Page 25 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 25
1.1.1 ความหมายและความสําคัญของสิทธิมนุษยชน
1) ความหมายของสิทธิมนุษยชน
แมรัฐทุกรัฐจะใหความสําคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนและยอมรับวาเปนเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐทุกรัฐ
ไมใชเรื่องภายในของรัฐใดรัฐหนึ่งอีกตอไป แตก็ยังไมมีการกําหนดนิยามของคําวา “สิทธิมนุษยชน” ใหชัดเจนวา
หมายความวาอยางไร แมแตในกฎบัตรสหประชาชาติ ค.ศ. 1945 ในฐานะธรรมนูญขององคการสหประชาชาติและ
ตราสารเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหวางประเทศฉบับแรกที่ใหการยอมรับและคุมครองสิทธิมนุษยชนในระดับโลก
หรือแมแตในปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ซึ่งถือเปนเอกสารแมบทของสิทธิมนุษยชนปจจุบัน
5
ก็ไมไดใหความหมายของสิทธิมนุษยชนไวอยางเฉพาะเจาะจง วาหมายความวาอยางไร คงกําหนดไวแตเพียง
องคประกอบหรือลักษณะของสิ่งที่จะถือวาเปนสิทธิมนุษยชนเทานั้น 6
การที่องคการสหประชาชาติไมไดกําหนดคํานิยามของคําวา “สิทธิมนุษยชน” ไวเปนการเฉพาะ
เจาะจงดังกลาวอาจจะดวยเหตุผลสามประการคือ ประการแรก เปนการละไวในฐานที่เขาใจกันไดโดยสามัญสํานึก
ประการที่สอง เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแยงในการอธิบายความ และประการที่สาม เพื่อเปดกวางความหมายไวเพื่อ
7
ความยืดหยุนหรือตอบรับการพัฒนาความหมายสิทธิมนุษยชนที่ไมหยุดนิ่งตามพลวัตรสังคม และเมื่อพิจารณา
จากพัฒนาการในทางประวัติศาสตรของสิทธิมนุษยชนจะพบวา แนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนมีความเปนพลวัตร
8
(Dynamic) โดยขึ้นอยูกับบริบทตาง ๆ ของแตละสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เชน การมีประวัติศาสตร
คานิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง หรือสภาพแวดลอม ฯลฯ ที่แตกตางกัน แตละสังคม
จึงมีความเขาใจสิทธิมนุษยชนในความหมายที่แตกตางกันไป การใหนิยามคําวาสิทธิมนุษยชนไวเปนการแนนอน
ตายตัว จึงอาจเปนการไปจํากัดความหมายของคําวาสิทธิมนุษยชนไวกับสังคมใดสังคมหนึ่ง ในชวงเวลาใดชวงเวลา
หนึ่งมากเกินไป ดังนั้น จึงควรปลอยใหความหมายของคําวาสิทธิมนุษยชนพัฒนาไปตามพลวัตรของสังคมในแตละ
ยุคแตละสมัย ในการพิจารณาความหมายของคําวา “สิทธิมนุษยชน” ในที่นี้ จึงจะแยกพิจารณาเปนสิทธิมนุษยชน
ตามแนวคิดดั้งเดิมกับสิทธิมนุษยชนตามแนวคิดสมัยใหม
5 อุดม รัฐอมฤต และคณะ, การอางศักดิ์ศรีความเปนมนุษยหรือใชสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540, (กรุงเทพมหานคร : หางหุนสวนจํากัดนานาสิ่งพิมพ, 2544), น. 42.
6 คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ. เอกสารสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ. ปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 คําปรารภ
“ดวยเหตุที่การยอมรับศักดิ์ศรีประจําตัว และสิทธิซึ่งเสมอกันและไมอาจโอนแกกันไดของสมาชิกทั้งปวงแหงครอบครัวมนุษยเปนรากฐานของเสรีภาพ,
ความยุติธรรมและสันติภาพในพิภพ,...”
ขอ 1. มนุษยทั้งหลายเกิดมามีอิสรเสรีและเทาเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิทุกคนไดรับการประสิทธิประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติตอกัน
อยางฉันพี่นอง
ขอ 2. บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพประดาที่ระบุไวในปฏิญาณนี้, ทั้งนี้ โดยไมมีการจําแนกความแตกตางในเรื่องเรื่องใดๆ, เชน เชื้อชาติ, สีผิว, เพศ,
ภาษา, ศาสนา, ความเห็นทางการเมือง, หรือทางอื่นใด, ชาติหรือสังคมอันเปนที่มาเดิม, ทรัพยสิน, กําเนิด, หรือสถานะอื่นใด.
นอกจากนี้ การจําแนกขอแตกตางโดยอาศัยมูลฐานแหงสถานะทางการเมืองทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหวางประเทศของประเทศ หรือดินแดน
ซึ่งบุคคลสังกัดจะทํามิได ทั้งนี้ไมวาดินแดนดังกลาวจะเปนเอกราชอยูในความพิทักษมิไดปกครองตนเองหรืออยูภายใตการจํากัดแหงอธิปไตย
อื่นใด.
7 จรัญ โฆษณานันท, สิทธิมนุษยชนไรพรมแดน ปรัชญา กฎหมาย และความเปนจริงทางสังคม, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพนิติธรรม, 2545), น. 57.
8 อุดม รัฐอมฤตและคณะ, อางแลว เชิงอรรถที่ 5, น. 42.
6