Page 32 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 32
สัญญาประชาคมตามแนวความคิดของ John Locke ทั้งนี้ เพื่ออธิบายถึงที่มาและขอจํากัดอํานาจของรัฐหรือ
ผูปกครอง โดยอางวาในสภาวะธรรมชาติมนุษยทุกคนเทาเทียมกันและมีเสรีภาพอยางเต็มที่ในการกําหนดตนเอง
และเมื่อมีการลวงละเมิดกันเกิดขึ้น มนุษยทุกคนก็มีอํานาจที่จะบังคับตามสิทธิที่ตนมีอยูไดดวยตนเอง ทําใหเกิด
ความไมมั่นคงปลอดภัยตอไปในสภาวะธรรมชาติ และเพื่อความมั่นคงปลอดภัยและความสงบเรียบรอยในสภาวะ
ธรรมชาติ มนุษยจึงตกลงเขาทําสัญญาอยูรวมกันเปนสังคมและจัดตั้งรัฐบาลขึ้นเพื่อทําหนาที่ปกครองรักษา
ความสงบเรียบรอยและอํานวยความยุติธรรมใหเกิดขึ้นในสังคมเรียกวา สัญญาประชาคม (Social Contract)
โดยประชาชนแตละคนยอมสละสิทธิบางสวนของตน คือ สิทธิที่จะบังคับกันเองใหรัฐหรือรัฐบาลซึ่งไดจัดตั้งขึ้น
ตามสัญญา แตทุกคนยังสงวนสิทธิในชีวิต เสรีภาพ และทรัพยสินอันเปนสิทธิธรรมชาติของมนุษยไว ซึ่งรัฐหรือ
บุคคลใดจะทําลายลวงละเมิดหรือขัดขวางสิทธิดังกลาวไมได และเมื่อใดที่รัฐหรือรัฐบาลทําผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว
ในสัญญา โดยการละเมิดสิทธิธรรมชาติของประชาชน ถือวารัฐไดกระทําการอันเปนการฝาฝนความไววางใจ
ของประชาชนตามสัญญาซึ่งเปนเงื่อนไขสําคัญแหงการมีอํานาจของรัฐ ประชาชนผูถูกปกครองยอมมีอิสระ
ในการถอดถอนหรือลมลางรัฐหรือผูปกครองที่ทําผิดสัญญาได และอิสระในการถอดถอนหรือลมลางผูปกครอง
36
ดังกลาว คือ สิทธิธรรมชาติในการลงโทษผูปกครองของผูถูกปกครอง ซึ่งตอมาเรียกวา “สิทธิมนุษยชน”
1.1.2 รากฐานความคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
1) แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายธรรมชาติ
แนวคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาติเริ่มตนตั้งแตสมัยกรีกโรมันและมีอิทธิพลทางความคิดเกี่ยวกับ
กฎหมายเรื่อยมาจนกระทั่งปจจุบัน เนื่องจากมนุษยตองการแสวงหาความยุติธรรมของมนุษยชาติในฐานะที่เปน
อุดมคติของกฎหมายเมื่อสังคมและกฎหมายอยูในสภาพที่ไมพึงปรารถนา กลาวคือ เมื่อมีวิกฤตการณทางสังคม
37
หรือการเมืองเกิดขึ้นจากความขัดแยงกันระหวางคนในสังคมดวยกัน หรือระหวางผูปกครองกับผูถูกปกครอง
อันเนื่องมาจากการการใชอํานาจที่ปราศจากความเปนธรรมของผูปกครอง และกฎหมายบานเมืองไมสามารถจะแกไข
ปญหาความขัดแยงดังกลาวได กฎหมายธรรมชาติจึงถูกกลาวอางขึ้นในฐานะเปนหลักประสานความขัดแยงระหวาง
คนในสังคมและเปนเหตุผลในการเรียกรองสิทธิเสรีภาพและตอสูกับการใชอํานาจรัฐที่ไมเปนธรรมดังกลาว โดยอาง
วาในสภาวะธรรมชาติมีกฎเกณฑตาง ๆ ที่เกิดขึ้นเองโดยไมมีผูใดบงการเรียกวา “เหตุผลของเรื่อง” ควบคุมปกครอง
และผูกมัดมนุษยทุกคน และเหตุผลอันเดียวกันนี้ก็มีอยูในตัวมนุษยดวยเชนกัน มนุษยจึงสามารถใชเหตุผลที่วานี้
ทําความเขาใจและเขาถึงกฎเกณฑตาง ๆ เหลานั้นได และเหตุผลอันเปนกฎเกณฑที่เรียกวากฎหมายธรรมชาติ
ดังกลาว ไดสอนมนุษยทั้งมวลผูพิจารณาเห็นกฎธรรมชาตินี้วา 38
“โดยที่ชีวิตทั้งหมดลวนเสมอภาคเทาเทียมกันและเปนอิสระทั่วกัน จึงไมมีผูใดอาจทําอันตราย
ผูอื่นในดานชีวิต สุขภาพ อิสรภาพ และทรัพยสมบัติ...
36 จรัญ โฆษณานันท, อางแลว เชิงอรรถที่ 7, น. 113.
37 สมยศ เชื้อไทย, นิติปรัชญาเบื้องตน,พิมพครั้งที่ 10, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, 2549), น. 73.
38 ในงานเขียนของ John Locke เรื่อง “หนังสือเลมที่ 2 วาดวยรัฐบาลพลเรือน” (Second Treatise of Civil Government) ใน จรัญ โฆษณานันท,
อางแลว เชิงอรรถที่ 7, น. 110 - 112.
13