Page 74 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 74
รายงานการศึกษาวิจัย 59
เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว
2.5.3 คดีเกี่ยวกับการแทรกแซงสิทธิในชีวิตสวนตัวเกี่ยวกับการติดตอทางจดหมาย
1) กรณีการดักฟงขอมูลความลับทางโทรศัพท (le secret de la correspondance
téléphonique)
คําวินิจฉัยของศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการรองเรียนการกระทําขององคกร
ของรัฐในการดักฟงขอมูลทางโทรศัพทอันเปนการแทรกแซงสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลเกี่ยวกับการติดตอ
สื่อสารปรากฏอยูใน 3 คดีที่นาสนใจ ไดแก คําวินิจฉัยในคดี Klass เมื่อวันที่ 6 กันยายน 1978
76
คําวินิจฉัยในคดี Malone เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1984 และคําวินิจฉัยในคดี
Kruslin et Huvig เมื่อวันที่ 24 เมษายน 1990 ในที่นี้ จะขอยกตัวอยางเฉพาะคดี Klass เทานั้น
ในคดี Klass ผูรองรองตอศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนวา การที่องคกรของรัฐ (รัฐบาล)
ทําการดักฟงขอมูลทางโทรศัพท (des écoutes gouvernementales) เกี่ยวกับผูรองเปนการกระทําอันเปน
การแทรกแซงสิทธิในชีวิตสวนตัวและสิทธิในชีวิตสวนตัวเกี่ยวกับการติดตอทางจดหมายของตนตามที่กําหนด
คุมครองไวในขอ 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
และมาตรา 10 วรรคสอง แหงกฎหมายสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี และกฎหมายภายในอีกฉบับหนึ่งลงวันที่ 13
สิงหาคม 1968 ซึ่งไดตราขึ้นเพื่อปฏิบัติใหเปนไปตามขอ 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปฯ
ศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนวินิจฉัยในประเด็นขอกฎหมายเบื้องตนวาคํารองดังกลาว
ศาลสามารถรับไวพิจารณาไดหรือไม (la recevabilité de la requête) ในประเด็นนี้ศาลเห็นวาการที่จะรองวา
เปนเหยื่อหรือผูไดรับผลกระทบจากการฝาฝนสิทธิประการหนึ่งประการใดที่บัญญัติรับรองและคุมครอง
ไวในอนุสัญญาแหงยุโรปฯ นั้น จะกลาวอางแตเพียงวาการตรากฎหมายที่เกี่ยวของขัดตอสิทธิที่บุคคลไดรับ
ความคุมครองตามอนุสัญญาแหงยุโรปฯ หากแตการใชบังคับกฎหมายนั้นยังกอใหเกิดความเสียหายแกตน
อีกดวย อยางไรก็ตาม ศาลยอมรับขอยกเวนแหงหลักดังกลาว เนื่องจากการดําเนินมาตรการดังกลาวในทางลับ
ดังเชนในกรณีนี้ ผูรองยอมไมสามารถที่จะนําสืบหลักฐานที่เกี่ยวของได
ศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนวินิจฉัยตอไปในประเด็นที่เปนเนื้อหา แหงคดีวา กลาวคือ
บทบัญญัติมาตรา 10 วรรคสอง แหงกฎหมายสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี และกฎหมายภายในฉบับลงวันที่ 13
สิงหาคม 1968 ที่กําหนดมาตรการดังกลาวนั้นเปนไปตามเงื่อนไขแหงขอ 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปฯ หรือไม
มาตรา 10 แหงกฎหมายสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี บัญญัติวา (1) “หามมิใหละเมิดความลับเกี่ยวกับการติดตอ
สื่อสาร พัสดุไปรษณีย และโทรคมนาคม (2) ขอจํากัดแหงขอหามดังกลาวจะกระทําไดก็ตอเมื่อมีฐานทางกฎหมาย
รองรับ ในกรณีที่ขอจํากัดนั้นมีวัตถุประสงคเพื่อคุมครองความสงบเรียบรอยและเสรีภาพทางประชาธิปไตย
หรือการดํารงอยูหรือความปลอดภัยของสหพันธรัฐหรือประเทศ กฎหมายนั้นอาจกําหนดใหไมจําตองชี้แจง
76 Arrêt Malone, 2 août 1984, obs. L.-E. PETTITI et F. TEITGEN, Rev. sc. crim. 1985, p. 145; G. COHEN-JONATHAN,
Les « écoutes téléphoniques », Protection des droits de l’homme: la dimension européenne, Mélanges
G.-J. Wiarda, p. 17.