Page 29 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 29

ยุคที่ 3 สิทธิมนุษยชนแบบกลุมบุคคล (Collective Rights) ที่มุงสูหลักความเปน

              “ภราดรภาพ” หรือความสมานฉันทของเพื่อนมนุษยทั้งมวลในโลก เกิดเปนสิทธิมนุษยชนใหมที่เรียกวา
              สิทธิในความสมานฉันท (Rights of Solidarity) หรือสิทธิของประชาชน  (Rights of Peoples)  อันเปนสิทธิรวมกัน

              ของประชาชนทุกคน หาไดเปนสิทธิของปจเจกชนคนหนึ่งคนใดที่จะใชสิทธิเรียกรองตามลําดับ แตเปนสิทธิของ

              กลุมบุคคล สิทธิมนุษยชนในยุคนี้เกิดจากการเรียกรองของกลุมประเทศโลกที่สาม ทั้งนี้เนื่องจากประเทศเหลานี้
              ถูกกดขี่และตักตวงผลประโยชนจากรัฐเจาอาณานิคมและเนื่องจากประเทศเหลานั้นเปนประเทศกําลังพัฒนา

              ที่ยากจน จึงกลาวอางสิทธิในการพัฒนาโดยถือวาเปนหนาที่ของทุกรัฐที่จะตองรวมมือกันสรางระเบียบโลกที่
                                                                                       26
              เปนธรรม ที่เอื้ออํานวยตอการพัฒนาและตองชวยเหลือประเทศที่กําลังพัฒนาเหลานั้น  สิทธิมนุษยชนในยุคนี้
              ไดแก สิทธิในการกําหนดอนาคตตนเอง สิทธิในการพัฒนา สิทธิในการมีสวนรวมและไดรับประโยชนจาก

              มรดกรวมของมนุษยชาติ สิทธิของชนกลุมนอย เปนตน
                                 ดังนั้น จึงมีผูใหความหมายคําวา “สิทธิมนุษยชน” ในความหมายที่แตกตางกันในแตละยุค

              สมัย ดังนี้

                                John Stuart Mill.  อธิบายวา สิทธิมนุษยชน เปนสิทธิในฐานะเปนองคประกอบหนึ่ง
                                                  27
              ที่ไมอาจขาดไดในความสุขของมนุษย อันหมายถึงวาบุคคลทุกคนโดยธรรมชาติมีสิทธิที่จะไดรับการเคารพนับถือ

              เชิงศีลธรรมอยางเทาเทียมกันจากผูอื่น

                                               28
                                 Joel Feinberg.  อธิบายวา สิทธิมนุษยชนเปนขอเรียกรองทางศีลธรรมอันมั่นคงสมบูรณ
              ซึ่งตั้งอยูบนฐานของความตองการหรือความจําเปนขั้นพื้นฐานของมนุษยทั้งหมด โดยถือวาปจเจกชนทุกคนลวนมี

              สิทธิมนุษยชนเพราะทุกคนตางก็มีความตองการเยี่ยงมนุษยเหมือนกัน หาไมแลวก็คงไมสามารถมองเขาเหลานั้นวา
              เปนดั่งมนุษยได

                                 John Rawls.  อธิบายวา สิทธิมนุษยชน คือ การมีสิทธิที่จะไดรับการตอบสนอง
                                              29
              ความตองการในผลประโยชนตาง ๆ  ของมนุษย ซึ่งสมาชิกของกลุมชนจักตองไดรับการปกปอง คํ้าประกันและ
              รับรองตามหลักความยุติธรรมทางสังคม

                                                                            30
                                 “สิทธิมนุษยชน” หรือ Human Rights หมายถึง  สิทธิเสรีภาพสวนบุคคลซึ่งปกปอง
              “ปจเจกบุคคล” (Individual) หรือ “กลุมบุคคล” (Group) จากการกระทําที่ตองหามของสมาชิกอื่นหรือรัฐ

              โดยกฎหมายระหวางประเทศ หรือจารีตประเพณีระหวางประเทศ

                                 สิทธิมนุษยชน คือ   สิทธิที่ครอบคลุมการดํารงอยูของมนุษย เพื่อชีวิตที่ดีในสังคมที่ดี
                                                 31
              โดยมีหลักการที่สําคัญสามเรื่องคือ สิทธิในชีวิต สิทธิในการยอมรับนับถือ และสิทธิในการดําเนินชีวิตและพัฒนา

              ตนเองตามแนวทางที่ชอบธรรม



              26  เพิ่งอาง, น. 43.
              27  จรัญ  โฆษณานันท, อางแลว เชิงอรรถที่ 7, น. 71.
              28  เพิ่งอาง, น. 58.
              29  เพิ่งอาง, น. 138.
              30  อุดม  รัฐอมฤตและคณะ, อางแลว เชิงอรรถที่ 5, น. 40.
              31  เพิ่งอาง.


          10
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34