Page 24 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 24

บทที่ 1


                         แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและการคุมครองสิทธิมนุษยชน




                      แนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนและการคุมครองสิทธิมนุษยชนมีมาตั้งแตสมัยกรีกโรมัน อันเนื่องมาจาก

               สภาพสังคมที่ไรระบบระเบียบในการปกครอง ณ ขณะนั้น การดําเนินชีวิตของผูคนในยุคนั้นจึงคอนขางที่จะเปนอิสระ

               และจากการที่ตางคนตางมีอิสระดังกลาว การใชสิทธิเสรีภาพในการดําเนินชีวิตของแตละคนมักจะมีการลวงละเมิด
               หรือกระทบกระทั่งสิทธิเสรีภาพของผูอื่นอยูเสมอ ๆ และเมื่อมีการลวงละเมิดหรือกระทบกระทั่งกันดังกลาวเกิดขึ้น

               ตางคนตางก็มีอํานาจที่จะบังคับการตามสิทธิเสรีภาพและลงโทษผูลวงละเมิดดวยกําลังของตนในลักษณะ
               ของการแกแคนทดแทน ทําใหเกิดปญหาความขัดแยงระหวางผูคนในสังคม และจากการไรระบบระเบียบในการ

                                                                                                            3
               ปกครองดังกลาว  การปกครองบานเมือง ณ ขณะนั้นจึงอยูที่ดุลพินิจของผูปกครองที่จะกระทําตามที่ตนเห็นสมควร
               และผูปกครองมักจะใชอํานาจปกครองในลักษณะตามอําเภอใจกดขี่ขมเหงผูใตปกครองใหไดรับความทุกขยาก
               แสนสาหัส นักคิดนักปรัชญาในยุคนั้นจึงไดกลาวอางแนวความคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) และ

               สิทธิธรรมชาติ (Natural Rights) ของมนุษยขึ้น เพื่อประสานความขัดแยงระหวางผูคนในสังคมและจํากัดการใช

               อํานาจของผูปกครองดังกลาว และแนวความคิดทั้งสองดังกลาวก็ไดพัฒนามาเปนแนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
               และการคุมครองสิทธิมนุษยชนมาจนกระทั่งปจจุบัน


               1.1  แนวคิดเบื้องตนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน


                      แมแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนจะปรากฏขึ้นตั้งแตสมัยกรีกโรมัน แตในสมัยนั้นไมไดเรียกวา
               “สิทธิมนุษยชน (Human Rights)” แตเรียกวา “สิทธิธรรมชาติ (Natural Rights)” และตอมาเรียกวา “สิทธิของมนุษย

               (Rights of Man)” กอนที่จะมีการเรียกวาสิทธิมนุษยชนดังเชนปจจุบันและบุคคลแรกที่ใชคําวา “สิทธิมนุษยชน”
               แทนคําวา “สิทธิของมนุษย” หรือ “สิทธิธรรมชาติ” คือ Thomas Paine นักเขียนและนักตอสูทางการเมือง

               ชาวอังกฤษ ในงานแปลคําประกาศสิทธิของมนุษยและพลเมือง ค.ศ. 1789 ของฝรั่งเศสเปนภาษาอังกฤษ

               ตอมา คําวา “สิทธิมนุษยชน” ไดปรากฏในกฎบัตรสหประชาชาติ ค.ศ. 1945 แตคนสวนใหญมักเขาใจกันวา
               การเปลี่ยนถอยคําจากคําวา “สิทธิของมนุษย” มาเปนคําวา “สิทธิมนุษยชน” มาจากขอเสนอแนะของ

               นาง Eleanor Roosevelt ในป ค.ศ.1943 ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบ
               ในการทํารางปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชนและไดรับการยอมรับจนใชคํานี้อยางจริงจังในปฏิญญาสากล

                                          4
               วาดวยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948  และเปนที่รูจักและยอมรับทั้งในระดับระหวางประเทศและภายในประเทศและ
               ใชคํานี้มาจนกระทั่งปจจุบัน






               3   กุลพล  พลวัน, สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย, (กรุงเทพมหานคร : หางหุนสวนจํากัดภาพพิมพ, 2543), น. 14.
               4   Alan S. Rosenbaum (Ed), “The Philosophy of Human Rights International Perspective”, Op.cit., P.9 อางถึงใน จรัญ  โฆษณานันท,
                 สิทธิมนุษยชนไรพรมแดน ปรัชญา กฎหมาย และความเปนจริงทางสังคม, (กรุงเทพมหานคร :  สํานักพิมพนิติธรรม, 2545), น. 59 - 60.

                                                                                                               5
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29