Page 41 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 41
14 รายงานการศึกษาวิจัย
การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี
ความแตกตางกันโดยสภาพหรือสถานการณ การปฏิบัติที่ตางกันอาจถือวาเปนธรรม หากมีความสอดคลองกับ
วัตถุประสงคของกฎหมาย
กลาวไดวาหลักความเสมอภาคและหลักการไมเลือกปฏิบัติถือเปนหลักการแหงสิทธิมนุษยชน
13
ที่สําคัญซึ่งปรากฎอยูในตราสารระหวางประเทศวาดวยสิทธิมนุษยชนหลายฉบับดวยกัน อาทิ กฎบัตรสหประชาชาติ
ปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและ
14
15
สิทธิทางการเมือง พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) อนุสัญญาระหวางประเทศวาดวยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
16
17
พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) อนุสัญญาระหวางประเทศวาดวยการขจัดการเลือกปฏิบัติตอสตรีในทุกรูปแบบ
19
พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) อนุสัญญาวาดวยสิทธิเด็ก พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) อนุสัญญาวาดวยสิทธิผูพิการ
18
20
พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) เปนตน
แมวาตราสารระหวางประเทศวาดวยสิทธิมนุษยชนดังกลาวไดกลาวถึง การหามมิใหมีการเลือก
ปฏิบัติตอบุคคลหรือกลุมบุคคลดวยเหตุแหงเชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความพิการ และสถานภาพอื่น ๆ แตจาก
การศึกษาพบวา ยังไมมีตราสารระหวางประเทศวาดวยสิทธิมนุษยชนฉบับใดหามมิใหเลือกปฏิบัติตอกลุมบุคคล
ที่ติดเชื้อเอชไอวีในฐานะเหตุแหงการเลือกปฏิบัติ จนกระทั่งในทศวรรษที่ 1990 คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน
แหงสหประชาชาติไดขยายความ การเลือกปฏิบัติใหรวมถึง การเลือกปฏิบัติดวยเหตุแหงความแตกตางแหง
“สถานภาพอื่น ๆ” ซึ่งใหมีความหมายครอบคลุมถึงลักษณะตาง ๆ ที่ไมไดกําหนดไวเปนการเฉพาะ
และรวมตลอดถึง “สภาวะทางสุขภาพ” ดวย ดังนั้น หากตีความตามคํานิยามดังกลาว การเลือกปฏิบัติตอผูติดเชื้อ
เอชไอวีหรือผูที่เชื่อวาเปนผูติดเชื้อเอชไอวี จึงเปนการเลือกปฏิบัติที่ถือเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
ที่ไมอาจกระทําได ภายใตตราสารระหวางประเทศวาดวยสิทธิมนุษยชน
2.1.2 การเคลื่อนไหวในเวทีระหวางประเทศวาดวยประเด็นสิทธิมนุษยชนและเชื้อเอชไอวี/เอดส
นอกจากกรอบกฎหมายระหวางประเทศที่กลาวมาแลว ในชวงทศวรรษที่ 1990 ถือไดวามี
การเคลื่อนไหวอยางตอเนื่องโดยองคการระหวางประเทศที่เกี่ยวของ อาทิ องคการอนามัยโลก (World Health
Organization หรือ WHO) โครงการโรคเอดสแหงสหประชาชาติ (the Joint United Nations Programme on
HIV/AIDS หรือ UNAIDS) และองคการแรงงานระหวางประเทศ (International Labour Organization หรือ ILO)
ในการผลักดันเวทีหารือเพื่อนํามาซึ่งแนวทางในการแกไขปญหาเกี่ยวกับโรคเอดสในมิติตาง ๆ รวมตลอดถึงในมิติ
ของกฎหมายวาดวยสิทธิมนุษยชนของกลุมผูที่อยูรวมกับเชื้อเอชไอวี
13 Charter of the United Nations, 1945, Preamble, Art.1(2), 3, 13 (1)(b), 55 (c) and 77 (C) วาดวยขอหามในการเลือกปฏิบัติดวยเหตุเชื้อชาติ เพศ
ภาษา และ ศาสนา
14 The Universal Declaration of Human Rights (UDHR), 1948, Art. 1, 2 and Art.7
15 The International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR), 1966, Art.1 (1), (2), 2 (1),(2),3 and 26
16 The International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR), 1967, Art.1 (1),(2),2 (2),(3) and 3
17 The International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination (CERD), 1965, Art.1 (1), (4), 2 (1) (a) –(e),
(2) and 5
18 The International Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women (CEDAW), 1979, Art.1, 2(a)-(g), 3,
and 4(1),(2)
19 The Convention of the Rights of the Child (CRC), 1989, Art. 2 (1),(2), 5 and 30
20 The Convention on the Rights of Persons with Disabilities (CRPD), 2006, Art.2, 3(a)-(h), 4 (1) (a)-(e),5(1)-(4), 12 (1)-(3)