Page 78 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 78

รายงานการศึกษาวิจัย  63
                                        เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                        2.5.4   คดีเกี่ยวกับการแทรกแซงสิทธิในชีวิตสวนตัวเกี่ยวกับเสรีภาพในความสัมพันธทางครอบครัว
               (la liberté des relations familiales)
                                1)   กรณีการแทรกแซงเสรีภาพในความสัมพันธทางครอบครัวโดยไมชอบ

                                  หลังจากที่ภริยาไดยื่นขอหยาขาด (le divorce) จากสามีของตน หญิงนั้นไดจากไปพรอมกับ

               บุตรสาวสองคนที่เกิดขึ้นจากการสมรสกับชายซึ่งเปนสามีเดิมนั้น หลังจากนั้นศาลออสเตรียไดพิพากษาใหหญิงนั้น
               มีอํานาจปกครอง (l’autorité parentale) และเลี้ยงดูบุตรสาวทั้งสองคนนั้น แตตอมา ศาลสูงสุดแหงออสเตรีย
               (la Cour suprême d’Autriche) ไดพิพากษาใหอํานาจปกครองและอํานาจเลี้ยงดูบุตรทั้งสองคนตกไดแก

               ชายผูเปนบิดาดวยเหตุที่หญิงผูเปนมารดาเลี้ยงดูบุตรทั้งสองคนนั้นตามหลักคําสอนของ Jéhovah (les principes

               des témoins de Jéhovah) ซึ่งเปนวิธีการเลี้ยงดูบุตรที่ขัดแยงกับกฎหมายสหพันธรัฐเกี่ยวกับการศึกษาศาสนา
               และประโยชนของผูเยาว (la loi fédérale sur l’éducation religieuse et à l’intérêt des enfants) 79
                                  ศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนพิจารณาวา คําพิพากษาของศาลสูงสุดแหงออสเตรีย

               กอใหเกิดผลกระทบตอสิทธิที่จะไดรับการเคารพในชีวิตครอบครัวของบุตรทั้งสองคนนั้น เนื่องจากบุตรทั้งสองคนนั้น

               อยูกับหญิงผูเปนมารดามาตั้งแตเมื่อหญิงนั้นไดไปจากสถานที่อันเปนที่พักอาศัยของครอบครัว (le domicile
               conjugal) การกอใหเกิดผลกระทบดังกลาวเปนไปตามหลักเกณฑตามที่กําหนดไวในวรรคสองของมาตรา 8
               ประกอบกับมาตรา 14 ซึ่งบัญญัติวาสิทธิตาง ๆ ที่ไดรับการรับรองและคุมครองโดยอนุสัญญาแหงยุโรปวาดวย

               การคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานจะตองไดรับการปฏิบัติโดยไมแตกตางกันแตอยางใด (sans

               distinction aucune) โดยเฉพาะการอาศัยเหตุผลทางศาสนา ศาลแหงยุโรปฯ เห็นวา ศาลสูงสุดแหงออสเตรีย
               พิพากษาโดยมีวัตถุประสงคที่ชอบดวยกฎหมายเพื่อคุมครองสุขภาพและสิทธิของบุตร แตการที่อางอิงถึง
               ขอพิจารณาทางศาสนา (des considérations religieuses) เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคที่มุงหมายนั้น ทําให

               คําตัดสินของศาลสูงสุดแหงออสเตรียขาดความไดสัดสวน (un rapport raisonnable de proportionnalité)

               ระหวางวิธีที่ใชและวัตถุประสงคที่มุงหมายนั้น กรณีจึงเปนการกระทําอันเปนการฝาฝนขอ 8 ประกอบขอ 14
               ของอนุสัญญาแหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
                                  ศาลแหงยุโรปฯ ไดพิจารณาวาชีวิตครอบครัว (la vie familiale) ตามนัยแหงขอ 8 มิได

               มุงหมายเฉพาะแตชีวิตครอบครัวของบุคคลที่สมรสกันและบุตรของคูสมรสเทานั้น หากแตยังหมายความถึง

               ชีวิตครอบครัวของบุคคลที่อยูกินกันฉันสามีภริยา (la vie des personnes vivant enunion libre) และบุตร
               ของบุคคลเหลานั้นดวย รัฐจึงมีหนาที่กระทําการ (l’obligation positive) อยางใด ๆ เพื่อใหความสัมพันธ
               ของบุคคลเหลานั้นกับบุตรดํารงอยู















               79  Hoffmann c/ Autriche, 23 juin 1993, Volume n° 255 C de la série A des publications de la Cour, obs.
                 J.-F. FLAUSS, A.J.D.A., 1993, 32.
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83