Page 27 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 27

-  ความเปนสากล (Universality) ของสิทธิมนุษยชน กลาวคือ เนื่องจากสิทธิมนุษยชน

                 เปนสิทธิที่ผูกพันอยูกับความเปนมนุษยและติดตัวมนุษยทุกคนมาตั้งแตกําเนิดสิทธิมนุษยชนจึงไมมีขอจํากัด
                 ในทางลักษณะตัวบุคคลคือ  เปนสิทธิที่บุคคลทุกคนเปนผูทรงสิทธิโดยไมมีการแบงแยกวาบุคคลนั้นจะเปน
                                        16
                 คนของชาติใด เชื้อชาติใด ภาษาใด หรือศาสนาใด และสามารถกลาวอางสิทธิดังกลาวไดโดยไมจํากัดสถานที่

                 และเวลา
                                   -  การไมอาจสละโอนหรือยอมใหพรากไป (Inalienability) แกผูใดผูหนึ่ง กลาวคือ

                 แมสิทธิมนุษยชนจะเปนสิทธิที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแตกําเนิดในฐานะที่เกิดมาเปนมนุษยและบุคคลทุกคนสามารถกลาว
                 อางสิทธิดังกลาวไดโดยไมจํากัดเวลาและสถานที่ แตบุคคลทุกคนในฐานะที่เปนผูทรงสิทธิดังกลาว ก็ไมอาจแสดง

                 เจตนาจําหนายจายโอนหรือสละสิทธิดังกลาวใหแกบุคคลใดก็ได และรัฐหรือบุคคลใดก็ไมอาจกระทําการใด

                 อันเปนการพรากสิทธิดังกลาวไปจากบุคคลได เพราะหากยอมใหมีการโอน การสละ หรือการพรากสิทธิมนุษยชน
                 ไปจากบุคคลได เทากับยอมใหมีการสละหรือทําลายความเปนมนุษยของบุคคลได ซึ่งไมอาจทําไดเพราะความเปน

                 มนุษยไมอาจจะสละโอนหรือทําลายไดโดยรัฐหรือบุคคลใดแมกระทั่งมนุษยคนนั้นเอง

                                     นิยามความหมายสิทธิมนุษยชนดังกลาว เปนการนิยามความหมายสิทธิมนุษยชน
                 ในยุคเริ่มตนในสังคมตะวันตก และเมื่อสังคมและอุดมการณทางการเมืองการปกครองของตะวันตกเปลี่ยนแปลงไป

                 การนิยามความหมายสิทธิมนุษยชนในสังคมตะวันตกก็เปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของสังคมดวย

                                    (2)   ความหมายตามแนวคิดสมัยใหม
                                     ตามแนวคิดสมัยใหมเห็นวา สิทธิมนุษยชนไมใชสิทธิที่มีมาโดยธรรมชาติของมนุษย

                 แตเกิดจากการกระทําหรือการสรางสรรคของมนุษยภายหลังที่เกิดสังคมการเมืองที่เรียกวารัฐแลว และเห็นวา
                 สิทธิมนุษยชนเปนเรื่องอุดมการณหรือแนวคิดที่มนุษยกลาวอางเพื่อเรียกรองใหประโยชนของตนไดรับการรับรอง

                 คุมครองจากผูปกครองหรือรัฐ โดยอางความชอบธรรมของประโยชนนั้น ๆ วาเปนสิ่งจําเปนตอความเปนมนุษย

                                  17
                 (Human dignity)  และมีการพัฒนาไมหยุดนิ่งตามความเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษยในแตละยุคสมัย
                 สิทธิมนุษยชนตามแนวคิดสมัยใหมจึงไมใชสัจธรรมที่เปนนิรันดร หรือคุณคาสูงสุดและมิใชสิ่งสมบูรณถูกตอง

                                                 18
                 ในทุก ๆ สถานที่หรือโดยไมจํากัดกาละ หากแตมีการเปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการทางประวัติศาสตรการเมือง
                 เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในแตละยุคสมัย และจากวิวัฒนาการของสังคมมนุษยในแตละยุคสมัยจนกระทั่ง

                 ปจจุบันจะพบวา สิทธิมนุษยชนมีพัฒนาการทางประวัติศาสตรแบงออกเปน 3 ยุค คือ 19

                                     ยุคที่ 1 สิทธิมนุษยชนแบบปจเจกชนนิยม (Individualism) ที่เนนคุณคาอุดมคติ
                 เรื่อง “อิสระเสรีภาพ” ของมนุษยและถือเปนยุคเริ่มตนแหงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civil and

                 Political Rights) ปรากฏชัดในขอเขียนของ John Locke นักปรัชญาชาวอังกฤษที่ใหความสําคัญกับคุณคาของ





                 16   บรรเจิด  สิงคะเนติ, อางแลว เชิงอรรถที่ 14, น. 73.
                 17   วิชัย  ศรีรัตน, “พัฒนาการของสิทธิมนุษยชน”, ดุลพาห, ปที่ 48, เลมที่ 3, กันยายน - ธันวาคม 2544, น. 47.
                 18   จรัญ  โฆษณานันท, อางแลว เชิงอรรถที่ 7, น. 125.
                 19  เพิ่งอาง, น. 79.



           8
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32