ่งไดประโยชน ในขณะที่มนุษยอีกกลุมหนึ่งถูกใชเปนเครื่องมือในการหาประโยชนจาก
กลุมแรก และกลุมหลังซึ่งมีจํานวนมากตกอยูในสภาวะยากจนที่สุดและอยูอยางไมมีสภาพที่มีคาความเปนมนุษย
เหลืออยู และจากสภาวะการณที่เกิดขึ้นในสังคมดังกลาวนํามาซึ่งการเรียกรองสิทธิมนุษยชนในรูปแบบใหมขึ้นมา
ในลักษณะเปนสิทธิที่จะมีสภาพการดํารงชีวิตที่ดีและมีสภาพการทํางานที่ดี โดยการเรียกรองใหรัฐเขามามีบทบาท
ในการกระทําเพื่อเสริมสรางใหมนุษยมีความเปนอยูที่ดีสมความเปนมนุษย ซึ่งตรงขามกับแนวคิดเดิมที่หามรัฐ
78
เขาแทรกแซง แนวคิดสิทธิมนุษยชนรูปแบบใหมนี้ไดรับการสนับสนุนจากแนวคิดทางการเมืองแบบสังคมนิยม
76 คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ. เอกสารสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ.อางแลว เชิงอรรถที่ 6. น. 7 - 21.
77 เพิ่งอาง, น. 67 - 101.
78 วิชัย ศรีรัตน, อางแลว เชิงอรรถที่ 17, น. 44- 45.
25