Page 83 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 83

68     รายงานการศึกษาวิจัย
                 เรื่อง  ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                            5)   พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน พ.ศ. 2551
              (มาตรา 40)
                                 มีสาระสําคัญเปนการกําหนดใหผูที่ไดรับความเสียหายเนื่องจากรายการที่ออกอากาศ

              เปนเท็จ หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือความเปนอยูสวนบุคคล อาจรองเรียน

              ตอคณะกรรมการได
                            6)   พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจขอมูลเครดิต พ.ศ. 2545 (มาตรา 20)
                                มีสาระสําคัญเปนการกําหนดใหบริษัทขอมูลเครดิตเปดเผยหรือใหขอมูลแกสมาชิกหรือ

              ผูใชบริการที่ประสงคจะใชขอมูล เพื่อประโยชนในการวิเคราะหสินเชื่อและการออกบัตรเครดิต โดยในการเปดเผย

              หรือใหขอมูลดังกลาวจะตองไดรับความยินยอมจากเจาของขอมูลกอนทุกครั้ง เวนแตเจาของขอมูลไดให
              ความยินยอมไวเปนอยางอื่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
                            7)   พระราชบัญญัติคุมครองเด็ก พ.ศ. 2546 (มาตรา 27)

                                 หามมิใหผูใดโฆษณาหรือเผยแพรทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งขอมูล

              เกี่ยวกับตัวเด็กหรือผูปกครอง โดยเจตนาที่จะทําใหเกิดความเสียหายแกจิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือ
              สิทธิประโยชนอื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชนสําหรับตนเองหรือผูอื่นโดยมิชอบ
                         8)   ขอบังคับสภาทนายความวาดวยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 (ขอ 11)

                                   มีสาระสําคัญเปนการกําหนดหามมิใหทนายความ เปดเผยความลับของลูกความที่ไดรู

              ในหนาที่ของทนายความ เวนแตจะไดรับอนุญาตจากลูกความนั้นแลว หรือโดยอํานาจศาล
                      3.1.2   สิทธิในความเปนอยูสวนตัวเกี่ยวกับชีวิตและรางกาย ประกอบดวย กฎหมายที่เกี่ยวของ ดังนี้
                            1)   รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 32

                                มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการรับรองและคุมครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและรางกายของ

              บุคคล ดังนี้
                                (ก)  การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษดวยวิธีการโหดรายหรือไรมนุษยธรรม
              จะกระทํามิได แตการลงโทษตามคําพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไมถือวาเปนการลงโทษดวย

              วิธีการโหดรายหรือไรมนุษยธรรม

                                (ข)   การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทํามิได เวนแตมีคําสั่งหรือหมายของศาลหรือ
              มีเหตุอยางอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ การคนตัวบุคคลหรือการกระทําใดอันกระทบตอสิทธิและเสรีภาพตาม
              วรรคหนึ่ง จะกระทํามิไดเวนแตมีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ

                                (ค)   ในกรณีที่มีการกระทําซึ่งกระทบตอสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผูเสียหาย

              พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชนของผูเสียหาย มีสิทธิรองตอศาลเพื่อใหสั่งระงับหรือเพิกถอน
              การกระทําเชนวานั้น รวมทั้งจะกําหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นดวยก็ได
                            2)   ประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ (มาตรา 276 - 287) และ

              ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและรางกาย (มาตรา 288 – มาตรา 308)

                                มีสาระสําคัญเปนการกําหนดโทษแกผูที่ทําอันตรายแกชีวิตและรางกายของบุคคลอื่น
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88