Page 26 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 26
(1) ความหมายตามแนวคิดดั้งเดิม
โดยที่แนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนมีรากเหงาความคิดมาจากแนวความคิดเรื่อง
กฎหมายธรรมชาติและสิทธิธรรมชาติ การปรากฏตัวหรือสถานการณมีอยูของสิทธิมนุษยชนในสายตาของฝาย
กฎหมายธรรมชาติหรือธรรมชาตินิยม มักมองวาสิทธิมนุษยชนเปนสิทธิที่มีอยูแลวโดยธรรมชาติหรือเปนสิทธิ
ธรรมชาติ (Natural Rights) ซึ่งมนุษยเพียงคนพบ (Discover) มิใชสิทธิที่เกิดจากอํานาจหรือการประทานให
9
ของมนุษยดวยกันเอง ดังนั้นจึงมีผูใหความหมายของคําวา “สิทธิมนุษยชน” ในยุคนั้นวา
สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิที่คนทุกคนมีอยูโดยเสมอภาคเทาเทียมกันดวยเหตุที่เขา
เปนมนุษย เปนสิทธิที่ตั้งอยูบนความใสใจตอธรรมชาติแหงการเปนมนุษยของเรา สิทธิมนุษยชน จึงเปนสิทธิ
10
ที่เกิดมาเองโดยธรรมชาติในตัวมนุษย ในความหมายที่วาแหลงที่มาของสิทธินี้คือธรรมชาติของมนุษย (Human
Nature) มิไดเกิดขึ้นเพราะการอนุญาตจากรัฐหรือเปนผลจากการกระทําของใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ ดังนั้น
ในการมีสิทธิมนุษยชนบุคคลจึงไมจําเปนตองมีสิ่งใดๆ นอกเหนือจากความเปนมนุษยเขาไมตองทําอะไรทั้งสิ้น
นอกเสียจากการไดเกิดมาเปนมนุษย 11
สิทธิมนุษยชน คือ คุณลักษณะประจําตัวของมนุษยทุกคนในฐานะที่เกิดมาเปนมนุษย
และดวยเหตุผลแตเพียงอยางเดียววาเขาเกิดมาเปนมนุษย ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพเหลานี้อยูแลวตั้งแตกอนที่จะมี
12
สังคมการเมืองที่เรียกวา “รัฐ” (State) เกิดขึ้น และไมมีมนุษยผูใดสามารถสละสิทธิและเสรีภาพเหลานี้ได
โดยชอบ และไมมี “ผูปกครองวาการแผนดิน (Sovereign)” คนใดหรือคณะใดมีอํานาจทําลายสิทธิและเสรีภาพ
เหลานี้ไดเชนกัน สิทธิมนุษยชนจึงมิไดเปนการที่รัฐบัญญัติกฎหมายใหสิทธิแกบุคคล หากแตเปนการที่กฎหมาย
13
ของรัฐไดรับรองถึงความมีอยูของสิทธิที่ติดตัวมนุษยไวในบทบัญญัติของกฎหมายเทานั้น เชน สิทธิในชีวิตรางกาย
ของบุคคล เสรีภาพในทางความเชื่อของบุคคล เปนตน 14
การใหความหมายสิทธิมนุษยชนตามแนวคิดดังกลาว เปนการใหความหมายสิทธิมนุษยชน
โดยพิจารณาจากธรรมชาติของการเปนมนุษยและยืนยันถึงการถือครองสิทธิดังกลาว โดยมนุษยทุกคน และจาก
15
ความหมายดังกลาวทําใหเห็นถึงลักษณะของสิทธิมนุษยชน 2 ประการ คือ ความเปนสากลของสิทธิมนุษยชน
และการไมอาจสละโอนหรือยอมใหพรากไปแกผูใดผูหนึ่ง คือ
9 จรัญ โฆษณานันท, อางแลว เชิงอรรถที่ 7, น. 59.
10 R.J.Vincent, “Human Rights and International Relations” (Cambridge : Cambridge University Press,1988) ; จรัญ โฆษณานันท (แปล),
“สิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของมนุษย : บทวิจารณเชิงวิเคราะห แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนในโลกที่มิใชตะวันตก”, วารสารกฎหมาย, คณะนิติศาสตร
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ปที่ 10, ฉบับที่ 2, ธันวาคม 2528, น. 79 - 80.
11 จรัญ โฆษณานันท, อางแลว เชิงอรรถที่ 7, น. 57.
12 วรพจน วิศรุตพิชญ, สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, พิมพครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน,
2543), น. 44.
13 เพิ่งอาง, น. 40.
14 บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเปนมนุษยตามรัฐธรรมนูญ, พิมพครั้งที่ 2 ปรับปรุงใหม, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ
วิญูชน, 2547), น. 73.
15 จรัญ โฆษณานันท, อางแลว เชิงอรรถที่ 7, น. 58.
7