Page 43 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 43

16  รายงานการศึกษาวิจัย
              การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



              แนวทางในการพิจารณาการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากโรคเอดส ทั้งจากกฎหมาย นโยบาย การปฏิบัติ และกําหนด
                                                               24
              หลักการสําคัญเพื่อเปนตัวชี้วัดการเลือกปฏิบัติที่ไมเปนธรรม   นอกจากนี้ ในป พ.ศ. 2549 และ 2554 ที่ประชุม
              สมัชชาสหประชาชาติไดมีมติรับหลักการปฏิญญาวาดวยพันธกรณีเรื่องโรคเอดส พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) และ
              พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) เพื่อตอกยํ้าจุดยืนของประชาคมโลกในความมุงมั่นในการแกไขปญหาเกี่ยวกับโรคเอดส

              โดยมุงเนนไปที่การออกกฎหมายโดยรัฐในการแกไขปญหาการเลือกปฏิบัติ การตีตรา และการกีดกันทางสังคม
              ตอกลุมผูติดเชื้อเอชไอวี

                     2.1.3  สิทธิมนุษยชนในการประกอบอาชีพของกลุมผูติดเชื้อและผูที่อยูรวมกับเชื้อเอชไอวี
                            ตามที่ไดกลาวมาขางตน การแพรระบาดของโรคเอดสไมเพียงแตเปนปญหาในเชิงสาธารณสุข

              เทานั้น แตยังไดสงผลกระทบตอโครงสรางการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ และกลายปนภัยคุกคามตอโลก
              แหงการทํางานเปนอยางมาก ทั้งในเรื่องของผลิตภาพแรงงาน  การบริหารจัดการแรงงานอันเนื่องจากความ
                                                                   25
              เจ็บปวย การพักงาน และการเสียชีวิตของกําลังแรงงาน และในทางกลับกันปญหาดังกลาวยังกอใหเกิดผลกระทบ
              ตอสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงาน โดยเฉพาะอยางยิ่งในสวนที่เกี่ยวของกับการเลือกปฏิบัติและอคติตอแรงงาน

              ที่ติดเชื้อเอชไอวี หรือแรงงานที่อยูในสภาวะที่เสียงตอการติดเชื้อเอชไอวี  ซึ่งมีความชัดเจนมากขึ้นในกลุมแรงงาน
              ที่มีความเปราะบางในสังคม เชน กลุมแรงงานหญิง และแรงงานขามชาติ

                            ในปจจุบัน มีกฎหมายเพื่อคุมครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานที่ติดเชื้อเอชไอวีจากการเลือกปฏิบัติ
              ในการประกอบอาชีพเปนการเฉพาะ ไดแก ตราสารระหวางประเทศวาดวยสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะขอที่วาดวย

              สิทธิในการจางงาน  ซึ่งปรากฎอยูในกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
              พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) อนุสัญญาวาดวยสิทธิผูพิการ พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) และโดยเฉพาะอยางยิ่ง ขอบัญญัติ

              ภายใตอนุสัญญาองคการแรงงานระหวางประเทศหลายฉบับไดวางหลักเกณฑที่สําคัญตอการสรางหลักประกัน
              แกบุคคลจากการเลือกปฎิบัติในการประกอบอาชีพ อาทิ อนุสัญญาองคการแรงงานระหวางประเทศ ฉบับที่ 111

                                                                              26
              วาดวยการเลือกปฏิบัติในการจางงานและการทํางาน พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) อนุสัญญาองคการแรงงานระหวาง
              ประเทศ ฉบับที่ 158 วาดวยการเลิกจางงาน พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982)  อนุสัญญาองคการแรงงานระหวางประเทศ
                                                                       27
              ฉบับที่ 159 วาดวยการฟนฟูสมรรถภาพทางอาชีพและการจางงาน (คนพิการ) พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) 28
                            นอกจากอนุสัญญาองคการแรงงานระหวางประเทศที่รัฐสมาชิกสามารถนํามาเปนแนวทาง

              ในการกําหนดนโยบายและปฏิรูป/บัญญัติกฎหมาย ยังไดมีการพัฒนาเครื่องมือที่ไมมีผลผูกพันทางกฎหมาย
              ขึ้นในป พ.ศ. 2543 ภายหลังจากการประชุมองคการแรงงานระหวางประเทศวาดวยเชื้อเอชไอวี/เอดส และโลก

              แหงการทํางานป พ.ศ. 2543 องคการแรงงานระหวางประเทศ ในฐานะหนวยงานรับผิดชอบ พรอมดวยองคกร
              ไตรภาคี (รัฐสมาชิก ตัวแทนฝายองคกรนายจาง องคกรลูกจาง) และองคการระหวางประเทศที่เกี่ยวของไดรวมกัน

              จัดทําแนวปฏิบัติเรื่องโรคเอดสในโลกแหงการทํางาน (ILO Code of Practice on HIV/AIDS and the World of
              Work) ในป พ.ศ. 2544 ซึ่งถือเปนเครื่องมือฉบับแรกที่ใหขอชี้แนะในทางปฏิบัติแกผูกําหนดนโยบาย องคกร



              24  UNAIDS, Protocol for the Identification of Discrimination against People Living with HIV, Geneva: UNAIDS, 2000
              25   ผลิตภาพแรงงาน (labour productivity) คือจํานวนผลผลิตตอแรงงาน 1 คน หรือตอ 1 ชั่วโมงของการทํางานอางถึงใน Productivity:  ผลิตภาพและ
                การเพิ่มผลผลิต [online] retrieved from http://www.topofquality.com/sproductivity/indexprod.html
              26  Discrimination (Employment and Occupation) Convention, 1958 (No.111), Art.1 (1) (a)-(b), (2) –(3), 2 and 5
              27  Termination of Employment Convention, 1982 (No. 158), Art.5 (e)
              28   Vocational Rehabilitation and Employment (Disabled Persons), 1983 (No.159), Art.1 (1), 2,3 and 4
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48