Page 80 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 80
รายงานการศึกษาวิจัย 65
เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว
2.5.5 คดีเกี่ยวกับการแทรกแซงสิทธิในชีวิตสวนตัวอันเกี่ยวกับเสรีภาพในความสัมพันธทางเพศ
1) ความสัมพันธระหวางชายหญิง (la liberté des relations entre les deux sexes)
การคุมครองสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลยอมครอบคลุมถึงเสรีภาพของบุคคลในอันที่จะมี
ความสัมพันธทางเพศกับบุคคลอื่นดวย อยางไรก็ตาม เสรีภาพดังกลาวยอมตองตั้งอยูบนพื้นฐานของความยินยอม
ที่ชัดเจนและเปนอิสระ (un consentement éclairé et libre) ของบุคคลที่เกี่ยวของ ซึ่งมิใชกรณีตามเรื่อง
รองเรียนนี้ซึ่งเปนกรณีของเด็กหญิงคนหนึ่งที่มีความพิการทางสติปญญา (une handicapée mentale)
และมีอายุ 16 ป หากแตในทางสติปญญาแลวยังเปนเด็กอยู (demeurée intellectuellement une enfant)
เด็กหญิงคนนี้อาศัยอยูในสถานแรกรับสําหรับเด็กที่พิการทางสติปญญา ผูทําหนาที่เปนผูอํานวยการสถานแรกรับ
แหงนี้ไดเขาไปในหองของเด็กหญิงและปลุกใหเด็กหญิงตื่นกลางดึก และบังคับใหเด็กหญิงตามเขาไปในหอง
เพื่อมีเพศสัมพันธกับเขา การกระทําของบุคคลนั้นยอมกระทบตอสิทธิของเด็กหญิงนั้นในอันที่จะไดรับการเคารพ
ตอสิทธิในชีวิตสวนตัวของตน ซึ่งครอบคลุมถึงเสรีภาพในการมีเพศสัมพันธดวย เนื่องจากเด็กหญิงนั้นมิไดให
ความยินยอมแกการมีเพศสัมพันธกับบุคคลนั้นแตอยางใด 81
2) ความสัมพันธระหวางชายกับชาย (la liberté des relations sexuelles entre
hommes)
สิทธิที่จะไดรับการเคารพในชีวิตสวนตัวอันเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธของบุคคลรวมถึง
82
เพศสัมพันธระหวางชายกับชายดวยหรือไม ในคดี Dudgeon ภายหลังจากที่คณะกรรมาธิการแหงสหภาพยุโรป
ดานสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการลงโทษทางอาญาโดยกฎหมายของประเทศไอรแลนดเหนือ สําหรับการมีเพศสัมพันธ
ระหวางชายกับชาย (des rapports homosexuels entre hommes) ซึ่งมีอายุตั้งแตยี่สิบเอ็ดปขึ้นไป เปนการ
ฝาฝนหรือละเมิดสิทธิผูรองที่จะไดรับการเคารพในชีวิตสวนตัวของตน คณะกรรมาธิการฯ ไดเสนอเรื่องดังกลาว
ตอศาลแหงยุโรปฯ เพื่อพิจารณา ศาลแหงยุโรปฯ มีคําพิพากษา เมื่อวันที่ 22 กันยายน 1981 วากฎหมายนั้น
เปนการกระทบตอสิทธิของผูรองที่จะไดรับการเคารพในชีวิตสวนตัวของเขาโดยมิชอบ เนื่องจากกฎหมายนั้น
มิไดเปนไปตามเงื่อนไขประการตาง ๆ ตามที่กําหนดไวในวรรคสองของขอ 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปฯ ศาลเห็นวา
แมการกระทําเชนนั้นมีกฎหมายกําหนดไว แตมิใชสิ่งจําเปนในสังคมประชาธิปไตยตอการคุมครองจิตใจ
(la morale) ผลกระทบที่เกิดขึ้นตอการแสดงออกซึ่งความเปนตัวตนที่แทจริงของมนุษย (une manifestation
essentiellement privée de la personnalité humaine) “มิไดสัดสวน” กับวัตถุประสงคที่มุงหมาย
ซึ่งในที่นี้คือ การคุมครองจิตใจ
ตอมา ศาลแหงยุโรปฯ ไดยืนยันแนวคําวินิจฉัยดังกลาวขางตนในคดี Norris ซึ่งศาลวินิจฉัย
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 1988 และในคดี Modinos c/ Chypre เมื่อวันที่ 22 เมษายน 1993 อีกดวย
จากการศึกษาสิทธิในความเปนอยูสวนตัวและการคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว
ในประเทศตาง ๆ ดังกลาวขางตน อาจกลาวโดยสรุปไดวา สิทธิในชีวิตความเปนอยูสวนตัวของบุคคลเปน
สิทธิมนุษยชนที่ไดรับการรับรองและคุมครองในปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน และอนุสัญญาแหงยุโรป
81 Arrêt X. et Y. c /Pays-Bas 26 mars 1985, Volume n° 91 de la série A des publications de la Cour.
82 R. PELLOUX, Annuaire français de droit international, 1982, p. 504.