Page 46 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 46

รายงานการศึกษาวิจัย  19
                                                             การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



               การเลือกปฏิบัติตอผูติดเชื้อเอชไอวี และในจํานวนดังกลาว มี 112 ประเทศ ใหความคุมครองกลุมผูติดเชื้อเอชไอวี
               ที่เปนกลุมที่มีความเปราะบางประเภทหนึ่ง อยางไรก็ดี แมจะมีบทบัญญัติแหงกฎหมายในการคุมครองผูอยูรวมกับ

               เชื้อเอชไอวี แตพบวากฎหมายดังกลาวยังไมมีการบังคับใชอยางมีประสิทธิภาพ ซึ่งทําใหกลุมผูติดเชื้อเอชไอวี
               ถูกละเลยในการไดรับการคุมครอง  อาจกลาวไดวา กฎหมายและนโยบายที่ใหความสําคัญและใหความเคารพ
                                            33
               สิทธิมนุษยชนของผูติดเชื้อเอชไอวีมีความสําคัญอยางยิ่งในการแกไขปญหาโรคเอดสอยางรอบดาน เชนเดียวกับกลุม
               บุคคลอื่น ๆ ผูติดเชื้อเอชไอวีควรไดประโยชนจากการคุมครองสิทธิขั้นพื้นฐานทั่วไป ยิ่งไปกวานั้น เนื่องจากความ

               ตองการและปญหาที่เผชิญมีความแตกตางจากกลุมบุคคลอื่น ๆ การคุมครองสิทธิเฉพาะบางประเภทถือไดวา
               มีความสําคัญเปนอยางยิ่งในการสงเสริมการคุมครองสิทธิมนุษยชนของกลุมผูที่อยูรวมกับเชื้อเอชไอวี

                      การศึกษาเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีระดับประเทศ เปนการศึกษาเชิงเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะหแนวนโยบาย
               และกรอบกฎหมายที่เกี่ยวของกับการแกไขปญหาดานโรคเอดส โดยเฉพาะอยางยิ่งกฎหมายเกี่ยวกับการขจัดการ

               เลือกปฏิบัติกลุมผูติดเชื้อเอชไอวีในการประกอบอาชีพ สําหรับการศึกษาในสวนนี้มุงศึกษาในประเด็นโครงสรางของ
               กฎหมาย สถาบันที่ทําหนาที่กํากับดูแลกฎหมายและนโยบาย รวมตลอดถึงการติดตามประเมินผลการบังคับใช

               กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวกับการแกปญหาดานเอดส และประเด็นการเขาถึงความยุติธรรม อาทิ การรองทุกข
               และการเยียวยาจากหนวยงานที่รับผิดชอบ

                      จากการศึกษาพบวา ในระดับประเทศ กรอบกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุมครองสิทธิผูติดเชื้อเอชไอวีสามารถ
               แบงออกเปน 4 ประเภท กลาวคือ

                      1. การคุมครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ พบวา ประเทศสวนใหญทั่วโลกมีบทบัญญัติที่คุมครอง
               สิทธิของประชาชนจากการถูกเลือกปฏิบัติและสงเสริมใหประชาชนทั้งหญิงและชายมีความเสมอภาคเทาเทียม

               ในดานตาง ๆ รวมถึงความเสมอภาคในโลกแหงการทํางาน อยางไรก็ดี พบวา การบังคับใช และการดําเนินการรองทุกข
               ตามสิทธิแหงรัฐธรรมนูญนั้น มีขั้นตอนที่ยุงยากและใชเวลานาน

                      2.   การคุมครองสิทธิภายใตกฎหมายสาขาตาง ๆ อาทิ กฎหมายเกี่ยวกับคนพิการ และกฎหมายแรงงาน
               และการจางงาน ซึ่งอาจมีบทบัญญัติหามมิใหมีการเลือกปฏิบัติตอผูติดเชื้อเอชไอวีในการประกอบอาชีพ

                      3. การคุมครองสิทธิของผูติดเชื้อภายใตพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการแกไขปญหาโรคเอดสเปนการเฉพาะ
               นอกจากบทบัญญัติที่คุมครองผูติดเชื้อเอชไอวีจากการเลือกปฏิบัติแลว การบัญญัติกฎหมายในฐานะกฎหมาย

               เฉพาะนี้ อาจมีบทบัญญัติที่เปนมาตรการการปองกันและการใหบริการดูแล
                      4. คําพิพากษา (Case law) ซึ่งวางหลักเกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติเนื่องมาจากเปนผูติดเชื้อ

               เอชไอวี โดยสวนใหญจะพบในประเทศที่มีระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common law)
                      แมวากรอบกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุมครองสิทธิผูติดเชื้อเอชไอวีจะมีความแตกตางกันไป ขึ้นอยูกับบริบท

               ของแตละประเทศ แตกรอบกฎหมายทั้ง 4 ประเภทนี้ สามารถนํามาใชเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติไดและเปน
               หลักประกันสิทธิมนุษยชนของผูติดเชื้อเอชไอวี ทั้งในการใชชีวิตประจําวันและในโลกของการทํางาน และเปนแนวทาง

               ที่สําคัญในการกําหนดแนวนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวของ นอกจากนี้ ในการพิจารณาแนวปฏิบัติที่ดีควรนํา
               หลักการภายใตแนวปฏิบัติเรื่องโรคเอดสในโลกแหงการทํางานมาพิจารณาประกอบ เพื่อเปนหลักประกันที่สําคัญ

               ใหกับกลุมแรงงานที่เปนผูติดเชื้อเอชไอวี


               33  Global Commission on HIV and the Law, Risk, Rights and Health , (UNDP,HIV/AIDS Group), 2012
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51